โรงพยาบาลมนารมย์

โรงพยาบาลมนารมย์ เป็นโรงพยาบาลเอกชนของประเทศไทยในด้านการดูแลสุขภาพจิตและพฤติกรรม โรงพยาบาลนี้ให้บริการด้านสุขภาพจิตแบบครบวงจรแก่ผู้ป่วยทุกวัยตั้งแต่เด็ก, ผู้ใหญ่ ไปจนถึงผู้สูงอายุ[1] อนึ่ง คำว่า "มนารมย์" ออกเสียงว่า ‘มะ-นา-รม’ แปลว่า "ใจเป็นสุข"

โรงพยาบาลมนารมย์
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
พิกัด13°44′47″N 100°33′09″E / 13.746325°N 100.552635°E / 13.746325; 100.552635
หน่วยงาน
ระบบการบริการเอกชน
ประเภทโรงพยาบาลเอกชนด้านสุขภาพจิตและพฤติกรรม
สังกัดไม่มี
ประวัติ
เปิดให้บริการ1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ลิงก์
เว็บไซต์http://www.manarom.com โรงพยาบาลมนารมย์

ประวัติ แก้

โรงพยาบาลมนารมย์ได้รับการก่อตั้งใน พ.ศ. 2547 โดยไซคีอะทริกแอสโซซิเอตส์คอร์ปอเรชัน หรือบริษัท พีเอซี (สยาม) จำกัด ด้วยเงินลงทุนรวมสามร้อยล้านบาท ครั้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ฯพณฯ องคมนตรี ดร. เกษม วัฒนชัย ทำพิธีเปิดโรงพยาบาลมนารมย์ นับแต่นั้น โรงพยาบาลมนารมย์ได้เปิดให้แก่ประชาชนทั่วไป

ที่ตั้ง แก้

โรงพยาบาลมนารมย์ตั้งอยู่ ณ ซอยสุขุมวิท 70/3 ใกล้แยกบางนา-ตราด ภายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

บริการ แก้

  • คลินิกผู้ป่วยนอก

โรงพยาบาลมนารมย์ให้การประเมินและการรักษาปัญหาสุขภาพจิต รูปแบบการรักษารวมถึงการให้คำปรึกษา, จิตเภสัชบำบัด, จิตบำบัด, การบำบัดแบบกลุ่ม, การผ่อนคลาย และการฝึกอบรมการบริหารจัดการความโกรธ[2][3]

  • การดูแลผู้ป่วยใน

โรงพยาบาลนี้ให้บริการผู้ป่วยใน 32 เตียงในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ซึ่งมุ่งเน้นไปที่นิเวศน์บำบัดโดยใช้วิธีการแบบทีมรักษาที่มีสหสาขาวิชาชีพร่วมกับจิตแพทย์ ที่ทำงานร่วมกับผู้ป่วยทุกรายในหน่วย

  • การบริการบำบัดฟื้นฟู / โปรแกรมกลางวัน

โรงพยาบาลมนารมย์ให้การรักษาในโรงพยาบาลบางส่วนสำหรับการจัดการกลุ่มอาการทางพฤติกรรม, การติดตามการใช้ยา และโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพ

  • จิตเวชเด็ก-วัยรุ่น และศูนย์บำบัดครอบครัว

โรงพยาบาลตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพจิตของเด็กและครอบครัว[4]

  • บริการผู้สูงอายุและประสาทจิตวิทยา

การประเมินการดูแล และแผนการรักษาสำหรับผู้ป่วยอายุมากกว่า 55 ปี ที่ประสบปัญหาทางอารมณ์, ปัญหาพฤติกรรม หรือการเปลี่ยนแปลงทางปัญญาซึ่งเกี่ยวข้องกับความชรา หรือสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสูงวัย

  • โปรแกรมบำบัดการพึ่งพาสารเคมี

โปรแกรมการพึ่งพาสารเคมีมีโครงสร้างสำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่ต้องการการล้างพิษภายใต้การดูแล หรือโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพ

  • คลินิกความผิดปกติที่เกี่ยวกับการนอนหลับ

การวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาในการนอนหลับ หรือปัญหาทางการแพทย์อื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นหรือรุนแรงขึ้นระหว่างการนอนหลับ[5]

  • การศึกษาและบริการด้านสุขภาพจิต

การส่งเสริมการศึกษาปัญหาสุขภาพจิต และการให้สุขภาพจิตศึกษา แก่โรงเรียนและองค์การของรัฐ[6]

  • ศูนย์พัฒนามนารมย์ : เอ็มดีซี

โรงพยาบาลมนารมย์ให้บริการด้านจิตวิทยาต่าง ๆ, การฝึกอบรมแก่สาธารณชนและองค์การตามโครงการพัฒนาบุคลิกภาพ

อ้างอิง แก้

  1. "First private psychiatric asylum aims to boost care" The Nation (21 March 2007) http://www.nationmultimedia.com/2007/03/21/national/ เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. 1 in 6 Thais can be a bit 'Mental'. (suffer mental illness) https://web.archive.org/web/20110714191913/http://www.nongkhaimap.com/nongkhaiforum/1-in-6-thais-can-be-a-bit-mental-suffer-mental-illness-t6310.html
  3. Don’t shrug off extreme mood changes, Bangkok Post, section My life (2 April 2009). http://www.bangkokpost.com/life/family/14429/
  4. Too much homework not good for kids Saturday, Paknam Web Thailand Forums (12 July 2008). http://www.bangkokpost.com/120708_News/12Jul2008_news07.php
  5. Sleep Disorder http://www.ingentaconnect.com/content/bsc/cchd/2008/00000034/00000004/art00010
  6. Cross-cultural problems in international schools Thursday 16 October 2008, Bangkok Post 16 October 2008 http://www.bangkokpost.com/161008_Mylife/16Oct2008_family01.php

แหล่งข้อมูลอื่น แก้