แอนเดอส์ เบห์ริง เบรวิก
ฟโยตอล์ฟ ฮันเซน (นอร์เวย์: Fjotolf Hansen; เกิด 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522)[5] รู้จักตามชื่อเกิดว่า แอนเดอส์ เบห์ริง เบรวิก (Anders Behring Breivik, เสียงอ่านภาษานอร์เวย์: [ˈɑ̂nːəʂ ˈbêːrɪŋ ˈbræ̂ɪviːk] ( ฟังเสียง), อันเดิช เบห์ริง บไรวีก)[6] และในนามแฝง แอนดรูว์ เบอร์วิก (อังกฤษ: Andrew Berwick) เป็นมือสังหารหมู่และผู้ก่อการร้ายชาวนอร์เวย์ ในเหตุระเบิดและกราดยิงหมู่ต่อเนื่องเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เขาได้วางระเบิดอาคารของรัฐในกรุงออสโล ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแปดศพ และก่อเหตุกราดยิงที่ค่ายสันนิบาตเยาวชนกรรมกรของพรรคแรงงานบนเกาะอูเตอยา ซึ่งคร่า 69 ชีวิต ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น[7][8]
ฟโยตอล์ฟ ฮันเซน | |
---|---|
เบรวิกใน ค.ศ. in 2011 | |
เกิด | Anders Behring Breivik 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 ออสโล, ประเทศนอร์เวย์ |
สถานะ | ถูกคุมขัง |
ชื่ออื่น | Fjotolf Hansen, Andrew Berwick, Anders Behring |
ส่วนสูง | 1.83 m (6 ft 0 in)[1] |
บทลงโทษ | คุมขังเพื่อความปลอดภัย 21 ปี |
รายละเอียด | |
วันที่ | 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ออสโล: 15:25 น. (เวลาออมแสงยุโรปกลาง) อูเตอยา: 17:22–18:34 น. (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)[2][3] |
ตำแหน่ง | ออสโลและอูเตอยา ประเทศนอร์เวย์ |
เป้าหมาย | สมาชิกพรรคแรงงานนอร์เวย์และวัยรุ่น |
ตาย | 77 คน (8 คนที่ออสโล, 69 คนที่อูเตอยา) |
บาดเจ็บ | 319 คน[4] |
ระเบิดติดรถแอนโฟ ปืนไรเฟิล Ruger Mini-14 ปืนสั้น Glock 34 |
เบรวิกอธิบายอุดมการณ์ขวาจัด[9]ของเขาในบทคัดย่อต้นฉบับ ชื่อ "2083: คำประกาศอิสรภาพยุโรป" ซึ่งเบรวิกได้แจกจ่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ในวันก่อเหตุ[9][10][11][12] ในนั้น เขาได้เผยถึงโลกทัศน์ของเขา ซึ่งรวมถึงความกลัวอิสลาม การสนับสนุนขบวนการไซออนิสต์[9] และคัดค้านเฟมินิสต์[13][14] นอกจากนี้ ยังแสดงการสนับสนุนกลุ่มขวาจัด อาทิ สันนิบาตป้องกันอังกฤษ[15] และกำลังกึ่งทหาร อาทิ สกอร์เปียนส์[16] เบรวิกถือว่าอิสลามและ "มากซิสต์ทางวัฒนธรรม" เป็นศัตรู และสนับสนุนการทำลายล้าง "ยูราเบีย" (Eurabia) และความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างรุนแรง และการเนรเทศมุสลิมทั้งหมดจากยุโรปตามแบบจำลองของกฤษฎีกาเบเนซ (Beneš decrees)[17][18] เบรวิกเขียนว่า แรงจูงใจหลักของเขาที่ก่อเหตุร้ายกาจดังกล่าวนี้เพื่อโฆษณาคำประกาศเจตนาของเขา[19] เบรวิกเข้าร่วมบล็อกกลัวอิสลามและชาตินิยมหลายบล็อก รวมทั้ง document.no[20] และเป็นผู้อ่านประจำของ Gates of Vienna, the Brussels Journal และ Jihad Watch[21]
การไต่สวนคดีของเขาเริ่มในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555 และคำแถลงการณ์ปิดคดีจัดขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน[22]
วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ศาลแขวงออสโลตัดสินว่าเบรวิกจิตปกติและมีความผิดฐานฆาตกรรม 77 ศพ เขาถูกตัดสินคุมขังเพื่อความปลอดภัย (ซึ่งเป็นโทษจำคุกแบบพิเศษ) โดยมีกรอบเวลา 21 ปี และเวลาอย่างต่ำ 10 ปี มีความเป็นไปได้ว่าจะต่อเวลาอีกตราบเท่าที่เขาดูเป็นอันตรายต่อสังคม ซึ่งเป็นโทษสูงสุดในนอร์เวย์ เบรวิกประกาศว่า เขาไม่รับรองความชอบด้วยกฎหมายของศาล และจึงจะไม่อุทธรณ์[23]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Norway shooting: Anders Behring Breivik's CV and biography". Telegraph Media Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2022. สืบค้นเมื่อ 17 January 2020.
- ↑ "Notat – Redgjørelse Stortinget" (PDF). Politiet. 10 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 July 2013. สืบค้นเมื่อ 10 November 2011.
