แม่แบบ:Palestinian territory development

วิวัฒนาการสมัยใหม่ของปาเลสไตน์
ข้อเสนอปี 1916–1922: สามข้อเสนอสำหรับการบริหารปาเลสไตน์หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เส้นสีแดงคือ "ฝ่ายปกครองระหว่างประเทศ" ที่มีการเสนอในความตกลงไซส์-ปิโกปี 1916, เส้นประสีน้ำเงินคือข้อเสนอขององค์การไซออนิสต์การประชุมสันติภาพกรุงปารีส, และเส้นสีน้ำเงินบางหมายถึงเขตแดนสุดท้ายของปาเลสไตน์ในอาณัติ (1923–48)
ข้อเสนอปี 1937: ข้อเสนออย่างเป็นทางการแรกสำหรับการแบ่งดินแดน จัดพิมพ์โดยคณะกรรมการรพีลในปี 1937 มีการเสนอให้อาณัติของบริเตนคงอยู่ต่อไปเพื่อธำรงไว้ซึ่ง "ความศักดิ์สิทธิ์ของเยรูซาเล็มและเบธเลเฮ็ม" ในรูปของดินแดนแทรกตั้งแต่เยรูซาเล็มถึงจัฟฟา รวมทั้ง Lydda และ Ramle
1947 (ข้อเสนอ): ข้อเสนอตามแผนการแบ่งปาเลสไตน์สหประชาชาติ (ข้อมติสมัชชาสหประชาชาติที่ 181 (II), 1947), ก่อนสงครามอาหรับ–อิสราเอลปี 1948 ข้อเสนอนี้รวม Corpus Separatum สำหรับเยรูซาเล็มเป็นทางแพร่งสภาพนอกอาณาเขตระหว่างดินแดนที่ไม่ติดกัน โดยมีจาฟฟาเป็นดินแดนแทรกของอาหรับ
1947 (จริง): ปาเลสไตน์ในอาณัติ แสดงบริเวณที่ยิวเป็นเจ้าของในปาเลสไตน์ในปี 1947 ในสีน้ำเงิน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 6 ซึ่งกว่าครึ่งมี JNF และ PICA เป็นเจ้าของ ประชากรยิวเพิ่มขึ้นจาก 83,790 คนในปี 1922 เป็น 608,000 คนในปี 1946
1949–1967 (จริง): ดินแดนเวสต์แบงก์ที่ถูกจอร์แดนยึดครอง (สีเขียวอ่อน) และฉนวนกาซาที่อียิปต์ยึดครอง (สีเขียวแก่) หลังสงครามอาหรับ–อิสราเอลปี 1948 แสดงเส้นหยุดยิงปี 1949
1967–1994: ระหว่างสงครามหกวัน อิสราเอลยึดเวสต์แบงก์ ฉนวนกาซาและที่สูงโกลัน ร่วมกับคาบสมุทรไซนาย (ซึ่งยกให้อียิปต์เพื่อแลกกับสนธิสัญญาสันติภาพหลังสงครามยมคิปปูร์) ในปี 1980–81 อิสราเอลยึดครองเยรูซาเล็มตะวันออกและที่สูงโกลัน การยึดครองของอิสราเอลและการอ้างสิทธิ์ของปาเลสไตน์ซึ่งเยรูซาเล็มตะวันออกนั้นไม่ได้รับการรับรองจากนานาประเทศทั้งสองฝ่าย
1994–2005: ภายใต้ข้อตกลงกรุงออสโล มีการตั้งองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์เพื่อเป็นรัฐบาลพลเรือนในเขตเมืองจำนวนหนึ่งในเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา
2005–ปัจจุบัน: หลังอิสราเอลถอนตัวจากกาซาและการปะทะระหว่างพรรคการเมืองปาเลสไตน์สองพรรคใหญ่หลังฮามาสชนะการเลือกตั้งปี 2006 ทำให้รัฐบาลทั้งสองแยกขาดจากกันในฉนวนกาซาและเวสต์แบงก์