แห้วหมู
แห้วหมู (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyperus rotundus) หรือหญ้าแห้วหมู หรือ หญ้าขนหมู เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวในวงศ์กก เป็นพืชจำพวกไม้ล้มลุก ลำต้นอยู่ใต้ดิน มีลักษณะเป็นหัวกลม สั้น มีตาจำนวนมาก และสามารถแทงไหลไปได้ไกลแล้วเกิดหัวใหม่เจริญขึ้นต้นเหนือดิน ใบของแห้วหมูเกิดที่ลำต้น ชิดแน่นโดยเป็นกาบใบหุ้มซ้อนม้วนทับกัน ชูขึ้นเหมือนลำต้นแล้วแผ่เป็นแผ่นใบแบนรูปแถบยาว ปลายแหลม กลางใบเป็นสันร่อง ผิวใบเรียบสีเขียวเข้ม กว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร ยาว 25 เซนติเมตร ดอกของแห้วหมูเกิดที่ปลายยอด ก้านช่อดอกเป็นรูปเหลี่ยมสีเขียวเข้มแทงขึ้นสูง ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วแตกเป็นช่อย่อยอีกหลายช่อ ดอกย่อยสีน้ำตาลจำนวนมาก ผลรูปขอบขนาน ปลายแหลมสีน้ำตาลหรือดำ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือหัวใต้ดิน
แห้วหมู | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว Monocots |
เคลด: | Commelinids Commelinids |
อันดับ: | อันดับหญ้า Poales |
วงศ์: | วงศ์กก Cyperaceae |
สกุล: | สกุลกก Cyperus L. |
สปีชีส์: | Cyperus rotundus |
ชื่อทวินาม | |
Cyperus rotundus L. |
ปัญหาการเป็นวัชพืช
แก้แห้วหมูจัดเป็นวัชพืชที่มีการกระจายพันธุ์สูงในเขตร้อน[2] ทำให้ผลผลิตของพืชเศรษฐกิจลดลง เพราะสามารถแย่งอาหารในดินแล้วยังสร้างมีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที เป็นวัชพืชที่กำจัดยากเพราะมีหัวใต้ดิน และทนทานต่อสารกำจัดวัชพืช ไกลโฟเสตสามารถกำจัดแห้วหมูได้แต่ต้องใช้ซ้ำ
การใช้ประโยชน์
แก้
ยาพื้นบ้าน
แก้- แห้วหมูมีคุณสมบัติเป็นสมุนไพร ซึ่งหัวมีรสเผ็ดขมเล็กน้อย ใช้ขับลม ส่วนสารสกัดจากรากมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ[3]
- เป็นยารักษาไข้เลือดออกเบื้องต้น โดยตำให้ละเอียดผสมเหล้าขาว 35 หรือ 40 ดีกรี 1 ขวด แช่ประมาณครึ่งชั่วโมง กรองเอาเฉพาะเหล้าดื่ม 1 แก้ว เพื่อขับพิษไข้ให้อาเจียนออกจนหมด หากไข้ยังสูงอยู่ดื่มได้อีก 1 แก้ว จากนั้นพาผู้ป่วยไปพบแพทย์[4]
- ตำรับยาอายุรเวทของอินเดีย ใช้แก้ไข้ ความผิดปกติในทางเดินอาหาร
- ชาวอาหรับในบริเวณเลอวานต์นำหัวไปอบให้ร้อน ใช้ประคบบริเวณที่บวม
- ตำรายาจีนเรียกเซียงฟู่ (ภาษาจีนกลาง) หรือเฮียวหู้ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) รากใช้เป็นยาแก้ปวด แก้อักเสบ[5]
แพทย์แผนใหม่
แก้ใช้แห้วหมูรักษาอาการคลื่นเหียน อาการอักเสบ ลดความเจ็บ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ มีสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชศาสตร์หลายชนิดเช่น: α-cyperone β-selinene cyperene cyperotundone patchoulenone sugeonol kobusone และ isokobusone สารสกัดจากหัวที่สกัดด้วยเอทานอล มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แซนธีน- ออกซิเดส[6]
อาหาร
แก้แม้ว่าหัวจะมีรสขมแต่ก็มีคุณค่าทางอาหาร ในทวีปแอฟริกาใช้เป็นอาหารเวลาขาดแคลน และเป็นอาหารนกในเวลาอพยพ
อ้างอิง
แก้- ↑ Lansdown, R.V., Juffe Bignoli, D. & Beentje, H.J. (2017). Cyperus rotundus. The IUCN Red List of Threatened Species 2017: e.T158183A84284983. Downloaded on 27 October 2018.
- ↑ Holm, LeRoy G.; Plucknett, Donald L..; และคณะ (1977). The World's worst weeds: Distribution and biology. Hawaii: University Press of Hawaii.
- ↑ ภูมิพิชญ์ สุชาวรรณ. พืชสมุนไพรใช้เป็นยา. กทม. มปท. 2536
- ↑ ""แห้วหมู" แก้ไข้เลือดออกเบื้องต้น". ไทยรัฐ. 5 September 2011. สืบค้นเมื่อ 22 September 2014.
- ↑ ภาสกิจ วัณณาวิบูล. รู้เลือกรู้ใช้ 100 ยาจีน. กทม. ทองเกษม. 2555
- ↑ ยุทธนา พงษ์พิริยะเดชะ พัชรินทร์ นวลศรีทอง และ นฤมล ศิรินทราเวช. 2552. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งเอนไซม์แซนธีนออกซิเดสจากสมุนไพรไทยกลุ่มบำรุงกำลังและอายุวัฒนะ. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47 17-20 มี.ค. 2552 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 94-102
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Flora Europaea: Cyperus rotundus เก็บถาวร 2011-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- USDA Plants Profile: Cyperus rotundus
- USDA Natural Resources Conservation Service: Cyperus rotundus (pdf file)
- Use in Chinese and Ayurvedic medicine
- A Tel-Aviv University study mentioning its nutritional importance for migrating birds (in Hebrew)
- Caldecott, Todd (2006). Ayurveda: The Divine Science of Life. Elsevier/Mosby. ISBN 978-0-7234-3410-8. Contains a detailed section on Cyperus rotundus, as well as a discussion of health benefits and Ayurvedic usage. Available online at https://web.archive.org/web/20110616192931/http://www.toddcaldecott.com/index.php/herbs/learning-herbs/310-musta