สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์

(เปลี่ยนทางจาก แยกสะพานขาว)

สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานขาว เป็นหนึ่งในสะพานที่สร้างข้ามคลองผดุงกรุงเกษม เชื่อมระหว่างถนนหลานหลวง ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต กับแขวงคลองมหานาคและแขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ถือกำเนิดขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม หลังจากพื้นที่พระนครและประชาชนริมคลองมีการขยายตัวขึ้น โดยการสร้างขึ้นมาทั้งหมดห้าแห่ง และมีการพระราชทานนามอันเป็นมงคลที่คล้องจองกันทั้งหมด คือ สะพานเทเวศรนฤมิตร, สะพานวิศสุกรรมนฤมาณ, สะพานมัฆวานรังสรรค์, สะพานเทวกรรมรังรักษ์ และสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ ซึ่งมีความหมายโดยรวมว่า "สะพานที่เทวดาเนรมิตร" และในส่วนของสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์มีความหมายว่า "สะพานที่พระพรหมเป็นผู้สรรค์สร้าง" ได้รับการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2496 รวมถึงมีการสร้างสะพานลักษณะแบบเดียวกันอีกสองแห่งขนานคู่กันอีกด้วย[1]

สี่แยก สะพานขาว
แผนที่
ชื่ออักษรไทยสะพานขาว
ชื่ออักษรโรมันSaphan Khao
รหัสทางแยกN014 (ESRI), 037 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต, แขวงคลองมหานาคและแขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนหลานหลวง
» แยกหลานหลวง
ถนนกรุงเกษม
» แยกเทวกรรม
ถนนหลานหลวง
» แยกยมราช
ถนนกรุงเกษม
» แยกกษัตริย์ศึก
สะพานสีขาวหนึ่งในสองแห่งที่สร้างขึ้นขนานกับสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ (มองจากถนนกรุงเกษมฝั่งตลาดโบ๊เบ๊)

ที่เชิงสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ทั้งสองฝั่ง เป็นทางแยก ลักษณะเป็นสี่แยก คือ แยกสะพานขาว ซึ่งได้ชื่อตามชื่อที่นิยมเรียกกันของสะพาน เป็นจุดตัดของถนนหลานหลวงกับถนนลูกหลวงและถนนกรุงเกษม บริเวณนี้เป็นแหล่งการค้าที่คึกคักและมีประวัติเก่าแก่ยาวนานมา ซึ่งได้แก่ ตลาดโบ๊เบ๊ ตลาดค้าส่งและปลีกเสื้อผ้าราคาถูก, ตลาดมหานาค หรือตลาดสะพานขาว ตลาดค้าส่งและปลีกผลไม้แห่งใหญ่[2] รวมถึงยังเป็นที่ตั้งของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ด้วย[3]

อ้างอิง

แก้
  1. ""สะพานเทวดานฤมิตร" ปราการป้องกันพระนคร". ศิลปวัฒนธรรม. 2016-10-24.
  2. "ช่วงตลาดติดดาว :: ตลาดมหานาค ตลาดผลไม้ตามฤดูกาล". เนชั่นทีวี. 2016-07-21. สืบค้นเมื่อ 2018-02-28.
  3. "ติดต่อเรา". กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-10. สืบค้นเมื่อ 2018-02-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°45′24″N 100°30′58″E / 13.756594°N 100.516081°E / 13.756594; 100.516081

สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานคู่ขนานสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ด้านเหนือ
 
สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์
 
ท้ายน้ำ
สะพานคู่ขนานสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ด้านใต้