โอซีอานิดส์

นิมฟ์ประจำมหาสมุทรและทะเล

ในประมวลเรื่องปรัมปรากรีก โอซีอานิดส์ (/ˈsənɪdz, ˈʃənɪdz/; กรีกโบราณ: Ὠκεανίδες, อักษรโรมัน: Ōkeanídes, pl. of Ὠκεανίς, Ōkeanís) เป็นนิมฟ์จำนวน 3 พันตน (จำนวนนี้หมายถึง "นับไม่ถ้วน") เป็นธิดาของโอซีอานัสกับทีธิส สองเทพไททัน[1]

ภาพวาด Les Océanides โดยกุสตาฟว์ ดอเร (ประมาณ ค.ศ. 1860)

เนื้อหา แก้

ครอบครัวของโอซีอานิดส์ล้วนเกี่ยวข้องกับน้ำ โอซีอานัสเป็นบุคลาธิษฐานของแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบโลก ทีธิสเป็นเทพีแห่งท้องทะเล ส่วนพี่น้องคือโพทามอย เทพแห่งแม่น้ำลำธารซึ่งมีจำนวน 3 พันตนเช่นกัน นอกจากนี้โอซีอานิดส์ยังเป็นบุคลาธิษฐานของฤดูใบไม้ผลิ[2] เฮสิโอดกล่าวว่าพวกนาง "กระจายไปไกลและกว้างขวาง" และ "รับใช้โลกและน้ำลึก"[3] ขณะที่ใน อาร์โกนอติกา ของอะพอลโลนีอัสแห่งโรดส์บรรยายว่าอาร์โกนอต (ชาวเรืออาร์โก) ซึ่งเรือเกยตื้นนอกชายฝั่งลิเบียอ้อนวอนให้ "นิมฟ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์แห่งวงศ์โอชีอานัส" มอบ "น้ำพุจากก้อนหินหรือสายธารศักดิ์สิทธิ์ผุดจากผืนโลก"[4]

แต่กระนั้นโอซีอานิดส์ไม่สามารถจัดกลุ่มได้โดยง่ายหรือจำกัดเพียงหน้าที่เดียว[5] รวมถึงไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับน้ำเสมอไป[6] โอซีอานิดส์หลายตนมีความสำคัญในประมวลเรื่องปรัมปรากรีกแม้นิมฟ์ส่วนใหญ่จะถือเป็นเทพชั้นรอง เช่น มีทิส บุคลาธิษฐานของปัญญาผู้เป็นชายาองค์แรกของซูส และให้กำเนิดเทพีอะธีนา ก่อนที่ภายหลังจะถูกซูสกลืนกิน[7] ดอริส โอซีอานิดส์องค์หนึ่งเป็นเทพีแห่งทะเล[8] สติกซ์ ซึ่งเฮสิโอดบรรยายว่าเป็นโอซีอานิดส์ที่อาวุโสที่สุดและสำคัญที่สุดเป็นบุคลาธิษฐานของแม่น้ำสติกซ์ที่กั้นระหว่างโลกกับยมโลก อย่างไรก็ตามโอซีอานิดส์บางตนอย่างยูโรปาและเอเชียมีความสัมพันธ์กับพื้นดินมากกว่า[9]

โอซีอานิดส์ยังมีหน้าที่ดูแลเยาวชน[10] เฮสิโอดพรรณาว่าพวกนางเป็น "ธิดาผู้งดงามของมหาสมุทร บุตรีผู้เลอโฉมในหมู่เทพี" และเป็น "กลุ่มธิดาผู้ดูแลผู้เยาว์ร่วมกับเทพอะพอลโล ซึ่งซูสมอบหน้าที่นี้ให้"[11]

