เอ็นเอชเค โคฮากุอูตะกัซเซ็ง

เอ็นเอชเค โคฮากุอูตะกัสเซ็ง (ญี่ปุ่น: NHK紅白歌合戦โรมาจิEnueichikei Kōhaku Uta Gassen; "การประชันเพลงแดงขาว"; อังกฤษ: NHK Red and White Song Battle[1]; ชื่อสั้น: โคฮากุ ญี่ปุ่น: 紅白โรมาจิKōhaku) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ งานขาวแดง เป็นรายการพิเศษประเภทเทศกาลดนตรี ที่ออกอากาศทางวิทยุและโทรทัศน์ในเครือข่ายเอ็นเอชเค ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เริ่มออกอากาศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1951 จนถึงปัจจุบัน[note 1] ซึ่งถือเป็นรายการประจำปีที่ออกอากาศยาวนานที่สุดในวงการวิทยุและวงการโทรทัศน์ญี่ปุ่น โดยจัดขึ้นทุกวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี และสิ้นสุดก่อนเที่ยงคืนของวันนั้น

เอ็นเอชเค โคฮากุอูตะกัซเซ็ง
ตราสัญลักษณ์รายการ (ตั้งแต่ครั้งที่ 72 (2021))
ประเภทเทศกาลดนตรี
การแสดงคอนเสิร์ตทางโทรทัศน์
พิธีกรดูด้านล่าง
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดคังโปอิโนะอูตะ (เมนสไตน์ซอง) (1951–1981, 1995-1987, 1989, 1996, 1997)
อูตะโนะชิการะ (2009–2010)
ดนตรีแก่นเรื่องปิดโฮตารุโนะฮิการิ
ประเทศแหล่งกำเนิดธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภาษาต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น
จำนวนตอน72 ครั้ง
การผลิต
สถานที่ถ่ายทำโรงละครโตเกียวทาการาซูกะ (1959–1972)
เอ็นเอชเคฮอลล์ (1973–2020; 2022–)
ศูนย์การประชุมนานาชาติโตเกียว (2021)
ความยาวตอน210 นาที (รวมข่าวสั้น 5 นาที)
ออกอากาศ
เครือข่ายเอ็นเอชเค จี, เรดิโอ 1, บีเอส 4 เค, บีเอส 8 เค, เวิลด์พรีเมียม, เรดิโอเจแปน
ออกอากาศ3 มกราคม ค.ศ. 1951 (1951-01-03) –
ปัจจุบัน

ในแต่ละปี รายการจะเชิญนักร้องในวงการเพลงของญี่ปุ่นมาร่วมรายการไว้จำนวนมาก โดยจะแบ่งเป็น 2 ทีม คือทีมสีแดง (ญี่ปุ่น: 紅組โรมาจิAkagumiทับศัพท์: อากากูมิ) แทนทีมนักร้องฝ่ายหญิง และทีมสีขาว (ญี่ปุ่น: 白組โรมาจิShirogumiทับศัพท์: ชิโรกูมิ) แทนทีมนักร้องฝ่ายชาย โดยจะต้องแข่งขันร้องเพลงของตน และเมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลง จะมีการลงคะแนนตัดสินว่าทีมสีใดทำโชว์ได้ดีที่สุด โดยตัดสินมาจากคณะกรรมการที่เชิญมาจากหลากหลายสาขาอาชีพ และผู้ชมในการแสดงที่ติดต่อขอรับบัตรจากการลงทะเบียนของเอ็นเอชเค (ภายหลังได้เพิ่มการโหวตจากผู้ชมทางบ้านผ่านหน้าจอโทรทัศน์, ระบบ 1-Seg และผ่านแอพพลิเคชันที่จัดทำไว้โดยเฉพาะ) ทีมที่มีคะแนนสูงสุดจะเป็นทีมที่ชนะ แต่ถึงไม่ว่าทีมสีใดจะเป็นทีมที่ชนะในแต่ละปี การเข้าร่วมรายการนี้ถือว่าเป็นเกียรติสูงสุดของตัวนักร้องเอง

