ในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานมีการตีความ ตถาคตครรภ์ (สันสกฤต: Tathāgatagarbha) หรือ พุทธธาตุ (จีน: 佛性 ฝอซิ่ง) แตกต่างกันในแต่ละสำนัก[1] โดยทั่วไปถือว่า ตถาคตครรภ์ เป็นภาวะบริสุทธิ์ดั้งเดิมที่มีอยู่ในจิตทั้งหลาย ภาวะนี้จึงเป็นเหมือนเมล็ดพันธุ์ (พีชะ) ที่จะพัฒนาไปสู่การตรัสรู้ต่อไป

คำว่า ตถาคตครรภ์ เป็นคำสมาสมาจากคำว่า ตถาคต (พระพุทธเจ้า) + ครรภ์ (สารัตถะ)[2] ตถาคตครรภ์ จึงหมายถึงสารัตถะของพระพุทธเจ้า ในขณะที่ 佛性 ในภาษาจีนหมายถึงธรรมชาติของพระพุทธเจ้า ส่วนนิกายวัชรยานนิยามใช้คำว่าสุคตครรภ์[3]

พระสูตรมหายานที่กล่าวถึง "ตถาคตครรภ์" มีหลายพระสูตร ได้แก่ ตถาคตครรภสูตร ศรีมาลาเทวีสิงหนาทสูตร มหายานมหาปรินิรวาณสูตร ลังกาวตารสูตร อวตังสกสูตร มหายานศรัทโธตปาทศาสตร์ เป็นต้น

อ้างอิง

แก้
  1. สุมาลี มหณรงค์ชัย, พุทธศาสนามหายาน, กรุงเทพฯ : ศยาม, 2546, หน้า 124-134
  2. Lopez, Donald S. (2001). The Story of Buddhism: a concise guide to its history & teaching. New York, NY, USA: HarperCollins Publishers, Inc. ISBN 0-06-069976-0 (cloth): p.263
  3. http://www.rigpawiki.org/index.php?title=Sugatagarbha