ภาวนา (บาลี;[1] สันสกฤต: भावना, bhāvanā[2]) มีความหมายตรงตัวว่า "การพัฒนา"[3], "การฝึกฝน"[4] หรือ "การลงมือกระทำจริง"(ปฏิปัตติ Patipatti)[1][2] ในความหมายของการ "ทำให้มี ทำให้เป็น ทำให้เกิดขึ้น"ซึ่งก็หมายถึงความชำนาญในทักษะใดๆนั่นเอง[5] เป็นแนวคิดสำคัญในศาสนาพุทธ คำว่า ภาวนา โดยทั่วไปปรากฏเป็นคำสันธานเชื่อมกับคำอื่นให้เป็นวลีรวม เช่น จิตตภาวนา หรือ เมตตาภาวนา ถ้าเป็นคำเดี่ยว ภาวนา หมายถึงการทำสมาธิ และ 'การฝึกฝนทางจิตวิญญาณ' โดยทั่วไป

ศาสนาฮินดู

แก้

ในวรรณกรรมฮินดู ภาวนาเป็นแนวคิดที่มักเชื่อมโยงกับเทพเจ้า เช่น พระกฤษณะในภควัทคีตา:[6]

O Puruṣottama, Supreme Person! O Bhūta-bhāvana, creator of beings! O Bhūteśa, father of all created beings! O Deva-deva, God of gods! O Jagat-pati, Master of the universe! You alone know Yourself by Your own potency.

— ระบุว่าเขียนโดยฤๅษีวยาส, ภควัทคีตา, Chapter 10, Verse 10.15

ศาสนาพุทธ

แก้

ในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ภาวนา หมายถึง การพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นทุกด้าน การลงมือปฏิบัติจริง แบ่งออกเป็น 4 อย่าง ดังนี้:

1.กายภาวนา ( physical Development ) การพัฒนาร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรงและสะอาด

2.ศีลภาวนา ( Social Development ) การพัฒนาความประพฤติตัวในสังคม

3.จิตตภาวนา ( Emotional Development ) การพัฒนาจิตใจและอารมณ์

4.ปัญญาภาวนา ( Wisdom Development ) การพัฒนาปัญญาและความคิด

นอกจากนี้ ในพระไตรปิฎกการพัฒนาด้าน สมถ-วิปัสสนา ได้รับการยกย่อง[7] ทำให้อาจารย์เถรวาทสอนด้วยคำประสมนี้:

  • สมถภาวนา, หมายถึง การอบรมจิตใจให้สงบ[5]
  • วิปัสสนาภาวนา, หมายถึง การอบรมปัญญาให้เกิด[5]

ภาวนาเป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่า ภาวนามัย คือ บุญที่เกิดจากการภาวนา

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Rhys Davids & Stede (1921–25), p. 503, entry for "Bhāvanā," retrieved 9 December 2008 from "U. Chicago" at [1].
  2. 2.0 2.1 Monier-Williams (1899), p. 755, see "Bhāvana" and "Bhāvanā", retrieved 9 December 2008 from "U. Cologne" at http://www.sanskrit-lexicon.uni-koeln.de/scans/MWScan/MWScanpdf/mw0755-bhAvodaya.pdf เก็บถาวร 2009-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  3. See various translations cited in the notes below.
  4. Matthieu Ricard has said this in a talk.
  5. 5.0 5.1 5.2 Nyanatiloka (1980), p. 67.
  6. www.wisdomlib.org (2020-05-08). "Verse 10.15 [Bhagavad-gita]". www.wisdomlib.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-10-25.
  7. See, e.g., in MN 151, the Buddha states that a bhikkhu who has developed samatha-vipassana (or any of the seven sets of Enlightenment-conducive qualities) "can abide happy and glad, training day and night in wholesome states" (trans., Ñāṇamoli & Bodhi, 2001, p. 1145). Additionally, AN 4.170 identifies three ways in which an arahant develops samatha-vipassana: samatha first; vipassana first; or both in tandem (Nyanaponika & Bodhi, 1999, p. 114; and, Thanissaro, 1998b). เก็บถาวร 2013-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน See also the paracanonical Nett 91 (Rhys Davids & Stede, 1921–25, p. 503, entry for "Bhāvanā", retrieved 9 December 2008 from "U. Chicago" at http://dsal.uchicago.edu/cgi-bin/philologic/getobject.pl?c.2:1:3558.pal[ลิงก์เสีย]).

ข้อมูล

แก้