แบล็กไลฟส์แมตเทอร์
แบล็กไลฟส์แมตเทอร์ (อังกฤษ: Black Lives Matter, แปลตรงตัว 'ชีวิตคนดำ[ก็]มีความหมาย', ย่อ: BLM) เป็นขบวนการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กำเนิดขึ้นในชุมชนชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา ซึ่งรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงและคตินิยมเชื้อชาติอย่างเป็นระบบต่อคนดำ BLM จัดการประท้วงต่อการฆ่าคนดำของตำรวจอยู่เป็นนิจ ซึ่งรวมถึงปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นอย่างการกำหนดตัวผู้ต้องสงสัยด้วยเชื้อชาติ (racial profiling), การใช้ความรุนแรงของตำรวจ และความไม่เสมอภาคในระบบยุติธรรมทางอาญาของสหรัฐ[1]
โลโก้ที่มักใช้ในการเคลื่อนไหวแบล็กไลฟส์แมตเทอร์ | |
วันที่ | 2013–ปัจจุบัน |
---|---|
ที่ตั้ง | หลายประเทศ (ส่วนใหญ่ในสหรัฐ) |
ชื่ออื่น |
|
สาเหตุ | การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติต่อคนผิวดำและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ |
เหตุจูงใจ | การต่อต้านคตินิยมเชื้อชาติ |
ผล |
|
ในปี 2556 ขบวนการเริ่มต้นจากการใช้แฮชแท็ก #BlackLivesMatter บนสื่อสังคมหลังการตัดสินปล่อยตัวจำเลย จอร์จ ซิมเมอร์มัน ในเหตุยิงเทรย์วอน มาร์ติน วัยรุ่นอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา เสียชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ขบวนการดังกล่าวมีชื่อเสียงระดับประเทศจากการเดินขบวนบนถนนหลังการเสียชีวิตของอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาสองคนในปี 2557 ได้แก่ ไมเคล บราวน์ ซึ่งทำให้เกิดการประท้วงและความไม่สงบในเฟอร์กูสัน และเอริก การ์เนอร์ ในนครนิวยอร์ก[2][3] นับแต่การประท้วงที่เฟอร์กูสัน ผู้เข้าร่วมขบวนการยังเดินขบวนต่อการเสียชีวิตของอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาอีกหลายคนจากการกระทำของตำรวจหรือขณะอยู่ในการควบคุมตัวของตำรวจ ในฤดูร้อน 2558 นักกิจกรรมแบล็กไลฟส์แมตเทอร์พัวพันกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2559[4] ผู้ริเริ่มแฮชแท็กและเรียกร้องให้ดำเนินการได้ขยายโครงการเป็นเครือข่ายทั่วประเทศโดยมีสาขาท้องถิ่นกว่า 30 แห่งระหว่างปี 2557 ถึง 2559[5] กระนั้น ขบวนการแบล็กไลฟส์แมตเทอร์ในภาพรวมเป็นเครือข่ายที่กระจายอำนาจและไม่มีลำดับบังคับบัญชาอย่างเป็นทางการ[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ Friedersdorf, Conor. "Distinguishing Between Antifa, ...." The Atlantic. August 31, 2017. August 31, 2017.
- ↑ Day, Elizabeth (July 19, 2015). "#BlackLivesMatter: the birth of a new civil rights movement". The Guardian. สืบค้นเมื่อ December 18, 2016.
- ↑ Luibrand, Shannon (August 7, 2015). "Black Lives Matter: How the events in Ferguson sparked a movement in America". CBS News. สืบค้นเมื่อ December 18, 2016.
- ↑ Eligon, John (November 18, 2015). "One Slogan, Many Methods: Black Lives Matter Enters Politics". The New York Times. สืบค้นเมื่อ December 18, 2016.
- ↑ Cullors-Brignac, Patrisse Marie (February 23, 2016). "We didn't start a movement. We started a network". Medium. สืบค้นเมื่อ December 18, 2016.
- ↑ Collins, Ben; Mak, Tim (August 15, 2015). "Who Really Runs #BlackLivesMatter?". The Daily Beast. สืบค้นเมื่อ December 18, 2016.