- ↑ "Slik var Behring Breiviks bevegelser på Utøya". Aftenposten. 16 April 2012. สืบค้นเมื่อ 16 April 2012.
- ↑ "En av de sårede døde på sykehuset" [One of the wounded died in hospital]. Østlendingen (ภาษานอร์เวย์). 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
- ↑ "Norwegian killer Breivik changes his name". BBC News. 10 June 2017.
- ↑ "Breivik pronouncing his own name". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2013. สืบค้นเมื่อ 13 September 2014.
- ↑ Lewis, Mark; Cowell, Alan (24 August 2012). "Norway Killer Is Ruled Sane and Given 21 Years in Prison". NYTimes.com. สืบค้นเมื่อ 24 August 2012.
- ↑ Pracon, Adrian (1 June 2012). "Utøya, a survivor's story: 'No!' I yelled. 'Don't shoot!' ". guardian.co.uk. สืบค้นเมื่อ 24 August 2012.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 'Norway attack suspect had anti-Muslim, pro-Israel views'. Ben Hartman, The Jerusalem Post, 24 July 2011
- ↑ Kumano-Ensby, Anne Linn (23 July 2011). "Sendte ut ideologisk bokmanus en time før bomben". NRK News (ภาษานอร์เวย์). สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
- ↑ AVKRISTINA OVERN . "Var aktiv i norsk antiislamsk organisasjon – Nyheter – Innenriks". Aftenposten.no. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
{{cite web}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) - ↑ Bjoern Amland and Sarah Dilorenzo (24 July 2011). "Lawyer: Norway suspect wanted a revolution". Yahoo! News. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 20 April 2012.
- ↑ Jones, Jane Clare. Anders Breivik's chilling anti-feminism, The Guardian, 27 July 2011.
- ↑ Goldberg, Michelle. Norway Killer’s Hatred of Women, The Daily Beast, 24 July 2011.
- ↑ http://www.guardian.co.uk/world/2011/jul/26/breivik-manifesto-email-uk-contacts Breivik sent 'manifesto' to 250 UK contacts hours before Norway Killings] retrieved 14 July 2012
- ↑ Balkan Insight (25 July 2011). "NATO Attack On Serbia Set Off Norwegian Bomber". Eurasiareview.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-05. สืบค้นเมื่อ 21 August 2011.
- ↑ Buehrer, Jack (27 July 2011). "Oslo terrorist sought guns in Prague". The Prague Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-28. สืบค้นเมื่อ 2012-08-25.
- ↑ McIntyre, Jody. "Anders Behring Breivik: a disturbing ideology". The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-17. สืบค้นเมื่อ 2012-08-25.
- ↑ Josiane Kremer; Marianne Stigset; Stephen Treloar (25 July 2011). "Norway Shooting Suspect Breivik Is Ordered Into Isolation for Four Weeks". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 27 December 2011.
- ↑ Far-right anti-Muslim network on rise globally as Breivik trial opens, The Guardian 14 April 2012
- ↑ Her er Breiviks meningsfeller, Dagbladet, 25 August 2011
- ↑ "Rettssaken – Aktoratets prosedyre" [The trial – The defense counsel's closing] (ภาษานอร์เวย์). Norwegian Broadcasting Corporation. 22 June 2012. สืบค้นเมื่อ 22 June 2012.
- ↑ Lippestad: – Breivik bekrefter at han ikke anker, TV2, 24 August 2012
อ่านเพิ่ม
แก้- Borchgrevink, Aage Storm ["A Norwegian tragedy. Anders Behring Breivik and the roads to Utøya"] En norsk tragedie: Anders Behring Breivik og veiene til Utøya (2012)
- Borchgrevink, Aage Storm; Puzey, Guy A Norwegian Tragedy: Anders Behring Breivik and the Massacre on Utøya. 2013. ISBN 9780745672205 (translated from the Norwegian)
- ["The Mother"] Moren (2013), by Marit Christensen. Christensen claimed that for the last year of Wenche Behring Breivik's life, she had been her confidant, and that the book is based on Christensen's interviews with her. Wenche Behring Breivik hired a lawyer to prevent Christensen from publishing the book. The book was criticized for character assassinations of still living people.
- Frydnes, Jørgen Watne ["No man is an island"] Ingen mann er en øy (2021)
- Seierstad, Åsne One of Us: The Story of a Massacre in Norway – and Its Aftermath (2013)
- Seierstad, Åsne; Death, Sarah. One of us: the story of Anders Breivik and the massacre in Norway. New York: Farrar, Straus & Giroux, 2015. ISBN 9780374277895 (translated from the Norwegian)
- Turrettini, Unni; Puckett, Kathleen M. The Mystery of the Lone Wolf Killer: Anders Behring Breivik and the Threat of Terror in Plain Sight. New York: Pegasus Crime, 2015. ISBN 9781605989105
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Manifesto of Anders Behring Breivik Original document and video by Breivik.
- Washington Times: The Oslo Terrorist in His Own Words – Summary of Breivik's political beliefs
- BBC: Norway attacks: The victims – The eight Oslo bomb victims and the 69 youth camp victims
- Daily Telegraph: Trial indictment
- Influencing from prison
- The government should accept the criticism of the verdict
- "Norway: The rich cousin". The Economist. สืบค้นเมื่อ 13 September 2014.