โอมูอามูอา (อังกฤษ: ʻOumuamua; ชื่ออย่างเป็นทางการ 1I/2017 U1) เป็นวัตถุระหว่างดาวฤกษ์วัตถุแรกที่ทราบที่ผ่านเข้าระบบสุริยะ รอเบิร์ต เวริก (Robert Weryk) ค้นพบบนแนววิถีไฮเปอร์บอลิกที่เยื้องศูนย์กลางมากเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2560 หลังผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด 40 วัน มีการสังเกตครั้งแรกโดยกล้องโทรทรรศน์ แพนสตาส์ (Pan-STARRS) เมื่อวัตถุมีระยะห่างจากโลกประมาณ 85 เท่าของระยะทางโลก–ดวงจันทร์[2] โดยมุ่งออกจากดวงอาทิตย์ เดิมคาดว่าเป็นดาวหาง แต่หนึ่งสัปดาห์ถัดมามีการจำแนกใหม่เป็นดาวเคราะห์น้อย ซึ่งขณะนั้นเป็นวัตถุระหว่างดาวฤกษ์กลุ่มใหม่วัตถุแรก เนื่องจากแนววิถีไฮเปอร์บอลิกมากของมัน สุดท้ายมันจะออกจากระบบสุริยะและกลับสู่อวกาศระหว่างดาวฤกษ์อีกครั้ง เวลาที่วัตถุนี้เดินทางท่ามกลางดาวฤกษ์ในจานดาราจักรนั้นไม่ทราบ

โอมูอามูอา
(ESO/M. Kornmesser & nagualdesign)
ลักษณะของวงโคจร[1]

โอมูอามูอาเป็นวัตถุขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 800 × 100 ฟุต มีสีดำออกแดง คล้ายวัตถุในระบบสุริยะชั้นนอก วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561 นักดาราศาสตร์รายงานว่า โอมูอามูอา เป็นดาวหางไม่ใช่ดาวเคราะห์น้อยตามที่เคยจำแนกเอาไว้[3]

อ้างอิง แก้

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ jpldata
  2. "First Known Interstellar Visitor is an 'Oddball'". Gemini Observatory (Press release). 20 November 2017. สืบค้นเมื่อ 28 November 2017.
  3. Witze, Alexandra (27 June 2018). "Mysterious interstellar visitor is a comet – not an asteroid – Quirks in ʻOumuamua's path through the Solar System helped researchers solve a case of mistaken identity". Nature. doi:10.1038/d41586-018-05552-9. S2CID 126317359. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2018. สืบค้นเมื่อ 27 June 2018.