โรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์
โรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์ เป็นโรงเรียนประจำอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แบบสหศึกษา
โรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์ Huasai Bumrungrat School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
เลขที่ 330 หมู่ที่ 1 ตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช 80170 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ท.ร. / TR |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล สังกัด สพฐ. |
คำขวัญ | เรียนดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม |
สถาปนา | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 |
จำนวนนักเรียน | 1,345 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2560)[1] |
สี | เขียว เหลือง |
เพลง | มาร์ชหัวไทรบำรุงราษฎร์ |
เว็บไซต์ | http://www.hbr.ac.th/ |
ประวัติ
แก้โรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์ ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 โดยจัดการศึกษาอาศัยอยู่กับ"โรงเรียนหัวไทร (เรือนประชาบาล)" เป็นโรงเรียนประเภทสหศึกษา ในปีการศึกษา 2515 ได้ย้ายสถานที่เรียนจากโรงเรียนหัวไทร (ประถมศึกษาตอนปลาย) ไปอาศัยเรียนที่อาคารเก่าโรงเรียนหัวไทร (เรือนประชาบาล) จนกระทั่งปีการศึกษา 2516 ซึ่งเป็นปีแรกที่โรงเรียนมีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นครบทั้งสามชั้น คือ ชั้น ม.ศ.1 ม.ศ.2 และ ม.ศ.3 ได้แบ่งสถานที่เรียนเป็น 2 แห่ง คือ นักเรียนชั้น ม.ศ.1 เรียนที่โรงเรียนหัวไทร (เรือนประชาบาล) ส่วนนักเรียนชั้น ม.ศ.2 และ ม.ศ.3 เรียนที่โรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์
ปีการศึกษา 2519 ได้ย้ายสถานที่เรียนมาเรียนที่โรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์ บริเวณบ้านทะเลปังทั้งหมดทุกระดับชั้น และกระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดโรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์เข้าอยู่ในโครงการ คมช. รุ่นที่ 13 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2519 เป็นต้นมา จนกระทั่งในปีการศึกษา 2521 โรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เปิดเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[2]
ข้อมูลทั่วไป
แก้ทำเนียบผู้บริหาร
แก้ลำดับที่ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | นายฟอง วิริยะไพบูลย์ | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 | 22 กันยายน พ.ศ. 2515 |
2 | นายธีรวุฒิ ปทุมนพรัตน์ | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2515 | 31 มกราคม พ.ศ. 2516 |
3 | นายสมควร ณ ตะกั่วทุ่ง | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 | 19 มิถุนายน พ.ศ. 2523 |
นายฟอง วิริยะไพบูลย์ | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2523 | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2526 | |
4 | นายธานินท์ กิติมธานินทร์ | 1 กันยายน พ.ศ. 2526 | 31 มีนาคม พ.ศ. 2531 |
5 | นายระวัย แก้วเขียว | 1 เมษายน พ.ศ. 2531 | 24 กันยายน พ.ศ. 2533 |
6 | นายมนูญ ชูเกลี้ยง | 25 กันยายน พ.ศ. 2533 | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 |
7 | นายศรีมงคล ศรีมีชัย | 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 | 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 |
8 | นายถวิล รัตนโชติ | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 |
9 | ส.ต.นิคม มังคะมณี | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 | 30 กันยายน พ.ศ. 2547 |
10 | นายเสริมศักดิ์ อุณพันธ์ | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2547 | 30 กันยายน พ.ศ. 2550 |
11 | นายนิติพันธ์ ดำมี | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 30 กันยายน พ.ศ. 2556 |
12 | นายคีรี มากสังข์ | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556 | 30 กันยายน พ.ศ. 2565 |
13 | นายสุภาพ ยะพงศ์ | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | ปัจจุบัน |
หลักสูตร
แก้ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
แก้- โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program ; SMP) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (36 คน)
- โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านภาษาต่างประเทศ (Foreign Languages Program ; FLP) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (30 คน)
- ห้องเรียนทั่วไป ระดับชั้นละ 7 ห้อง (280 คน)
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
แก้- แผนการเรียนวิทย์ - คณิต ระดับชั้นละ 2 ห้อง (80 คน)
- แผนการเรียนศิลป์ - สังคม ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
- แผนการเรียนศิลป์ - ภาษาอังกฤษ ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
- แผนการเรียนศิลป์ - ภาษาจีน ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
อ้างอิง
แก้- ↑ https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_student.php?School_ID=1080210833&Area_CODE=101712 เก็บถาวร 2018-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จำนวนนักเรียน โรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์
- ↑ "ประวัติโรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-27. สืบค้นเมื่อ 2018-04-27.
- ↑ "ตราสัญลักษณ์โรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-27. สืบค้นเมื่อ 2018-04-27.
- ↑ "คติพจน์และปรัชญาโรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-27. สืบค้นเมื่อ 2018-04-27.
- ↑ อัตลักษณ์และเอกลักษณ์โรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์[ลิงก์เสีย]