จาฬี (jālī, แปลว่า "ตาข่าย") เป็นคำเรียกบานหน้าต่างลายแลททิซ โดยทั่วไปตกแต่งด้วยลวดลายที่ใช้อักษรวิจิตร, เรขาคณิต หรือลายจากฑรามชาติ ลักษณะการตกแต่งทางสถาปัตยกรรมนี้พบได้ทั่วไปในสถาปัตยกรรมอินโด-อิสลาม และสถาปัตยกรรมอิสลาม[1] แสงและอากาศสามารถผ่าน จาฬี ได้ ในขณะเดียวกันก็เป็นการลดแสดงอาทิตย์และฝนที่ผ่านทะลุบานหน้าต่างเข้ามา นอกจากนี้ เมื่ออากาศไหลผ่านรูของจาฬี ความเร็วของอากาศจะสูงขึ้น ซึ่งช่วยให้เกิดการแพร่ที่มากขึ้น

จาฬี อิทธิพลศิลปะอิสลาม ในซาลิม ชิชตี กี มักบะรา ฟเตหปุระสีกรี

จาฬีสามารถพบได้ทั่วไปในพื้นที่ร้อนชื้นอย่างรัฐเกรละและภูมิภาคกงกัณ ไปจนถึงพื้นที่เขตที่แห้งแล้งอย่างรัฐคุชราตและราชสถาน[2]

ภายหลังการเข้ามาของกระจกใสในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 การก่อสร้างอาคารในอินเดียเริ่มนำกระจกใสมาทดแทนจาฬี ความนิยมในการใช้จาฬียิ่งลดลงโดยเฉพาะจากความกังวลเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว[3]

งานจาฬีหินอย่างง่ายสามารถพบได้เก่าแก่ถึงสมัยคุปตะ เช่นในมนเทียรนจนา และปัฏฏทกัลซึ่งสร้างขึ้นหลังคุปตะ ตำราภาษาสันสกฤตเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในชื่อ "ศิลปะ" (ราว ค.ศ. 650), "สามรังคณ-สูตราธร" (Samarangana-Sutradhara) โดยกษัตริย์โภช (ค.ศ. 1018-1054), "กาศยปาศิลปา" (Kāśyapā-Śilpā; 1300) และ "ศิลปารัตนัม" (Śilpā-Ratnam; ราวศตวรรษที่ 16) ล้วนมีการกล่าวถึงจาฬีทั้งสิ้น[4]

อ้างอิง แก้

  1. Lerner, p. 156
  2. "Yatin Pandya on 'jaali' as a traditional element". Daily News and Analysis. 16 October 2011. สืบค้นเมื่อ 18 January 2016.
  3. Satyaprakash Varanashi (30 January 2011). "The multi-functional jaali". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 18 January 2016.
  4. Masooma Abbas, Ornamental Jālīs of the Mughals and Their Precursors, Int. Journal of Humanities and Social Science Vol. 6, No. 3; March 2016, p. 135-147

บรรณานุกรม แก้