เฮสิโอด หรือ เฮสิอัด (อังกฤษ: Hesiod; กรีกโบราณ: Ἡσίοδος เฮ-สิ-โอ-ดอส) เป็นกวีชาวกรีกที่สันนิษฐานว่ามีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับโฮเมอร์ ในระหว่างปีที่ 750 ถึง 650 ก่อนค.ศ. เฮสิอัดเป็นกวีรายแรกในธรรมเนียมทางวรรณกรรมของตะวันตก ที่นำตัวเองเข้าไปมีบทบาทอยู่ในกวีนิพนธ์ของตัวเอง[1] นักเขียนยุคโบราณถือว่าเฮสิอัดมีฐานะร่วมกับโฮเมอร์ในฐานะผู้ก่อตั้งขนบธรรมเนียมทางศาสนาของกรีซ[2][3] ปัจจุบันเราถือว่าเฮสิอัดเป็นแหล่งข้อมูลหลักในทางวรรณคดี เกี่ยวกับเทพปกรณัมของกรีซ และข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ เช่น เทคนิกการทำนาสมัยกรีซโบราณ ความคิดทางเศรษฐศาสตร์ยุคเริ่มแรก ความรู้ทางดาราศาสตร์โบราณ และการบอกเวลาในสมัยโบราณ

เฮสิโอด
Ἡσίοδος
รูปปั้นที่เคยถูกเข้าใจผิดว่าเป็น รูปศีรษะของเซเนกาตัวปลอม นักปรัชญาสายสโตอิก แต่ปัจจุบันสันนิษฐานว่าอาจเป็นของเฮสิโอด
รูปปั้นที่เคยถูกเข้าใจผิดว่าเป็น รูปศีรษะของเซเนกาตัวปลอม นักปรัชญาสายสโตอิก แต่ปัจจุบันสันนิษฐานว่าอาจเป็นของเฮสิโอด
เกิดศตวรรษที่ 8 ก่อนค.ศ.
อาชีพกวีชาวบ้าน
ภาษากรีกโบราณ
แนวมหากาพย์
หัวข้อกวีนิพนธ์
ผลงานที่สำคัญธีออโกนี, งานและวัน

ชีวิต แก้

เฮสิอัดประพันธ์งานที่เป็นกวีนิพนธ์เชิงสั่งสอน (didactic poems) ไว้หลายเรื่อง ซึ่งท่านแทรกรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของตนไว้ ทำให้เราทราบว่าบิดาของท่านมาจากเมืองไซเม (Cyme) ในแคว้นอีโอลิส (Aeolis) ซึ่งอยู่บริเวณชายฝั่งเอเชียไมเนอร์ ใต้เกาะเลสบอสลงมา โดยบิดาของเฮสิอัดเดินทางข้ามทะเลมาตั้งรกรากที่เมืองเล็กๆ ชื่อว่า "อัสเคร" (Ἄσκρη) ใกล้กับเธสปิไอ ในแคว้นบีโอเชีย, "สถานที่ต้องสาป ทารุณในหน้าหนาว ลำบากในหน้าร้อน ไม่เคยมีดีสักอย่าง" (งานและวัน 640) เฮสิอัดได้รับมรดกจาบิดาเป็นที่ดินแปลงเล็กๆ อยู่เชิงเขาเฮลิคอน ซึ่งเป็นต้นเหตุให้ต้องเป็นคดีความกับ เปอร์เซส พี่ชายของตนหลายครั้ง โดยเฮสิอัดเล่าว่าพี่ชายของท่านโกงสิทธิในส่วนแบ่งมรดก โดยไปติดสินบนผู้ปกครอง แต่ภายหลังก็ตกยากและต้องบากหน้ามาขอพึ่งท่าน

เฮสิอัดไม่ชอบเดินทางทางทะเลเหมือนอย่างบิดา แต่มีครั้งหนึ่งท่านข้ามช่องแคบระหว่างแผ่นดินใหญ่ของกรีซ กับยูบีอา (Euboea) เพื่อร่วมประกวดร้องเพลงในพิธีฉลองงานศพ และชนะการประกวด นอกจากนี้ท่านยังเล่าถึงการได้พบกับอัปสรมิวส์บนเขาเฮลิคอน ในขณะที่กำลังคุมฝูงแกะอยู่ โดยเหล่าอัปสรมิวส์ปรากฏตัวขึ้นและมอบคธาประดับใบลอเรลให้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจในเชิงกวี (ธีออโกนี 22-35)

