โพธิจิต[1] (สันสกฤต: बोधिचित्त; จีน: 菩提心 ผูถีซิน) หมายถึง จิตที่มุ่งต่อการตรัสรู้เพื่อประโยชน์แก่สัตวโลก คำว่า โพธิจิต เป็นคำสมาส จากคำว่า โพธิ (การตรัสรู้) + จิต ดังนั้น โพธิจิต จึงแปลว่า จิตแห่งการตรัสรู้

แนวคิดเรื่องโพธิจิตปรากฏในหลายคัมภีร์ของฝ่ายมหายาน เช่น วิมลกีรตินิรเทศสูตร มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ มหาไวโรจนสูตร เป็นต้น โดยแต่ละคัมภีร์แสดงนัยของโพธิจิตแตกต่างกันไป เมื่อนิกายมหายานแพร่ไปถึงประเทศจีน พระเถราจารย์ชาวจีนหลายรูปได้แต่งคัมภีร์ขยายความแนวคิดโพธิจิตต่อไปอีกจนแพร่หลาย จนกลายเป็นแนวคิดสำคัญอย่างหนึ่งของนิกายมหายานจวบจนปัจจุบัน

ความเชื่อ

แก้

แม้แต่ละคัมภีร์และแต่ละนิกายจะอธิบายโพธิจิตแตกต่างกันไป โดยทั่วไปมีความเข้าใจโดยพื้นฐานว่าสัตวโลกทั้งหลายมีพุทธภาวะอยู่ในตัว ซึ่งเป็นศักยภาพที่ทำให้สรรพสัตว์ทั้งหลายสามารถพัฒนาจิตของตนไปสู่การตรัสรู้ได้ ถือเป็นจิตพระโพธิสัตว์ที่มุ่งเน้นความเสียสละ มีความกรุณา อุทิศตนเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 103-4