โรงเรียนมินฮาจญ์อิสลาม

โรงเรียนมินฮาจญ์อิสลาม ตั้งอยู่ เลขที่ 86 หมู่ที่ 1 ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000 โทรศัพท์: 0-3570-1122, 08-0428-2433

โรงเรียนมินฮาจญ์อิสลาม
Minhaj Islam School
ข้อมูล
ชื่ออื่นม.อ.
ประเภทโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
คำขวัญนำความรู้ สู่วิถีอิสลาม

การจัดการศึกษา แก้

1. ภาคฟัรฎูอัยนฺ ชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 6

2. ภาคอิสลามศึกษา ระดับมัธยมศึษาตอนต้นและมัธยมศึษาตอนปลาย

ประวัติ แก้

พ.ศ. 2528 แก้

คณะบุคคลอันได้แก่ ตวนฮัจยีมูฮำหมัด เลาะฟอ ผู้ใหญ่ยูซุฟ เลาะฟอ ผู้ใหญ่สมาน ตะเคียนคาม ฮัจยีสุรีย์ กระโห้ทอง ฮัจยีเตาเฟก เรืองปราชญ์ ฮัจยีกอเซ็ม ขันธชัย ครูสมาน เลาะวิถี และอีกหลายท่าน ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนศาสนาของเยาวชน ได้เห็นถึงปัญหาการขาดสถานที่เรียนศาสนา ที่มีการสอนศาสนาอย่างถูกต้องตามแนวทางกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮฺ จึงได้ปรึกษาหารือกัน และตกลงให้ใช้บ้านของตวนฮัจยีมูฮำหมัด เลาะฟอ ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ต.คลองตะเคียน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว โดยได้จัดหาผู้เสียสละเวลา อาสาทำการสอนโดยไม่รับค่าตอบแทนมาเป็นครู 4 คน ไม่เก็บค่าเล่าเรียน ซึ่งขณะนั้นมีนักเรียนทั้งหมด 104 คน ได้แบ่งการเรียนการสอนเป็น 4 ชั้น และเปิดสอนศาสนา และจริยธรรมอิสลามตามแนวทางกิตาบุลลอฮและซุนนะฮฺ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาด้านการบริหารการศึกษาในขณะนั้น มีคณะผู้บริหารมัสยิดญามิอิซซุนนะฮฺ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นมัสยิดกลาง เขต 2 เป็นผู้ทำหน้าที่ดูแลควบคุมในปี พ.ศ. 2529 ได้จัดให้มีสวัสดิการแก่ครู โดยจัดหาเงินค่าตอบแทนครูจากผู้มีจิตศรัทธา เพื่อจัดสรรเป็นเงินเดือนให้กับครู แต่เงินที่ได้ก็ยังไม่เพียงพอ

จากความทุ่มเทและเสียสละของบรรพชนในยุคนั้น ที่ต้องการให้เยาวชนเรียนรู้อิสลามอย่างถูกต้อง เพื่อนำไปปฏิบัติ แม้จะมีปัญหาในด้านงบประมาณอยู่บ้างแต่การจัดการศึกษาก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ต่อเนื่องเสมอมา

พ.ศ. 2541 แก้

คณะกรรมการมัสยิดกลาง เขต 2 ได้ประชุมปรึกษาหารือกัน ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า สถานที่เรียนในขณะนั้นยังไม่เหมาะสมพอ การเดินทางไม่สะดวก โดยเฉพาะในฤดูฝน ทางเข้าออกลำบาก พื้นดินชื้นแฉะ จึงร่วมมือกันจัดหาสถานที่เรียนที่เหมาะสมกว่า และได้ย้ายจากสถานที่เดิมมาอยู่ใกล้กับมัสยิดกลาง เขต 2 หมู่ที่ 1 ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ได้ปรับปรุงซ่อมแซมโรงเลี้ยงอาหารของมัสยิดมาสร้างเป็นอาคารเรียนชั่วคราว พร้อมกับใช้พื้นที่บางส่วนของมัสยิดเป็นสถานที่เรียนด้วย ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการศึกษาขึ้นมาบริหารและดูแลการศึกษาของเยาวชนโดยเฉพาะ

พ.ศ. 2542 แก้

คณะกรรมการการศึกษา ได้พิจารณาเห็นว่า อาคารเรียนชั่วคราวนั้น ไม่พอกับจำนวนนักเรียนและยังเป็นสถานที่ซึ่งขอยืมใช้ชั่วคราว จึงเห็นว่าควรจะมีอาคารถาวร เป็นสถานที่เรียนให้กับเยาวชน ประกอบกับขณะนั้นฮัจยีสมาน พุฒตาลได้บริจาคที่ดินจำนวน 129 ตารางวา ให้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารเรียน พร้อมทั้งฮัจยียาซีน ปานนพภา ได้บริจาคเงินจำนวนหนึ่งล้านห้าแสนบาท เพื่อเป็นทุนเบื้องต้นในการก่อสร้างอาคารเรียน จึงมีการประชุมและจัดตั้งคณะกรรมการก่อสร้างสถาบันการศึกษาอิสลาม เขต 2 ขึ้น ต่อจากนั้นได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีก 128 ตารางวา โดยนำมาจัดเป็นล็อกขาย เพื่อเป็นการซื้อบริจาคในราคาตารางเมตรละ 1,000 บาท รวมเป็นที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารสถาบันการศึกษาอิสลาม เขต 2 ทั้งสิ้น 257 ตารางวา หรือ 2 งาน 57 ตารางวา

เปิดสอนภาคฟัรฎูอัยนฺ แก้

พ.ศ. 2547 แก้

อาคารเรียนของสถาบันได้เริ่มเปิดใช้มาตั้งแต่เดือนวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2547

ทำการเรียนการสอน ในหลักสูตร การอ่านอัลกุรอาน ในภาคเย็น วันจันทร์ ถึงวันศุกร์

และฟัรฏูออัยนฺ ในวันเสาร์ ตามแบบฉบับ กิตาบุ้ลลอฮ์และซุนนะของท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

เปิดสอนภาคอิสลามศึกษา แก้

พ.ศ. 2550 แก้

คณะกรรมการการศึกษาสถาบันการศึกษาอิสลาม เขต 2 ได้มีดำริให้เปลี่ยนชื่อ เป็นโรงเรียนมินฮาจญ์อิสลาม และให้มีการจัดการเรียนการสอน ภาคศาสนาและภาษาอาหรับอย่างเต็มรูปแบบ โดยใช้หลักสูตรการเรียนการสอนอิสลามศึกษาของมหาวิทยาลัยของประเทศกลุ่มอาหรับ

พ.ศ. 2552 แก้

เปิดทำการเรียนการสอนภาคอิสลามศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2552

แหล่งข้อมูลอื่น แก้