โรคนอนชักนำโดยกาเฟอีน

โรคนอนชักนำโดยกาเฟอีน[1][2] หรือ โรคนอนเหตุกาเฟอีน (อังกฤษ: Caffeine-induced sleep disorder) เป็นโรคทางจิตเวชที่เป็นผลของการรบริโภคกาเฟอีน (เช่นจากกาแฟ) ที่เป็นสารกระตุ้นมากเกินไป "ถ้าบริโภคกาเฟอีนก่อนนอนหรือตลอดวัน อาจหลับได้ช้า ลำดับการนอนปกติอาจเปลี่ยนไป และคุณภาพการนอนอาจลดลง"[3] กาเฟอีนจะลดระยะการนอน slow-wave sleep (ระยะ 3 และ 4) ในวงจรการนอนหลับในเบื้องต้น และลดระยะ rapid eye movement sleep (REM sleep) ในวงจรภายหลัง กาเฟอีนจะเพิ่มจำนวนคราวที่ตื่น และระดับที่บริโภคสูงตอนเย็นจะเพิ่มความล่าช้าในการหลับ ในผู้สูงอายุ การใช้ยาที่มีกาเฟอีนสัมพันธ์กับความลำบากในการนอนหลับ[4]

โรคนอนชักนำโดยกาเฟอีน
(Caffeine-induced sleep disorder)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-9292.85

เกณฑ์วินิจฉัยสำหรับโรคนี้ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM-IV) รวมทั้งการนอนไม่หลับอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งต้องเกิดจากผลทางกายของกาเฟอีนเท่านั้นโดยยืนยันด้วยการตรวจ ถ้าปัญหาการนอนอธิบายได้เพราะเหตุโรคนอนเนื่องจากการหายใจ, ภาวะง่วงเกิน, โรคนอนเหตุจังหวะรอบวัน (circadian rhythm sleep disorder), หรือความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ ก็จะไม่วินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้[ต้องการอ้างอิง] โรคนี้ทำให้เกิดความพิการในการใช้ชีวิตอย่างสังเกตได้ในคนไข้[5]

การบริโภคกาเฟอีนมากเกินอาจทำให้เกิดภาวะพิษ ซึ่งกำหนดด้วยอาการอยู่ไม่สุข กายใจไม่สงบ ตื่นเต้น คำพูดหรือความคิดวนเวียน และการนอนไม่หลับ แม้แต่กาเฟอีนขนาดเท่ากับกาแฟแก้วเดียว ก็สามารถทำให้นอนหลับช้าและลดคุณภาพการนอนโดยเฉพาะระยะหลับลึกที่ไม่ใช่ REM sleep กาเฟอีนขนาดเดียวกันในตอนเช้าก็ยังสามารถมีผลเช่นนี้ในคืนนั้น ดังนั้น หลักอนามัยในการนอนอย่างหนึ่งที่ทำได้ก็คือหยุดบริโภคกาเฟอีน[6]

ชีววิทยาเกี่ยวกับกาเฟอีน แก้

กาเฟอีนเข้าสู่เลือดผ่านกระเพาะและลำไส้เล็ก และสามารถมีผลกระตุ้นเพียงแค่ 15 นาทีหลังจากบริโภค เมื่ออยู่ในร่างแล้ว จะสามารถคงอยู่ได้หลาย ชม. ร่างกายจะกำจัดครึ่งหนึ่งที่บริโภคในประมาณ 6 ชม. เมื่อกาเฟอีนไปถึงสมอง มันจะเพิ่มการหลั่งนอร์เอพิเนฟริน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองโดยสู้หรือหนี และเพิ่มทั้งการทำงานของนิวรอนและอาการที่คล้ายกับเมื่อเกิดคราวตื่นตระหนก (panic attack)[7]

แม้ว่า กาเฟอีนจะมีหลักฐานว่าลดคุณภาพการนอน แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่ามีผลอย่างเดียวกันต่อทุกคน และบางคนก็รายงานว่าไม่มีปัญหาการนอนแม้ว่าจะบริโภคกาเฟอีนเป็นปกติ การทานกาเฟอีนเป็นปกติอาจจะธรรมดาสำหรับบางคน ดังนั้น จึงเข้าใจได้ว่ายังสามารถนอนพอได้อย่างไร หลักฐานนี้แสดงว่า กาเฟอีนขัดขวางกลไกการปรับ (modulatory) ระบบควบคุมการนอนหลับแทนการขัดขวางวงจรประสาทควบคุมการนอนที่เป็นพื้นฐาน[8] โดยที่สุดแล้ว นิสัยการหลับนอนที่สม่ำเสมอเป็นเรื่องสำคัญในคุณภาพทั่วไปและเวลาการนอน

งานศึกษา แก้

งานศึกษาปี 2556 ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาของเปลือกสมองกับการนอนหลับ และดูว่าสิ่งเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากการบริโภคกาเฟอีนเช่นไร โดยวัดทั้งการนอนหลับและการพัฒนาของสมองทางสรีรวิทยาไฟฟ้า และข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและโครงสร้างอื่น ๆ ของลูกหนู แล้วพบผลที่คล้ายกับมนุษย์คือกาเฟอีนมีผลกระตุ้นชั่วคราวและเปลี่ยนการดำเนินของคลื่น slow wave ในช่วงนอนหลับ นอกจากจะมีผลต่อการนอนแล้ว ยังมีผลต่อการเจริญเติบโต[6] โดยที่สุดแล้ว งานศึกษาแสดงว่าการบริโภคกาเฟอีนในช่วงพัฒนาการวิกฤต (critical developmental period) มีผลระยะยาวต่อการนอนและพัฒนาการของสมอง

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "disorder", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (จิตเวช.) โรค, ความผิดปรกติ
  2. "induced", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) -ชักนำ, -ทำให้เกิด
  3. "Sleep and Caffeine" (PDF). Johns Hopkins University School of Medicine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 16, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-11-02. When caffeine is consumed immediately before bedtime or continuously throughout the day, sleep onset may be delayed, total sleep time reduced, normal stages of sleep altered, and the quality of sleep decreased.
  4. "Neuropsychiatric effects of caffeine". Anthony P. Winston, Elizabeth Hardwick, Neema Jaberi. สืบค้นเมื่อ 2015-11-02.
  5. Lande, R Gregory (July 7, 2005). "Caffeine-Related Psychiatric Disorders". eMedicine. สืบค้นเมื่อ 2007-05-05.
  6. 6.0 6.1 Olini, N.; Kurth, S.; Huber, R. (2013). "The Effects of Caffeine on Sleep and Maturational Markers in the Rat". PLoS ONE. 8 (9): e72539. doi:10.1371/journal.pone.0072539. PMC 3762801. PMID 24023748.
  7. "Sleep and Caffeine".
  8. "Actions of Caffeine in the Brain with Special Reference to Factors That Contribute to Its Widespread Use".

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • Broderick, P; Benjamin, AB (December 2004). "Caffeine and psychiatric symptoms: a review". J Okla State Med Assoc. 97 (12): 538–42. PMID 15732884.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)