ในทุกๆ ปี รายการมักจะมีผู้ชมทั่วญี่ปุ่น ตลอดจนสื่อฝั่งตรงข้ามให้ความสนใจกับรายการนี้ โดยระดับผู้ชม (เรตติง) สูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 81.4 (ครั้งที่ 14) และยังเป็นอันดับหนึ่งของรายการโทรทัศน์ที่มีเรตติ้งสูงที่สุดในหลาย ๆ ปี ที่ผ่านมา รายการนี้จึงถือเป็นธรรมเนียมในวันสิ้นปีของชาวญี่ปุ่น

ในปี ค.ศ. 2021 มีรายงานว่าจะย้ายการจัดรายการที่ ฮอลล์เอ ศูนย์การประชุมนานาชาติโตเกียว เนื่องจากการปิดปรับปรุงของเอ็นเอชเคฮอลล์[2] ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 49 ปีที่ย้ายสถานที่การจัดรายการภายหลังเอ็นเอชเคฮอลล์เปิดทำการเมื่อปี ค.ศ. 1972 และได้ใช้เป็นสถานที่จัดงานตั้งแต่ครั้งที่ 23 เป็นต้นมา

ผลการแข่งขัน

แก้
ครั้งที่ วันที่ หัวหน้าทีมสีแดง หัวหน้าทีมสีขาว พิธีกรหลัก ทีมที่ชนะ สถิติ
ยุคโชวะ
1 3 มกราคม 1951 มิชิโกะ คาโต ชูอิจิ ฟูจิกูระ มาซาฮารุ ทานาเบะ สีขาว 1-0
2 3 มกราคม 1952 คิโยโกะ ทังเกะ ชูอิจิ ฟูจิกูระ มาซาฮารุ ทานาเบะ สีขาว 2-0
3 2 มกราคม 1953 ซูกะ ฮอนดะ เทรุ มิยาตะ มาซาโยริ ชิมูระ สีขาว 3-0
4 31 ธันวาคม 1953 ทากิโกะ มิซูโนเอะ เกโซะ ทากาฮาชิ เซโกโระ คิตาเดะ สีแดง 3-1
5 31 ธันวาคม 1954 นัตสึเอะ ฟูกูจิ เกโซะ ทากาฮาชิ โชซาบูโร อิชิอิ สีแดง 3-2
6 31 ธันวาคม 1955 เทรุ มิยาตะ เกโซะ ทากาฮาชิ โชซาบูโร อิชิอิ สีแดง 3-3
7 31 ธันวาคม 1956 เทรุ มิยาตะ เกโซะ ทากาฮาชิ โชซาบูโร อิชิอิ สีขาว 4-3
8 31 ธันวาคม 1957 ทากิโกะ มิซูโนเอะ เกโซะ ทากาฮาชิ โชซาบูโร อิชิอิ สีแดง 4-4
9 31 ธันวาคม 1958 เท็ตสึโกะ คูโรยานากิ เกโซะ ทากาฮาชิ โชซาบูโร อิชิอิ สีแดง 4-5
10 31 ธันวาคม 1959 เมโกะ นากามูระ เกโซะ ทากาฮาชิ โชซาบูโร อิชิอิ สีแดง 4-6
11 31 ธันวาคม 1960 เมโกะ นากามูระ เกโซะ ทากาฮาชิ โชซาบูโร อิชิอิ สีขาว 5-6
12 31 ธันวาคม 1961 เมโกะ นากามูระ เกโซะ ทากาฮาชิ โทชิอากิ โฮซากะ สีขาว 6-6
13 31 ธันวาคม 1962 มิตสึโกะ โมริ เทรุ มิยาตะ โชซาบูโร อิชิอิ สีขาว 7-6
14 31 ธันวาคม 1963 เอริ ชิเอมิ เทรุ มิยาตะ โชซาบูโร อิชิอิ สีแดง 7-7
15 31 ธันวาคม 1964 เอริ ชิเอมิ เทรุ มิยาตะ โชซาบูโร อิชิอิ สีขาว 8-7
