โรตีจาไน (มลายูและอินโดนีเซีย: roti canai) หรือ โรตีจาเน (roti cane) เป็นขนมปังแบนที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียพบได้ทั้งในมาเลเซียและอินโดนีเซีย พบได้ในภัตตาคารที่ขายอาหารมีนังกาเบาหรืออาหารอาเจะฮ์ ในสิงคโปร์และมาเลเซียทางใต้เรียกโรตีปราตา ซึ่งคล้ายกับอาหารอินเดียที่เรียกปาโรตตาแบบของรัฐเกรละ

โรตีจาไน
โรตีจาไน
ชื่ออื่นโรตีจาเน
ประเภทขนมปังแบน
แหล่งกำเนิดอินเดีย
ส่วนผสมหลักแป้ง
โรตีจาไนกับแกงแกะ ในสุมาตราตะวันตก
โรตี จาเนกับแกงแกะและมันฝรั่งในภัตตาคารอาหารอาเจะฮ์

ที่มาของคำ

แก้

ในภาษาฮินดี ภาษาอูรดู ภาษาส่วนใหญ่ทางอินเดียเหนือ และภาษามลายู คำว่าโรตีหมายถึงขนมปัง ส่วนคำว่าจาไน อาจมาจาก

  • เจนไน เมืองในอินเดียซึ่งในสมัยโบราณเรียกมัทราส คาดว่าโรตีจาไนเข้าสู่มาเลเซียโดยแรงงานที่อพยพมาจากมัทราสโดยเป็นการนำปาโรตตามารับประทานกับดาลจาซึ่งเป็นแกงถั่วเลนทิล[1]
  • จันนา เป็นอาหารที่ทำจากถั่วหัวช้างต้ม ในซอสรสเผ็ดของอินเดียเหนือ กินกับโรตี แต่โรตีในอินเดียเหนือต่างไปจากโรตีในมาเลเซีย ซึ่งคล้ายปาโรตตาในอินเดียใต้มากกว่า นอกจากนั้น โรตีจาไนยังนิยมรับประทานกับแกงถั่วเลนทิลมากกว่าแกงถั่วชิกพี
  • คำว่าจาไนในภาษามลายูหมายถึงการม้วนก้อนแป้ง

โรตีจาไนเป็นรูปกลมแบน การปรุงมีสองแบบ คือเหวี่ยงจนเป็นแผ่นแบนมากแล้วพับหรือรีดให้แบนก่อนจะพับ แป้งที่พับแล้วจะนำมาทอดในน้ำมัน วิธีเหลี่ยงแป้งให้บางเป็นที่นิยมกว่าและทำได้เร็วกว่า คำว่าโรตี ปาโรตตาในภาษามลายูหมายถึงขนมปังแบน

ในอินโดนีเซีย จะเรียกโรตีจาไนว่าโรตีจาเน และมักรับประทานกับแกงแกะ (การีกัมบิง) เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียซึ่งเป็นผลจากการอพยพเข้าสู่อินโดนีเซียในสมัยที่เป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ พบมากในอาหารมลายูที่สุมาตรา และอาหารมีนังกาเบา อาหารอาเจะฮ์

ส่วนประกอบ

แก้

โรตีจาไนประกอบด้วยไขมัน ไข่ แป้ง น้ำ นวดรวมกัน ไขมันที่ใช้นิยมเนยฆีของอินเดีย บางคนจะใส่นมข้นหวานลงไป ส่วนผสมจะถูกนวดจนเข้ากันดี ทำให้แบน แช่น้ำมันและม้วน พักให้ฟู ทำซ้ำอีก เมื่อจะทำให้สุกจึงแผ่เป็นแผ่นบาง พับแล้วทอดให้กรอบนอกนุ่มใน

ภาพการเตรียมโรตีจาไน

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Jaffrey, Madhur (2003). Madhur Jaffrey's Curry Bible. Ebury Press. pp. 283–4. ISBN 0-09-187415-7.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้