แผ่นเอ็มบริโอ (อังกฤษ: embryonic disc หรือ embryonic disk) ก่อตัวขึ้นมาเป็นพื้นของช่องในถุงน้ำคร่ำ (amniotic cavity) ประกอบขึ้นจากการเรียงตัวเป็นชั้น ๆ ของเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์ม เจริญมาจากมวลเซลล์ชั้นใน (inner cell mass) ทอดตัวไปตามแนวของเนื้อเยื่อเอนโดเดิร์ม

แผ่นเอ็มบริโอ
ภาคตัดขวางแผ่นเอ็มบริโอของค้างคาว Vespertilio murinus
พื้นผิวด้านบนของเอ็มบริโอกระต่าย arg. แผ่นเอ็มบริโอ pr. พริมิทีฟสตรีก
รายละเอียด
ระยะคาร์เนกี4
คัพภกรรมเอ็กโทเดิร์ม
ตัวระบุ
ภาษาละตินdiscus embryonicus
TETerminologia Embryologica {{{2}}}.html EE2.0.1.2.0.0.14 .{{{2}}}{{{3}}}
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ในมนุษย์ ขั้นตอนนี้เกิดขั้นหลังจากการฝังตัวของบลาสโทซิสต์ และเกิดก่อนที่จะมีการพับตัวของเอ็มบริโอ (พบได้ระหว่างวันที่ 14 ถึง 21 หลังจากการปฏิสนธิ) แผ่นเอ็มบริโอเจริญมาจากชั้นเอพิบลาสต์ (epiblast) ที่อยู่ระหว่างชั้นไฮโพบลาสต์ (hypoblast) และถุงน้ำคร่ำ[1] โดยชั้นเอพิบลาสต์เจริญมาจากมวลเซลล์ชั้นใน[2] แผ่นเอมบริโอที่แต่เดิมมีเนื้อเยื่ออยู่สองชั้นจะกลายมาเป็นสามชั้นผ่านกระบวนการแกสทรูเลชัน (gastrulation) หลังจากนี้จะเกิดโนโทคอร์ดตามมา ซึ่งโนโทคอร์ดนี้จะเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างท่อประสาท (neural tube) ขึ้นในตัวเอ็มบริโอ ผ่านกระบวนการนิวรูเลชัน (neurulation)

อ้างอิง แก้

  บทความนี้รวมเอาข้อความซึ่งเป็นสาธารณสมบัติจากหน้าที่ 47 ของหนังสือเกรย์อนาโตมีฉบับพิมพ์ครั้งที่ 20 (ค.ศ. 1918 )

  1. Tan, Wen-Hann; Gilmore, Edward C.; Baris, Hagit N. (2013-01-01), Rimoin, David; Pyeritz, Reed; Korf, Bruce (บ.ก.), "Chapter 15 - Human Developmental Genetics", Emery and Rimoin's Principles and Practice of Medical Genetics (ภาษาอังกฤษ), Oxford: Academic Press, pp. 1–63, doi:10.1016/b978-0-12-383834-6.00018-5, ISBN 978-0-12-383834-6, สืบค้นเมื่อ 2020-11-13
  2. Neidhart, Michel (2016-01-01), Neidhart, Michel (บ.ก.), "Chapter 13 - DNA Methylation and Development", DNA Methylation and Complex Human Disease (ภาษาอังกฤษ), Oxford: Academic Press, pp. 229–240, doi:10.1016/b978-0-12-420194-1.00013-0, ISBN 978-0-12-420194-1, สืบค้นเมื่อ 2020-11-13

แหล่งข้อมูลอื่น แก้