โรงเรียนสตรีราชกุมารีรัตนาวตี

โรงเรียนสตรีราชกุมารีรัตนาวดี (อังกฤษ: Rajkumari Ratnavati Girls School) เป็นโรงเรียนสตรีในชนบทของทะเลทรายทาร์ในไชสัลเมร์ ประเทศอินเดีย โรงเรียนนี้โดดเด่นที่การออกแบบโดยสถาปนิกให้มีลักษณะเป็นรูปวงรีที่สามารถต้านทานอุณหภูมิกลางทะเลทรายที่สูงได้ถึง 50 องศาเซลเซียส[1] โรงเรียนมีขนาด 400 คน เปิดสอนระดับอนุบาลถึงระดับสิบ (เทียบเท่ามัธยมสี่) เป้าหมายการศึกษาของโรงเรียนคือการเรียนการสอนและฝึกวิชาซึ่งรวมถึงทักษะงานศิลปหัตถกรรมแบบพื้นถิ่น เช่น การทอผ้า เย็บปักถักร้อย อาคารโรงเรียนนี้เป็นผลงานการออกแบบโดยบริษัทสถาปนิกจากนิวยอร์ก ไดแอนา เคลลอก อาร์คีเท็กส์ (Diana Kellogg Architects)[2][3][4][5][6][7] ส่วนเครื่องแบบนักเรียนของโรงเรียนเป็นผลงานออกแบบโดยสพยสาจี มุขรจี โดยใช้อาร์จัก ซึ่งเป็นภาพพิมพ์ไม้อัดแบบท้องถิ่น[6][8]

โรงเรียนสตรี "ราชกุมารีรัตนาวตี"
ที่ตั้ง
แผนที่
หมู่บ้านกาโนอี

,
ข้อมูล
ประเภทเอกชน
การลงทะเบียน400 (เมษายน 2020)
เว็บไซต์www.cittaindia.org

ชื่อของโรงเรียนตั้งตามเจ้าหญิง (ราชกุมารี) นามว่า รัตนาวตี (หรือ รัตนาวดี) ธิดาในมหาราวัลรตัน สิงห์ (Maharawal Ratan Singh)[9]

สถาปัตยกรรม แก้

โรงเรียนตั้งอยู่ในภูมิภาคห่างไกลโดยรอบนครไชสัลเมร์ ใกล้กับหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ชื่อ กาโนอี (Kanoi) สถาปัตยกรรมของโรงเรียนเป็นรูปวงรี โดดเด่นท่ามกลางทะเลทราย[10] การออกแบบอาคารของโรงเรียนนั้นออกแบบเพื่อให้อากาศเย็นไหลเวียน และยังเป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นสตรี อันเป็นเอธอส (ethos) ของโครงการ ช่างหินจากไชสัลเมร์สร้างอาคารขึ้นจากหินทรายสีเหลืองทองพรีคัต เคลล็อก ผู้ออกแบบสร้างโรงเรียนเรียกผลงานชิ้นนี้ของเธอว่าเป็น "อ้อมกอดใหญ่และเป็นกอดที่แน่น" ("a big, tight hug")[11][12]

เพื่อให้ภายในอาคารของโรงเรียนมีอากาศเย็นสบาย เคลล็อกได้นำเอาวิธีแบบท้องถิ่นมาใช้ เช่น การฉาบผนังด้านในด้วยปูนขาว (lime plaster) ปูนขาวนี้มีฤทธิ์ในการคงความเย็นแก่อาคาร นอกจากนี้ เธอยังนำเอาหน้าต่างแบบจาฬีมาใช้ ซึ่งสร้างปรากฏการณ์เวนตูรี ทำให้ลมที่พัดผ่านเข้ามามีความเย็นขึ้น[11] ความเย็นภายในอาคารเพียงพอที่จะไม่ต้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศ[13][1]

พระบรมวงศานุวงศ์ของมหาราชาแห่งไชสัลเมร์ และ มเวนทระ สิงห์ เศขวาต (Manvendra Singh Shekhawat) เป็นผู้บริจาคที่ดินสร้างโรงเรียนนี้[14]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "This School Made of Sandstone in the Middle of The Thar Desert Needs no ACs". The Better India (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-01-18. สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
  2. "'I feel free here': how a miracle girls' school was built in India's 'golden city'". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2020-10-30. สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
  3. Explore the Rajkumari Ratnavati Girls School (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2021-06-22
  4. Nishtha Grover (October 16, 2020). "Sabyasachi makes school uniforms for underprivileged girls in Jaisalmer. Priceless pic". India Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
  5. Berg, Nate (2021-05-17). "See the beautiful school these dads built for their daughters". Fast Company (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
  6. 6.0 6.1 Assomull, Sujata (14 October 2020). "Why girls at Jaisalmer's Rajkumari Ratnavati Girls School will be wearing uniforms designed by Sabyasachi Mukherjee". Vogue India (ภาษาIndian English). สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
  7. Magazine, Wallpaper* (2021-06-08). "Sustainable school in rural India celebrates local sandstone". Wallpaper*. สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
  8. "Sabyasachi on Instagram: "Ajrakh uniforms by Sabyasachi for the Rajkumari Ratnavati Girls School, Jaisalmer, Rajasthan. @… in 2021 | School girl, Sabyasachi, School uniform". Pinterest (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-23.
  9. "राजकुमारी रत्नावती की शौर्यगाथा | 3 Exclusive History Facts | Rajkumari Ratnawati | RAJPUTANA" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-23.
  10. "Aiming to Empower Girls, This Jaisalmer School is an Architectural Wonder in the Midst of Thar Desert". www.news18.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-05-04. สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
  11. 11.0 11.1 Chelsea Lee. "How this school in the Indian desert stays cool even in extreme heat". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-02-05.
  12. The Desert School In Rajasthan That Needs No ACs | TN Plus (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2023-02-05
  13. "This girls' school in middle of Thar desert needs no ACs | Jaipur News - Times of India". The Times of India (ภาษาอังกฤษ). TNN. Jun 30, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-06-30.
  14. Khanna, Anshu (2021-01-14). "BRIJ RAJ SINGH BHATI: THE KING IS DEAD, LONG LIVE THE KING". The Daily Guardian (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-06-22. A revolution that had been quietly brewing for the last few years, Gyaan Center is a project of the Citta Foundation, spearheaded by American artist Michael Daube. A marvelous piece of architecture designed by New York-based architect Diana Kellogg and built around a stone structured palace donated by the Jaisalmer royal family, the center houses not just The Rajkumari Ratnavati School for girls but also a women’s cooperative that aims to empower the women of the region through craft employment and enhance gender parity in the region. A project wholly supported by Chaitanya and Raseshwari, who even donated the land it is built on, Gyaan Center by Citta Foundation is an architectural marvel. Its oval form is meant to reflect the curvilinear shapes of the local forts and the universal symbols of female strength.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แม่แบบ:Coord missing