 
เฮสิอัดกับอัปสรมิวส์ (1891), โดย กุสตาฟ มอโร (Gustave Moreau). ในภาพแสดงกวีเฮสิอัดในขณะได้รับพิณจากเทพอัปสร ซึ่งต่างไปจากคำบอกเล่าของเฮสิอัดว่าเป็นคธาประดับพวงมาลัยใบลอเรล

งาน แก้

อ้างอิง แก้

  1. Barron, J. P., and Easterling, P. E., "Hesiod" in The Cambridge History of Classical Literature: Greek Literature, P. E. Easterling and B. Knox (eds), Cambridge University Press (1985), p. 92.
  2. M. L. West, Hesiod: Theogony, Oxford University Press (1966), p. 40.
  3. Jasper Griffin, "Greek Myth and Hesiod", J.Boardman, J.Griffin and O. Murray (eds), The Oxford History of the Classical World, Oxford University Press (1986), page 88

บรรณานุกรม แก้

  • Allen, T. W. and Arthur A. Rambaut, "The Date of Hesiod", The Journal of Hellenic Studies, 35 (1915), pp. 85–99.
  • Allen, William (2006), "Tragedy and the Early Greek Philosophical Tradition", A Companion to Greek Tragedy, Blackwell Publishing.
  • Andrewes, Antony (1971), Greek Society, Pelican Books.
  • Barron, J. P. and Easterling, P. E. (1985), "Hesiod", The Cambridge History of Classical Literature: Greek Literature, Cambridge University Press.
  • Buckham, Philip Wentworth (1827), Theatre of the Greeks.
  • Burn, A.R. (1978), The Pelican History of Greece, Penguin Books.
  • Cingano, E. (2009), "The Hesiodic Corpus", ใน Montanari, Rengakos & Tsagalis (2009) (บ.ก.), Brill's Companion to Hesiod, pp. 91–130{{citation}}: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์).
  • Evelyn-White, Hugh G. (1964), Hesiod, the Homeric Hymns and Homerica (= Loeb Classical Library, vol. 57), Harvard University Press, pp. xliii–xlvii.
  • Lamberton, Robert (1988), Hesiod, New Haven: Yale University Press. ISBN 0-300-04068-7.
  • Marckscheffel, Johann Georg Wilhelm (1840), Hesiodi, Eumeli, Cinaethonis, Asii et Carminis Naupactii fragmenta, Leipzig: Sumtibus F.C.G. Vogelii.
  • Montanari, Franco; Rengakos, Antonios; Tsagalis, Christos (2009), Brill's Companion to Hesiod, Leiden, ISBN 978-90-04-17840-3.
  • Murray, Gilbert (1897), A History of Ancient Greek Literature, New York: D. Appleton and Company, pp. 53 ff.
  • Griffin, Jasper (1986), "Greek Myth and Hesiod", The Oxford History of the Classical World, Oxford University Press.
  • Peabody, Berkley (1975), The Winged Word: A Study in the Technique of Ancient Greek Oral Composition as Seen Principally Through Hesiod's Works and Days, State University of New York Press. ISBN 0-87395-059-3.
  • Pucci, Pietro (1977), Hesiod and the Language of Poetry, Baltimore and London: Johns Hopkins University Press. ISBN 0-8018-1787-0.
  • Reinsch-Werner, Hannelore (1976), Callimachus Hesiodicus: Die Rezeption der hesiodischen Dichtung durch Kallimachos von Kyrene, Berlin: Mielke.
  • Rohde, Erwin (1925), Psyche. The cult of the souls and belief in immortality among the Greeks, London: Kegan Paul, Trench, Trubner & Co.
  • Symonds, John Addington (1873), Studies of the Greek Poets, London: Smyth, Elder & Co.
  • Taylor, Thomas (1891), A Dissertation on the Eleusinian and Bacchic Mysteries, New York: J. W. Bouton.
  • West, Martin L. (1966), Hesiod: Theogony, Oxford University Press