โรงเรียนวีรศิลป์

โรงเรียนวีรศิลป์ เป็นโรงเรียนเอกชน ดำเนินงานโดยคณะบาทหลวงเขตมิสซังราชบุรี โรงเรียนตั้งอยู่เลขที่ 558 หมู่ 2 ถนนแสงชูโต (สายเก่า) ตำบลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ภายในบริเวณโบสถ์คาทอลิกแม่พระมหาทุกข์ 7 ประการ เยื้องที่ว่าการอำเภอท่าม่วง สถานีตำรวจภูธรท่าม่วงและย่านการค้าท่าม่วงหรือตลาดท่าม่วง โรงเรียนเนื้อที่ 11 ไร่ 2 งาน 2 ตารางวา  [1] ในปัจจุบัน โรงเรียนวีรศิลป์ อยู่ในการกำกับดูแลของบาทหลวง ธาดา พลอยจินดา (ผู้อำนวยการ)

ตราโรงเรียนวีรศิลป์

และบาทหลวงวรากร เจริญพาณิชย์(ผู้จัดการ

)

[2]

โรงเรียนประชาบาลนักบุญเทเรซา

แก้

ราวปี พ.ศ. 2438 บรรดาคริสตชนที่อาศัยอยู่บริเวณสำรองอพยพย้ายครอบครัวมาตั้งหลักฐานในทำเลที่ดีกว่าอุดมสมบูรณ์กว่าซึ่งย้ายมาอยู่ที่ “ท่าม่วง” ปี พ.ศ. 2443 มีคริสตชนที่ท่าม่วงประมาณ 100 คน และปี พ.ศ. 2458 มีคริสตชนประมาณ 300 คน  บาทหลวงเอมานูแอลได้สร้างโบสถ์เป็นเรือนไม้มุงสังกะสีและเสกเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ให้ชื่อว่าวัดแม่พระมหาทุกข์  7 ประการ  

โดยปกติเมื่อมีการสร้างโบสถ์สำหรับกลุ่มคริสตชน ก็จะมีการสร้างโรงเรียนควบคู่กับโบสถ์ด้วย ดังนั้นจึงมีการสร้างโรงเรียนหลังแรกชื่อว่า “โรงเรียนประชาบาลนักบุญเทเรซา”  โดยมีบันทึกว่าอาคารเรียนเป็นอาคารโรงไม้เล็กๆ ฝากระดาน หลังคามุงจาก  

โรงเรียนวีรวิทย์

แก้

 ปี พ.ศ. 2480 มีการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนจากโรงเรียนประชาบาลนักบุญเทเรซาเป็นโรงเรียน “วีรวิทย์” พร้อมกับการสร้างอาคารเรียนเป็นอาคารคอนกรีต หลังคากระเบื้อง โรงเรียนวีรวิทย์ ดำเนินกิจการเพียง 2 ปี ก็หยุดการจัดการเรียนการสอนเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง

โรงเรียนวีรศิลป์

แก้

หลังจากสงครามสงบ ด้วยความพยายามของสัตบุรุษโบสถ์แม่พระมหาทุกข์ได้มีการขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนขึ้นใหม่โดยยังคงใช้อาคารเรียนของโรงเรียนวีรวิทย์ เนื่องจากไม่สามารถใช้ชื่อเดิมในการขอจัดตั้งโรงเรียน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาชื่อเดิมให้มากที่สุดจึงให้ชื่อโรงเรียนหลังใหม่ว่า “โรงเรียนวีรศิลป์”  โรงเรียนวีรศิลป์ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนโดยมีบาทหลวงการ์โล เดลลา โตร์เร เป็นเจ้าของโรงเรียน นายเท้ง  ระดมกิจ  เป็นผู้จัดการ  และนายนิพนธ์ ชาวนาแก้ว เป็นครูใหญ่  เปิดทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 เปิดเรียนครั้งแรกมีนักเรียนระดับชั้น    ป.1 -  ป.4   รวม 41 คน

การพัฒนาอาคารสถานที่และการจัดการศึกษา

แก้

ด้านการพัฒนาด้านการจัดการศึกษา โรงเรียนจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ แรกเริ่มจัดการเรียนการสอนระดับชั้น ป.1 - ป.4  พ.ศ. 2511 จัดการเรียนการสอนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (หรือ ม.6 ตามหลักสูตรเดิม) และสามารถรับนักเรียนทั้งชายและหญิง   ต่อมารับนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา  ด้านจำนวนนักเรียนได้รับอนุญาตให้รับนักเรียนจำนวนสูงสุดดังนี้  ปี  พ.ศ. 2511 รับนักเรียนได้ 834 คน  พ.ศ. 2513 รับนักเรียนได้ 1,104 คน   พ.ศ. 2530 รับนักเรียนได้ 2,192 คน  ปี พ.ศ. 2542 ได้รับอนุญาตรับนักเรียนได้ไม่เกิน 3,506 คน พร้อมกันนี้โรงเรียนจัดหาสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน  เช่น ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ  ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ เป็นต้น โรงเรียนวีรศิลป์เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพในการจัดการศึกษา พ.ศ. 2503 ได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล จากกระทรวงศึกษาธิการชั้น ป.1 - ป.4  พ.ศ. 2510 ได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาลอีกครั้งจากกระทรวงศึกษาธิการ  พ.ศ. 2542  ได้รับการประเมินคุณภาพจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2547  ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รอบแรก)   พ.ศ. 2550 ได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษา (รอบสอง) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพคุณภาพการศึกษา  (องค์การมหาชน   สมศ.)  ขณะเดียวก็มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนวีรศิลป์โดยนายไพศาล  พนมศักดิ์ เป็นประธานชมรมฯและแต่งตั้งคณะกรรมการชมรมนักเรียนเก่าโรงเรียนวีรศิลป์ โดยกำนันสมเกียรติ  วอนเพียร  เป็นประธานชมรม  และ พ.ศ. 2551  บาทหลวงรุ่งเรือง   สารสุขสร้างห้องเฟื้องฟ้า สำหรับเตรียมเอกสาร เพื่อส่งโรงเรียนเข้าประเมินรางวัลพระราชทานระดับก่อนประถมศึกษา ขนาดใหญ่  ในโครงการการคัดเลือกนักเรียน  นักศึกษา และสถานศึกษา เพื่อรับรางวัลพระราชประจำปีการศึกษา  2550 และได้รับรางวัลชมเชย และมีการจัดฉลองครบ  60  ปีโรงเรียนในปีเดียวกัน  พ.ศ. 2554 บาทหลวงธาดา  พลอยจินดา สร้างอาคารเรียนระดับประถม เป็นอาคารเรียน 4 ชั้น ให้ชื่อว่า “อาคารเดลลาโตร์เร”  และขยายความจุนักเรียนเป็น  4,706  คน       

อ้างอิง 

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้