มีโอซีอานิดส์อีกหลายตนนอกเหนือจากมีทิสที่เป็นชายาหรือมารดาของเทพหลายองค์[12] เช่น ดอริสเป็นชายาของเนียรีอัสและมารดาของนิมฟ์ทะเล 50 ตนที่เรียกว่า เนียรีอิด[13] สติกซ์เป็นชายาของแพลลัสและมารดาของซีลุส ไนกี คราตอสและไบอา[14] ยูรีโนมีเป็นชายาของซูสองค์ที่สามและมารดาของคาริทีส[15] คลีมีนีเป็นชายาของไอแอพีทัสและมารดาของแอตลัส เมนีเทียส โพรมีเทียสและเอพิมีเทียส[16] อีเล็กตราเป็นชายาของธอมัสและมารดาของอีริสและฮาร์พี[17] เพอร์เซเป็นชายาของฮีลีออสและมารดาของเซอร์ซีและราชาอีอีทีสแห่งคอสคิส[18] ไอไดอาเป็นชายาของอีอีทีสและมารดาของมีดีอา[19] คัลลีโรอีเป็นชายาของไครเซออร์และมารดาของเกเรียน[20]

ชื่อ แก้

เฮสิโอดระบุชื่อโอซีอานิดส์ 41 ชื่อ ขณะที่หลักฐานโบราณอื่น ๆ ระบุมากกว่านั้น ชื่อโอซีอานิดส์บางตนมาจากแหล่งน้ำที่มีอยู่จริง ขณะที่บางตนประดิษฐ์ขึ้น[21] บางชื่อเกี่ยวข้องกับสิ่งที่บิดามารดาต้องการมอบให้บุตร ซึ่งตรงตามหน้าที่ของโอซีอานิดส์ที่ดูแลเยาวชน เช่น พลูโต (ความมั่งคั่ง) ไทคี (โชคดี) ไอไดอา (ความรู้) และมีทิส (ปัญญา)[22] โอซีอานิดส์บางตนมีชื่อสัมพันธ์กับสถานที่ เช่น ยูโรปา เอเชีย อีฟีรา (คอรินท์) และโรดอส (โรดส์)[23]

อ้างอิง แก้

  1. Hard, pp. 40–41; Tripp, s.v. Oceanids, p. 401; Grimal, s.v. Oceanus, p. 315.
  2. Fowler, p. 13; Most, p. 31 n. 21; Grimal, s.v. Oceanus, p. 315; West, p. 259.
  3. Hesiod, Theogony 365–366.
  4. Apollonius of Rhodes, Argonautica 9.1410–4118.
  5. Tripp, s.v. Oceanids, p. 401.
  6. Hard, p. 40; West, p. 260.
  7. Hesiod, Theogony 886–900; Apollodorus, 1.3.6.
  8. Tripp, s.v. Oceanids, p. 401.
  9. Fowler, pp. 13–14; Tripp, s.v. Oceanids, p. 401.
  10. Hard, p. 40; Larson, p. 30; Gantz, p. 28; Tripp, s.v. Oceanids, p. 401.
  11. Hesiod, Theogony 346–366.
  12. Grimal, s.v. Oceanus, p. 315. Larson, p. 7 says that the Oceanids "serve mainly as genealogical starting points".
  13. Hesiod, Theogony 240–264; Apollodorus, 1.2.7.
  14. Hesiod, Theogony 383–385; Apollodorus, 1.2.4.
  15. Hesiod, Theogony 907–909; Apollodorus, 1.3.1. Other sources give the Charites other parents, see Smith, s.v. Charis.
  16. Hesiod, Theogony 351, however according to Apollodorus, 1.2.3, another Oceanid, Asia was their mother by Iapetus.
  17. Hesiod, Theogony 266–269; Apollodorus, 1.2.6.
  18. Hesiod, Theogony 956–957; Apollodorus, 1.9.1.
  19. Hesiod, Theogony 958–962; Apollodorus, 1.9.23.
  20. Hesiod, Theogony 286–288; Apollodorus, 2.5.10.
  21. West, p. 260.
  22. Fowler, p. 13.
  23. Fowler, pp. 13–16.