16 31 ธันวาคม 1965 มิจิโกะ ฮายาชิ เทรุ มิยาตะ โชซาบูโร อิชิอิ สีขาว 9-7
17 31 ธันวาคม 1966 เพกกี้ ฮายามะ เทรุ มิยาตะ โชซาบูโร อิชิอิ สีแดง 9-8
18 31 ธันวาคม 1967 ยูมิโกะ โคโกโนเอะ เทรุ มิยาตะ โชซาบูโร อิชิอิ สีแดง 9-9
19 31 ธันวาคม 1968 คิโยโกะ ซูยเซ็นจิ คิว ซากาโมโตะ เทรุ มิยาตะ สีขาว 10-9
20 31 ธันวาคม 1969 ยูการิ อิโต คิว ซากาโมโตะ เทรุ มิยาตะ สีแดง 10-10
21 31 ธันวาคม 1970 ฮิบาริ มิโซระ เทรุ มิยาตะ ชิซูโอะ ยามากาวะ สีแดง 10-11
22 31 ธันวาคม 1971 คิโยโกะ ซูยเซ็นจิ เทรุ มิยาตะ ชิซูโอะ ยามากาวะ สีขาว 11-11
23 31 ธันวาคม 1972 นาโอมิ ซาการะ เทรุ มิยาตะ ชิซูโอะ ยามากาวะ สีแดง 11-12
24 31 ธันวาคม 1973 คิโยโกะ ซูยเซ็นจิ เทรุ มิยาตะ ชิซูโอะ ยามากาวะ สีแดง 11-13
25 31 ธันวาคม 1974 นาโอมิ ซาการะ ชิซูโอะ ยามากาวะ มาซาโอะ โดมอน และ โยโซ นากาเอะ สีแดง 11-14
26 31 ธันวาคม 1975 นาโอมิ ซาการะ ชิซูโอะ ยามากาวะ ฮิโรชิ ไอกาวะ สีขาว 12-14
27 31 ธันวาคม 1976 นาโอมิ ซาการะ ชิซูโอะ ยามากาวะ ฮิโรชิ ไอกาวะ สีแดง 12-15
28 31 ธันวาคม 1977 นาโอมิ ซาการะ ชิซูโอะ ยามากาวะ ฮิโรชิ ไอกาวะ สีขาว 13-15
29 31 ธันวาคม 1978 มิตสึโกะ โมริ ชิซูโอะ ยามากาวะ ฮิโรชิ ไอกาวะ สีขาว 14-15
30 31 ธันวาคม 1979 คิโยโกะ ซูยเซ็นจิ ชิซูโอะ ยามากาวะ โยโซ นากาเอะ สีแดง 14-16
31 31 ธันวาคม 1980 เท็ตสึโกะ คูโรยานากิ ชิซูโอะ ยามากาวะ โยโซ นากาเอะ สีแดง 14-17
32 31 ธันวาคม 1981 เท็ตสึโกะ คูโรยานากิ ชิซูโอะ ยามากาวะ เคอิจิ อูบูกาตะ สีขาว 15-17
33 31 ธันวาคม 1982 เท็ตสึโกะ คูโรยานากิ ชิซูโอะ ยามากาวะ เคอิจิ อูบูกาตะ สีแดง 15-18
34 31 ธันวาคม 1983 เท็ตสึโกะ คูโรยานากิ เคนจิ ซูซูกิ ทาโมริ สีขาว 16-18
35 31 ธันวาคม 1984 มิตสึโกะ โมริ เคนจิ ซูซูกิ เคอิจิ อูบูกาตะ สีแดง 16-19
36 31 ธันวาคม 1985 มาซาโกะ โมริ เคนจิ ซูซูกิ มาซาโฮะ เซ็นดะ สีแดง 16-20
37 31 ธันวาคม 1986 ยูกิ ไซโต และ ยูริโกะ เมกาตะ โยโซ คายามะ และ มาซาโอะ เซ็นดะ เซอิจิ โยชิกาวะ สีขาว 17-20
38 31 ธันวาคม 1987 อากิโกะ วาดะ โยโซ คายามะ เซอิจิ โยชิกาวะ สีแดง 17-21
