โมเซอิก (พันธุศาสตร์)

ในเวชพันธุศาสตร์ ภาวะโมเซอิก (อังกฤษ: mosaisc, mosaicism) หมายถึงภาวะที่สิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ มีเซลล์ซึ่งมีจีโนไทป์แตกต่างกันสองแบบที่เจริญมาจากไข่ที่ผสมแล้วใบเดียว[1] mosaicism อาจเป็นผลจากการกลายพันธุ์ระหว่างการเจริญของตัวอ่อนซึ่งเจริญต่อมาเป็นเซลล์เพียงส่วนหนึ่งของเซลล์ที่เจริญเต็มที่แล้ว

นิยามของโมเซอิกอาจคล้ายคลึงกับภาวะไคมีราทางพันธุศาสตร์ ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตตัวเดียวมีจีโนทัยป์มากกว่าหนึ่งชนิดได้คล้ายกัน ความแตกต่างอยู่ตรงที่ว่าจีโนทัยป์หลายชนิดที่พบในไคมีรามาจากการผสานรวมกันของไซโกตที่ปฏิสนธิแล้วมากกว่าหนึ่งตัว แทนที่จะเกิดจากการกลายพันธุ์หรือการสูญเสียโครโมโซมไปอย่างที่พบในโมเซอิก

อ้างอิง แก้