โทโยะ (ญี่ปุ่น: 臺與/台与โรมาจิToyo) หรือ อิโยะ (壹與/壱与, Iyo; ค.ศ. 235–?) เป็นราชินีผู้ครองราชย์ในยามาไคโคกุของญี่ปุ้น และเป็นผู้สืบทอดของราชินีฮิมิโกะ ตามบันทึกใน "บันทึกเว่ย์" และแหล่งข้อมูลดั้งเดิมอื่น ๆ[1][2] นักประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อว่าเธอเป็นพระราชมารดาของจักรพรรดิซูจิง[3]

อิโยะ
ราชินีแห่งยามาไตโคกุ
ครองราชย์ป. ค.ศ. 248 – ไม่ทราบ
ก่อนหน้าฮิมิโกะ
ประสูติค.ศ. 235
ยามาไต ประเทศญี่ปุ่น
สวรรคตไม่ทราบ

ปกครอง

แก้

อิโยะไม่ได้มีการบันทึกในบันทึกประวัติศาสตร์หลายแห่ง และไม่มีใครทราบต้นกำเนิดของเธอ บันทึกต่าง ๆ อ้างว่าอิโยะเป็นญาติใกล้ชิดของฮิมิโกะ และได้รับอำนาจทางการเมืองอย่างมากตั้งแต่อายุยังน้อยมาก[4] แหล่งข้อมูลที่ได้มาจากข้อมูลจีนและการค้นพบทางโบราณคดีและชาติพันธุ์วิทยาทำให้นักวิชาการญี่ปุ่นสรุปว่าอิโยะเป็นหลานสาวของฮิมิโกะ ฮิมิโกะและอิโยะเป็นหมอผีหญิง และอำนาจอธิปไตยนั้นมีทั้งลักษณะทางการเมืองและศาสนา

หลังฮิมิโกะเสียชีวิต ฝ่ายบุรุษขึ้นปกครองยามาไต แต่ทว่าในไม่ช้า สงครามก็กลืนกินฝ่ายปกครอง สภาปกครองได้ประชุมกันและตัดสินใจแต่งตั้งสตรีอีกคนขึ้นครองบัลลังก์ โดยผู้ที่ได้รับเลือกคืออิโยะ เด็กหญิงที่มีอายุ 13 ปี ซึ่งประสบความสำเร็จในการคืนความสงบสุขแก่รัฐบาลของเธอ โดยปฏิบัติตามแนวทางการเมืองแบบเดียวกับที่ราชินีฮิมิโกะเคยทำไว้[5][6]

อ้างอิง

แก้
  1. Yoshie, Akiko; Tonomura, Hitomi; Takata, Azumi Ann «Gendered Interpretations of Female Rule: The Case of Himiko, Ruler of Yamatai». US-Japan Women's Journal, 44, 1, 2013, pàg. 13. DOI: 10.1353/jwj.2013.0009.
  2. "CHAPTER 12. Makimuku and the Location of Yamatai", Himiko and Japan's Elusive Chiefdom of Yamatai, University of Hawaii Press, pp. 239–282, 2017-12-31, ISBN 978-0-8248-6284-8, สืบค้นเมื่อ 2024-01-19
  3. Shillony 2008, p. 15.
  4. Ryūichi, Nagao (2016), "Der Staat Japan in historischer Perspektive", Staatsverständnis in Japan, Nomos Verlagsgesellschaft mbH & Co. KG, pp. 13–46, สืบค้นเมื่อ 2024-01-19
  5. Kitagawa, Joseph M. (February 1974). "The Japanese "Kokutai" (National Community) History and Myth". History of Religions. 13 (3): 209–226. doi:10.1086/462702. ISSN 0018-2710.
  6. "CHAPTER 12. Makimuku and the Location of Yamatai", Himiko and Japan's Elusive Chiefdom of Yamatai, University of Hawaii Press, pp. 239–282, 2017-12-31, ISBN 978-0-8248-6284-8, สืบค้นเมื่อ 2024-01-19
  • Aston, William G, tr. 1924. Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to CE 697. 2 vols. Charles E Tuttle reprint 1972.
  • Chamberlain, Basil Hall, tr. 1919. The Kojiki, Records of Ancient Matters. Charles E Tuttle reprint 2005.
  • Edwards, Walter (1998), "Mirrors to Japanese History", Archeology, 51 (3).
  • ——— (1999), "Mirrors on Ancient Yamato: The Kurozuka Kofun Discovery and the Question of Yamatai", Monumenta Nipponica, 54 (1): 75–110, doi:10.2307/2668274, JSTOR 2668274.
  • Ellwood, Robert S (1990), "The Sujin Religious Revolution" (PDF), Japanese Journal of Religious Studies, Nanzan U, 17 (3): 199–217, doi:10.18874/jjrs.17.2-3.1990.199-217[ลิงก์เสีย].
  • Farris, William Wayne (1998), "Sacred Texts and Buried Treasures: Issues in the Historical Archaeology of Ancient Japan", Monumenta Nipponica, vol. 54 no. 1, pp. 123–26.
  • Hideyuki, Shindoa.「卑弥呼の殺人」角川春樹事務所, 2005.
  • Hori, Ichiro. 1968. Folk Religion in Japan: Continuity and Change. University of Chicago Press.
  • Imamura. Keiji. 1996. Prehistoric Japan: New Perspectives on Insular East Asia. University of Hawai’i Press.
  • Kidder, Jonathan Edward. 2007. Himiko and Japan’s Elusive Chiefdom of Yamatai. University of Hawai’i Press.
  • Matsumoto, Seichō (1983), "Japan in the Third Century", Japan Quarterly, vol. 30 no. 4, pp. 377–82.
  • Mori, Kōichi (1979), "The Emperor of Japan: A Historical Study in Religious Symbolism" (PDF), Japanese Journal of Religious Studies, Nanzan U, vol. 6 no. 4, pp. 522–65.
  • Saeki, Arikiyo (1988). Sangokushiki Wajinden, Chōsen Seishi Nihonden 1 (ภาษาญี่ปุ่น). Tōkyō: Iwanami Shoten. ISBN 4-00-334471-5.
  • Tsunoda, Ryusaku, tr (1951), Goodrich, Carrington C (บ.ก.), Japan in the Chinese Dynastic Histories: Later Han Through Ming Dynasties, South Pasadena: PD and Ione Perkins.

Shillony, Ben-Ami (2008), The Emperors of Modern Japan, Verlag Ferdinand Schöningh