โน้ตประจุด คือโน้ตสากลที่มีความยาวเป็น 3/2 เท่าของโน้ตปกติ หรือเรียกได้ว่ามีความยาวมากขึ้นอีกครึ่งหนึ่งของค่าตัวโน้ตเดิม เขียนโดยกำกับจุดไว้ข้างๆ หัวโน้ต ตัวอย่างเช่น โน้ตตัวกลมเมื่อประจุด whole note. จะมีค่าเท่ากับโน้ตตัวกลมบวกโน้ตตัวขาว whole note+half note ซึ่งจุดนั้นมีค่าเท่ากับโน้ตตัวขาวซึ่งมีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของโน้ตตัวกลม ส่วนเขบ็ตหนึ่งชั้นประจุด eighth note. จะมีค่าเท่ากับโน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้นบวกโน้ตเขบ็ตสองชั้น eighth note+sixteenth note เป็นต้น นอกจากตัวโน้ตแล้ว ตัวหยุดก็สามารถประจุดได้เช่นกันโดยใช้หลักการเดียวกันกับข้างต้น เช่น quarter rest. มีความหมายเหมือนกับ quarter rest+eighth rest เป็นอาธิ

โน้ตประจุดกับค่าความยาวที่เทียบเท่ากัน

การประจุดอาจกระทำได้มากกว่า 1 จุด โดยแต่ละจุดจะมีค่าเป็นครี่งหนึ่งของจุดก่อนหน้านั้น ตัวอย่างเช่น โน้ตตัวกลมประจุด 3 จุด whole note... จะมีค่าเท่ากับโน้ตตัวกลมบวกโน้ตตัวขาวบวกโน้ตตัวดำและบวกโน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้น whole note+half note+quarter note+eighth note ในทำนองเดียวกัน ตัวหยุดก็สามารถประจุดมากกว่า 1 จุดได้เช่นเดียวกัน

สูตรคำนวณ แก้

 .

เมื่อ   คือ ค่าของโน้ตนั้น

และ   คือจำนวนจุดที่ปะ

อ้างอิง แก้

  • นัชชา โสคติยานุรักษ์. ทฤษฎีดนตรี. กรุงเทพฯ : แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด, 2550.