39 31 ธันวาคม 1988 อากิโกะ วาดะ โยโซ คายามะ เคโกะ ซูกิอูระ สีขาว 18-21
ยุคเฮเซ
40 31 ธันวาคม 1989 โยชิโกะ มิตะ เทตสึยะ ทาเกดะ ซาดาโตโมะ มัตสึไดระ สีแดง 18-22
41 31 ธันวาคม 1990 โยชิโกะ มิตะ โทชิยูกิ นิชิดะ ซาดาโตโมะ มัตสึไดระ สีขาว 19-22
42 31 ธันวาคม 1991 ยูโกะ อาซาโนะ มาซากิ ซาไก ชิซูโอะ ยามากาวะ สีแดง 19-23
43 31 ธันวาคม 1992 ฮิการิ อิชิดะ มาซากิ ซาไก ชิซูโอะ ยามากาวะ สีขาว 20-23
44 31 ธันวาคม 1993 ฮิการิ อิชิดะ มาซากิ ซาไก มิยูกิ โมริตะ สีขาว 21-23
45 31 ธันวาคม 1994 เอมิโกะ คามินูมะ อิจิโร ฟูรูตาจิ ยาซาโอะ มิยากาวะ สีแดง 21-24
46 31 ธันวาคม 1995 เอมิโกะ คามินูมะ อิจิโร ฟูรูตาจิ รีวจิ มิยาโมโตะ และ มิตสึโยะ คูซาโนะ สีขาว 22-24
47 31 ธันวาคม 1996 ทากาโกะ มัตสึ อิจิโร ฟูรูตาจิ รีวจิ มิยาโมโตะ และ มิตสึโยะ คูซาโนะ สีขาว 23-24
48 31 ธันวาคม 1997 อากิโกะ วาดะ มาซาฮิโระ นาไก รีวจิ มิยาโมโตะ สีขาว 24-24
49 31 ธันวาคม 1998 จุนโกะ คูโบะ มาซาฮิโระ นาไก รีวจิ มิยาโมโตะ สีแดง 24-25
50 31 ธันวาคม 1999 จุนโกะ คูโบะ นากามูระ คันกูโร (ที่สิบแปด) รีวจิ มิยาโมโตะ สีขาว 25-25
51 31 ธันวาคม 2000 จุนโกะ คูโบะ โมโตยะ อิซูมิ รีวจิ มิยาโมโตะ สีแดง 25-26
52 31 ธันวาคม 2001 ยูมิโกะ อูโด วาตารุ อาเบะ ทามิโอะ มิยาเกะ สีขาว 26-26
53 31 ธันวาคม 2002 ยูมิโกะ อูโด วาตารุ อาเบะ ทามิโอะ มิยาเกะ สีแดง 26-27
54 31 ธันวาคม 2003 ยูมิโกะ อูโด และ ทากาโกะ เซ็นบะ วาตารุ อาเบะ และ เทตสึยะ ทากายามะ โทโกะ ทาเกอูจิ สีขาว 27-27
55 31 ธันวาคม 2004 ฟูมิเอะ โอโนะ วาตารุ อาเบะ มาซาอากิ โฮริโอะ สีแดง 27-28
56 31 ธันวาคม 2005 ยูกิเอะ นากามะ โคจิ ยามาโมโตะ มิโนะ มอนตะ และ โมโตโยะ ยามาเนะ สีขาว 28-28
57 31 ธันวาคม 2006 ยูกิเอะ นากามะ มาซาฮิโระ นาไก ทามิโอะ มิยาเกะ และ เมกูมิ คูโรซากิ สีขาว 29-28
58 31 ธันวาคม 2007 มาซาฮิโระ นาไก โชฟูกูเต สึรูเบะ (ที่สอง) คาซูยะ มัตสึโมโตะ และ มิกิ ซูมิโยชิ สีขาว 30-28
59 31 ธันวาคม 2008 ยูกิเอะ นากามะ มาซาฮิโระ นาไก คาซูยะ มัตสึโมโตะ สีขาว 31-28
60 31 ธันวาคม 2009 ยูกิเอะ นากามะ มาซาฮิโระ นาไก วาตารุ อาเบะ สีขาว 32-28
