แม่น้ำเกอเริช (ฮังการี: Körös, ออกเสียง: [ˈkørøʃ]) หรือ แม่น้ำกริช (โรมาเนีย: Criș) เป็นแม่น้ำในฮังการีตะวันออกและโรมาเนียตะวันตก มีความยาว 128.6 กม. (79.9 ไมล์) เริ่มจากจุดบรรจบของแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำแฟเฮร์-เกอเริช (แม่น้ำกรีชุลอัลบ์) และแม่น้ำแฟแกแต-เกอเริช (แม่น้ำกรีชุลเนกรู) ไหลออกสู่แม่น้ำติซอ พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำนี้คือ 27,537 ตารางกิโลเมตร (10,632 ตารางไมล์) แม่น้ำเกอเริชมีแม่น้ำที่เป็นต้นน้ำอยู่สามสาย ได้แก่ แม่น้ำเฟเฮร์-เกอเริช แม่น้ำแฟแกแต-เกอเริช และแม่น้ำแชแบ็ช-เกอเริช (แม่น้ำกรีชุลเรเปเด) ทั้งหมดกำเนิดในเขตภูเขาอาปูเซน ที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติอาปูเซนในเขตทรานซิลเวเนีย ประเทศโรมาเนีย[1]

แม่น้ำเกอเริช
แม่น้ำกริช
The Körös near Kunszentmárton
ที่ตั้ง
ประเทศฮังการี, โรมาเนีย
CountiesBékés, Jász-Nagykun-Szolnok, Csongrád
Townsเบเกช, Szarvas
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำConfluence of headwaters Crișul Alb and Crișul Negru
 • ตำแหน่งnear Gyula
 • พิกัด46°42′1″N 21°16′9″E / 46.70028°N 21.26917°E / 46.70028; 21.26917
 • ระดับความสูง85 m (279 ft)
ปากน้ำTisza
 • ตำแหน่ง
near Csongrád
 • พิกัด
46°43′2″N 20°11′18″E / 46.71722°N 20.18833°E / 46.71722; 20.18833
 • ระดับความสูง
80 m (260 ft)
ความยาว128.6 km (79.9 mi)
พื้นที่ลุ่มน้ำ27,537 km2 (10,632 sq mi)
อัตราการไหล 
 • เฉลี่ย100 m3/s (3,500 cu ft/s)
ลุ่มน้ำ
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายCrișul Alb (Fehér-Körös), Crișul Negru (Fekete-Körös)
 • ขวาCrișul Repede (Sebes-Körös)
Progressionแม่แบบ:PTisza

สถานที่ที่แม่น้ำแฟเฮร์-เกอเริชและแม่น้ำแฟแกแต-เกอเริชมาบรรจบกัน อยู่ใกล้กับเมืองจูลอ เทศมณฑลเบเกช ประเทศฮังการี สายน้ำที่ไหลมาจากเมืองจูลอ เรียกกันว่า แม่น้ำแก็ตเติช-เกอเริช (แปลว่า "เกอเริชคู่" ในภาษาฮังการี) และสถานที่แม่น้ำแชแบ็ช-เกอเริชมาบรรจบกันอยู่ใกล้เมืองโจมอแอ็นเดริด ห่างจากจุดที่แม่น้ำสองสายแรกบรรจบกันออกไป 37.7 กม. ใต้ลงไปจากจุดที่แม่น้ำสามสายมารวมกัน เรียกกันว่า แม่น้ำฮาร์ม็อช-เกอเริช (แปลว่า "เกอเริชสาม" ในภาษาฮังการี) แม่น้ำเกอเริชไหลรวมเข้ากับแม่น้ำติซอ หนึ่งในแม่น้ำสายหลักของประเทศฮังการี ใกล้กับเมืองโชงกราด เทศมณฑลโชงกราด-ชอนาด ประเทศฮังการี[2]

อ้างอิง

แก้
  1. "Czucor Gergely és Fogarasi János (1865): A magyar nyelv szótára. Harmadik kötet. Pest. (Körös (2) szócikk)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-09. สืบค้นเมื่อ 2017-02-14.
  2. Analysis of the Tisza River Basin 2007, IPCDR