โหมี ชหางคีร์ ภาภา

โหมี ชหางคีร์ ภาภา, FRS (होमी जहांगीर भाभा, อักษรโรมัน: Homi Jehangir Bhabha, 30 ตุลาคม 1909 – 24 มกราคม 1966) เป็นนักฟิสิกส์นิวเคลียร์ชาวอินเดีย ผู้อำนวยการคนแรกและศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ประจำสถาบันวิจัยพื้นฐานตาตา (TIFR)[2] เขาได้รับการขนานนามให้เป็น "บิดาแห่งโครงการปรมาณูอินเดีย"[3] ภาภายังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งของศูนย์พลังงานปรมาณูตรอมเบย์ (Atomic Energy Establishment Trombay; AEET) ที่ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นศูนย์วิจัยปรมาณูภาภา ทั้ง TIFR และ AEET ล้วนเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอินเดีย[3]

โหมี ชหางคีร์ ภาภา

ภาภาเมื่อปี ป. 1960s
เกิด30 ตุลาคม ค.ศ. 1909(1909-10-30)
บอมเบย์
รัฐบอมเบย์
บริติชอินเดีย
(ปัจจุบัน มุมไบ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย)
เสียชีวิต24 มกราคม ค.ศ. 1966(1966-01-24) (56 ปี)
หมู่เขามงต์บลังก์,
Rhône-Alpes
(ปัจจุบัน Auvergne-Rhône-Alpes) ประเทศฝรั่งเศส
สาเหตุเสียชีวิตแอร์อินเดียเที่ยวบินที่ 101
ศิษย์เก่าวิทยาลัยกอนวิลแอนไคอัส มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (BS, PhD)
มีชื่อเสียงจาก
รางวัลรางวันแอดัมส์ (1942)
ปัทมภูษาณ (1954)
เฟลโลว์ออฟเดอะรอยัลโซไซตี[1]
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์นิวเคลียร์
สถาบันที่ทำงาน
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกราล์ฟ เอช ฟาวเลอร์
อาจารย์ที่ปรึกษาอื่น ๆพอล ดีราค

ภาภาได้รับรางวัลแอดัมส์ (1942) และ ปัทมภูษาณ (1954) รวมถึงเคยได้รับการเสนอชื่อรับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1951 และ 1953–1956[4]

ภาภาเสียชีวิตจากเหตุแอร์อินเดียเที่ยวบินที่ 101 ตกในปี 1966 สิริอายุได้ 56 ปี[5]

อาชีพการงาน แก้

ภาภากลายมาเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติหลังสามารถคำนวณความน่าจะเป็นของการกระจายของโพสิตรอนด้วยอิเล็กตรอน (probability of scattering positrons by electrons) หรือที่ในปัจจุบันเรียกว่าการกระเจิงแบบภาภา นอกจากนี้เขายังมีส่วนร่วมอย่างมากในการศึกษาค้นคว้าถึงการกระเจิงคอมป์ตัน, กระบวนการอาร์ และการพัฒนาสาขาวิชาฟิสิกส์นิวเคลียร์ เขาได้รับรางวัลปัทมภูษาณจากรัฐบาลอินเดียในปี 1954[6] และต่อมายังดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์แก่คณะรัฐมนตรีของอินเดีย และยังมีส่วนสำคัญมากให้วิกรม สรภาอี จัดตั้งคณะกรรมการการวิจัยอวกาศแห่งชาติอินเดีย

การเสียชีวิต แก้

ภาภาเสียชีวิตขณะโดยสารแอร์อินเดียเที่ยวบิน 101 ซึ่งตกใกล้กับเขามงต์บลังก์ในวันที่ 24 มกราคม 1966[5] ขณะกำลังมุ่งหน้าไปเวียนนา ประเทศออสเตรีย เพื่อเข้าร่วมการประชุมขององค์การพลังงานปรมาณูนานาชาติ เหตุผลทางการของอุบัติเหตุการบินนี้คือการสื่อสารคลาดเคลื่อนระหว่างท่าอากาศยานเจนีวากับนักบิน ทำให้ทราบตำแหน่งของอากาศยานผิดพลาดและชนเข้ากับภูเขาในที่สุด[7]

มีการตั้งทฤษฎีจำนวนมากว่าถึงความเป็นไปได้ที่เหตุเครื่องบินตกครั้งนี้มาจากการมีส่วนร่วมของซีไอเอโดยพุ่งเป้าไปที่ภาภา เพื่อทำให้โครงการนิวเคลียร์ของอินเดียต้องชะงัก[8] เกรกอรี ดักลาส (Gregory Douglas) นักทฤษฎีสมคบคิด[9][10] และผู้ปฏิเสธการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวของฮิตเลอร์[11] อ้างว่าได้สื่อสารทางโทรศัพท์กับอดีตเจ้าหน้าที่ซีไอเอ รอเบิร์ท คราวลีย์ ในปี 1993 และตีพิมพ์บทสนทนานี้เป็นหนังสือ Conversations with the Crow ในปี 2013 ในหนังสือนี้ ดักลาสเขียนว่าคราวลีย์ระบุว่าซีไอเอเป็นผู้รับผิดชอบการลอบสังหารภาภา เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีอินเดีย ลาล พหาทูร ศาสตรี ในปี 1966 ห่างกันเพียงสิบสามวัน โดยมีจุดหมายเพื่อยับยั้งโครงการนิวเคลียร์ของอินเดีย[12]

อ้างอิง แก้

  1. Penney, L. (1967). "Homi Jehangir Bhabha 1909-1966". Biographical Memoirs of Fellows of the Royal Society. 13: 35–55. doi:10.1098/rsbm.1967.0002.
  2. "Homi Jehangir Bhabha". Physics Today. 19 (3): 108. 1966. doi:10.1063/1.3048089.
  3. 3.0 3.1 Richelson, Jeffrey Richelson. "U.S. Intelligence and the Indian Bomb". The National Security Archive, The George Washington University. Published through National Security Archive Electronic Briefing Book No. 187. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2015. สืบค้นเมื่อ 24 January 2012.
  4. "Homi J. Bhabha: Physics Nobel Prize Nominee and Nominator". ResearchGate (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2020. สืบค้นเมื่อ 2019-01-30.
  5. 5.0 5.1 Haine, Edgar A. (2000). Disaster in the Air. Associated University Presses. pp. 146–147. ISBN 978-0-8453-4777-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2020. สืบค้นเมื่อ 2 November 2016.
  6. "Padma Awards" (PDF). Ministry of Home Affairs, Government of India. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 October 2015. สืบค้นเมื่อ 21 July 2015.
  7. Gero, David (2009). Aviation Disasters: The World's Major Civil Airliner Crashes Since 1950 (5th Illustrated ed.). Stroud, Gloucestershire: The History Press. ISBN 978-0-7524-5039-1.
  8. Homi Bhabha: The physicist with a difference เก็บถาวร 13 พฤษภาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. News.in.msn.com (23 June 2015). Retrieved on 30 June 2015.
  9. Douglas, Gregory (2002). "Regicide: The Official Assassination of John F. Kennedy" (ภาษาอังกฤษ). Castle Hill Pub.
  10. "Not Quite the Hitler Diaries - Gestapo Chief (Review)". www.ihr.org. สืบค้นเมื่อ 28 January 2023.
  11. Douglas, Gregory. "Conversations With The Crow". สืบค้นเมื่อ 28 January 2023.
  12. "Has an Alps Climber Traced Mystery Crash That Killed Homi Bhabha?". News18. 30 July 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2021. สืบค้นเมื่อ 9 May 2019.