61 31 ธันวาคม 2010 นาโอะ มัตสึชิตะ อาราชิ วาตารุ อาเบะ สีขาว 33-28
62 31 ธันวาคม 2011 มาโอะ อิโนอูเอะ อาราชิ วาตารุ อาเบะ สีแดง 33-29
63 31 ธันวาคม 2012 มากิ ฮิโรกิตะ อาราชิ ยูมิโกะ อูโด สีขาว 34-29
64 31 ธันวาคม 2013 ฮารูกะ อายาเซะ อาราชิ ยูมิโกะ อูโด สีขาว 35-29
65 31 ธันวาคม 2014 ยูริโกะ โยชิตากะ อาราชิ ยูมิโกะ อูโด สีขาว 36-29
66 31 ธันวาคม 2015 ฮารูกะ อายาเซะ โยชิฮิโกะ อิโนฮาระ เทตสึโกะ คูโระยานากิ สีแดง 36-30
67 31 ธันวาคม 2016 คาซูมิ อาริมูระ มาซากิ ไอบะ ชินอิจิ ทาเกดะ สีแดง 36-31
68 31 ธันวาคม 2017 คาซูมิ อาริมูระ คาซูนาริ นิโนมิยะ เทรูโยชิ อูจิมูระ และ มาโฮะ คูวาโกะ สีขาว 37-31
69 31 ธันวาคม 2018 ซูซุ ฮิโรเซะ โช ซากูไร เทรูโยชิ อูจิมูระ และ มาโฮะ คูวาโกะ สีขาว 38-31
ยุคเรวะ
70 31 ธันวาคม 2019 ฮารูกะ อายาเซะ โช ซากูไร เทรูโยชิ อูจิมูระ และ มายูโกะ วากูดะ สีขาว 39-31
71 31 ธันวาคม 2020 ฟูมิ นิไกโด โย โออิซูมิ เทรูโยชิ อูจิมูระ และ มาโฮะ คูวาโกะ สีแดง 39-32
72 31 ธันวาคม 2021
โย โออิซูมิ, ฮารูนะ คาวากูจิ และมายูโกะ วากูดะ[note 2]
สีแดง 39-33
73 31 ธันวาคม 2022
โย โออิซูมิ, คันนะ ฮาชิโมโตะ, โช ซากูไร และมาโฮะ คูวาโกะ[3]
สีขาว 40-33
74 31 ธันวาคม 2023
คันนะ ฮาชิโมโตะ, ฮิโรอิกิ อาริโยชิ, มินามิ ฮามาเบะ และโกโซ ทากาเซะ
สีแดง 40-34

เชิงอรรถ

แก้
  1. การออกอากาศทางโทรทัศน์เริ่มตั้งแต่ครั้งที่ 4 เมื่อปี ค.ศ. 1953
  2. ยกเลิกหัวหน้าทีมและรวมเป็นตำแหน่งผู้ดำเนินรายการ

อ้างอิง

แก้
  1. Smith, Alyssa I. (November 16, 2017). "Twice and Daichi Miura among 10 debuts at this year's 'Kohaku'". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ September 13, 2018.
  2. "NHK紅白歌合戦、2年ぶり有観客開催 会場は東京国際フォーラム". อาซาฮิชิมบุง. 2021-10-07. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
  3. "『第73回NHK紅白歌合戦』司会に大泉洋&橋本環奈&櫻井翔&桑子真帆アナ 今年のテーマも発表【司会コメントあり】". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 10, 2022. สืบค้นเมื่อ October 10, 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้