โคลงนิราศพระยาตรัง

โคลงนิราศพระยาตรัง หรือ โคลงนิราศถลาง เป็นนิราศคำโคลง แต่งโดยพระยาตรังคภูมาภิบาล (พระยาตรัง) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองตรังในสมัยกรุงธนบุรีและช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นิราศเรื่องนี้ไม่ปรากฏชื่อเรื่อง แต่เรียกกันโดยทั่วไปว่า นิราศพระยาตรัง โคลงนิราศพระยาตรัง นิราศตรัง หรือโคลงนิราศถลาง

โคลงนิราศพระยาตรัง
ชื่ออื่นโคลงนิราศถลาง
กวีพระยาตรัง (พระยาตรังคภูมาภิบาล
ประเภทนิราศ
คำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ
ความยาว126 บท
ยุครัตนโกสินทร์(ต้นรัชกาลที่ 2)
ปีที่แต่งราวพ.ศ. 2352
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์

โคลงนิราศพระยาตรังนับเป็นโคลงนิราศเรื่องหนึ่งที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี โดยมีอายุร่วมสมัยกัยโคลงนิราศของนายนรินทรธิเบศร์ (นิราศนรินทร์) ซึ่งจะว่าเป็นยอดของโคลงนิราศเช่นกัน

ประวัติ

แก้

เข้าใจว่าพระยาตรังคงจะแต่งขึ้นเมื่อคราวออกศึกถลางครั้งที่ 2 ในต้นรัชกาลที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2352 เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพไปรับมือกับพม่า ที่ส่งกองทัพบุกมายังเมืองถลาง (ภูเก็ต)

เหตุการณ์ในครั้งนั้นเกิดขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชย์ได้เพียง 2 เดือน ก็มีการเกณฑ์ทัพลงไปทางหัวเมืองปักษ์ใต้ฝั่งตะวันตก จำนวนนับ 2 พันนาย โดยมีสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ เป็นจอมทัพ เสด็จออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันอังคาร เดือนอ้าย ขึ้น 13 ค่ำ ทั้งนี้ยังมีการรวบรวมพลในหัวเมืองทางใต้อย่างนครศรีธรรมราชเพิ่มเติมด้วย

นิราศเรืองนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก ในหนังสือวชิรญาณ พร้อมด้วยนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย เมื่อ ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445)

ต้นฉบับในหอสมุดแห่งชาติ มีสมุดไทย 7 เล่ม ด้วยกัน มีเนื้อหาแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย แต่มี 3 เล่ม ที่มีเนื้อหาครบถ้วน 126 บท ในการชำระและจัดพิมพ์ขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2547 กรรมการชำระได้ทำหมายเหตุระบุเนื้อหาที่แตกต่างในแต่ละฉบับเอาไว้โดยละเอียด

เส้นทาง

แก้

พระยาตรังซึ่งรับราชการในกรุงเทพฯ เวลานั้นตามทัพไปในคราวนี้ด้วย แต่ไม่ได้ร่วมไปในทัพหลวง เพราะใช้เส้นทางเดินทัพต่างจากของนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) โดยทัพของพระยาตรังเคลื่อนเข้าคลองลัด ไปทางเมืองสมุทรปราการ จนถึงปากน้ำ แล่นเรือเลียบชายฝั่งทะเลตะวันออก แล้วตัดข้ามทะเลไปตามชายฝั่งภาคใต้ จนถึงเมืองชุมพร แล้วเดินทางต่อไปถึงไชยา จากนั้นก็ย้อนกลับมาที่หลังสวน

คำประพันธ์

แก้

นิราศพระยาตรังแต่งด้วยโคลงสี่สุภาพเป็นหลัก โดยมีร่ายสุภาพนำเพียง 15 วรรค และยังนับเป็นวรรรณกรรมเพียงเรื่องเดียวของพระยาตรัง ที่แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ นอกจากนี้ล้วนแต่งด้วยโคลงสี่ดั้น และเพลงยาว

เนื้อหา

แก้

ช้วงต้นเป็นบทชมพระนคร และไว้ครูตามธรรมเนียมการประพันธ์ จากนั้นเป็นการพร่ำพรรณาความรู้สึกถึงหญิงที่รัก บรรยายสถานที่ระหว่างเส้นทาง โดยมักสอดแทรกความรู้สึกและเล่นคำพ้องเสียงที่เชื่อมโยงไปถึงอารมณ์ผูกพันที่มีต่อคนรักของตน โดยเล่าถึงสถานที่จาก วัดสามปลื้ม ฉางเกลือ วัดทอง วัดราชบุรณะ วัดดอกไม้ พระประแดง จนถึงปากน้ำ แล้วผ่านเกาะต่าง ๆ ถึงสามร้อยยอด สุดท้ายพรรณนาถึงเกาะทะลุ และแหลมไทร จากนั้นไม้ได้บรรยายสถานที่อีก

อ้างอิง

แก้
  • วรรณกรรมพระยาตรัง. กรมศิลปากร, 2547