เอสทีจี 45 (เอ็ม) (ตัวย่อของ สตอมเกแวร์ 45,หรือ "ไรเฟิลจู่โจมแบบ 45") บางครั้งเรียกว่า เอ็มพี 45 (เอ็ม) เป็นปืนไรเฟิลจู่โจมต้นแบบที่พัฒนาโดยเมาเซอร์ สำหรับกองทัพแวร์มัคท์ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง โดยใช้ ระบบปฏิบัติการสะท้อนถอยหลังขัดกลอนลูกกลิ้งซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ขณะนั้น ซึ่งภายหลังระบบนี้ถูกนำมาใช้เป็นระบบทำงานปืนที่มีชื่อเสียงอย่างเอ็มพี 5 และจี 3 มันยิงกระสุนกลางขนาด 7.92×33 มม. Kurz (หรือ "Pistolenpatrone 7.9 มม.") ที่อัตราการยิงประมาณ 450 นัดต่อนาที

สตอมเกแวร์ 45
ชนิดปืนเล็กยาวจู่โจม
แหล่งกำเนิดนาซีเยอรมัน
บทบาท
ประจำการMay 1945[ต้องการอ้างอิง]
ผู้ใช้งานเยอรมัน
สงครามสงครามโลกครั้งที่ 2
ประวัติการผลิต
ผู้ออกแบบWilhelm Stähle
ช่วงการออกแบบ1944
บริษัทผู้ผลิตMauser[1]
ช่วงการผลิต1945[1]
จำนวนที่ผลิต30[ต้องการอ้างอิง]
ข้อมูลจำเพาะ
มวล4 กก.[convert: %s]%s (ซองเปล่า)[1]
ความยาว900 มิลลิเมตร[convert: %s]%s[1]
ความยาวลำกล้อง400 มิลลิเมตร[convert: %s]%s[1]

กระสุน7.92×33มม. เคิรส์ (Pistolenpatrone 7.9mm M43)[1]
การทำงานแรงสะท้อนถอยหลังขัดกลอนลูกกลิ้ง[1]
อัตราการยิง≈450 นัด/นาที[1]
ความเร็วปากกระบอก≈650 เมตร/วินาที[convert: %s]%s[1]
ระยะหวังผล300 เมตร
พิสัยไกลสุด800 เมตร[1]
ระบบป้อนกระสุน10 or 30-นัด detachable box magazine
ศูนย์เล็งRear: V-notch; front: hooded post

ประวัติ

แก้

ต้นกำเนิดของปืนไรเฟิลนี้สามารถสืบย้อนไปถึงปีสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อวิศวกรของ Mauser ที่ Light Weapon Development Group (Abteilung 37) ที่ Oberndorf am Neckar ออกแบบปืน MKb Gerät 06 (Maschinenkarabiner Gerät 06 หรือ "machine carbine instrument 06" ) ไรเฟิลจู่โจมต้นแบบซึ่งใช้กระสุนขนาดกลาง Kurz 7.92×33 มม. ครั้งแรกกับรุ่น Gerät 06 โดยใช้กลไกกลอนแบบลูกกลิ้งที่ใช้กับระบบแก๊ส ซึ่งต่างจากแบบใช้แรงสะท้อนถอยหลัง แต่เดิมระบบได้ดัดแปลงมาจากปืนกลเอ็มจี 42 แต่ด้วยลำกล้องปืนแบบนิ่งยึดติดกับโครงและใช้ก้านลูกสูบแก๊สแบบธรรมดา หลังจากได้สังเกตอาการกระดอนของลูกเลื่อนตามแนวแรงยิงของกลอนลูกกลิ้งปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติต้นแบบของ Gerät 03 ดร.คาร์ล เมเยอร์ หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ของเมาเซอร์ในขณะนั้น ตระหนักว่า ด้วยลักษณะรูปแบบทางกล อาจต้องยกเลิกระบบแก๊ส และให้กำเนิด Gerät 06H (คำต่อท้าย "H" เป็นตัวย่อของ halbverriegelt หรือ "half-locked") ถูกกำหนดให้เป็น เอสทีจี 45(เอ็ม) (Sturmgewehr 45(M))

แม้ว่าระบบทำงานจะดูเหมือนจะเรียบง่าย แต่การพัฒนาระบบปฏิบัติการของอาวุธปืนแบบสะท้อนถอยหลังขัดกลอนด้วยลูกกลิ้ง(Roller Delay Blowback)นั้นต้องใช้ความพยายามด้านเทคนิคและหาผู้เชี่ยวชาญที่ยาก เนื่องจากวิศวกรชาวเยอรมัน คณิตศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ต้องทำงานร่วมกันบนพื้นฐานที่เหมือนและแตกต่าง นำโดย Ott-Helmuth von Lossnitzer ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยอาวุธ Mauser Werke และกลุ่มนักพัฒนาอาวุธ การทดลองแสดงให้เห็นว่าระบบสะท้อนถอยหลังขัดกลอนด้วยลูกกลิ้งมีการกระดอนของลูกเลื่อน ในการจะต้านการกระดอนลูกเลื่อน ต้องหาตัวเลือกมุมที่สมบูรณ์แบบบนจมูกของหัวลูกเลื่อน นักคณิตศาสตร์ ดร. Karl Maier ได้จัดเตรียมการวิเคราะห์ ส่วนประกอบต่างๆ ในโครงการพัฒนา ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1943 Maier ได้คิดค้นสมการที่วิศวกรใช้ในการเปลี่ยนมุมในห้องลูกเลื่อนเป็น 45 °และ 27 °บนชิ้นส่วนล็อคที่สัมพันธ์กับแกนตามยาวเพื่อแก้ปัญหาการกระดอนของลูกเลื่อน ด้วยมุมเหล่านี้ อัตราส่วนการส่งผ่านแรงทางเรขาคณิตของโครงนำลูกเลื่อนไปยังหัวลูกเลื่อนจึงกลายเป็น 3:1 โครงนำลูกเลื่อนที่อยู่ด้านหลังจึงถูกบังคับให้เคลื่อนที่เร็วกว่าหัวลูกเลื่อนสามเท่า แรงด้านหลังบนโครงนำลูกเลื่อนและห้องลูกเลื่อนคือ 2:1 แรงและแรงผลักที่ส่งไปยังห้องลูกเลื่อนจะเพิ่มขึ้นตามแรงและแรงผลักที่ส่งไปยังโครงนำลูกเลื่อน การทำให้โครงนำลูกเลื่อนหนักขึ้นจะลดความเร็วการรีคอยล์ลง สำหรับโครงการ Mausers Gerät 06H/StG 45(M) Maier จะใช้หัวลูกเลื่อนขนาด 120 ก. และโครงนำลูกเลื่อน 360 ก. (อัตราส่วน 1 ถึง 3) อย่างไรก็ตาม การออกแบบต้องการให้ลูกเลื่อนเริ่มมีการเคลื่อนที่ในขณะที่กระสุนยังเคลื่อนที่คาอยู่ในลำกล้องปืนและขณะที่ปลอกที่อยู่ในรังเพลิงยังมีแรงดันเต็มที่อยู่ ซึ่งการใช้รังเพลิงแบบทั่วไปส่งผลให้มีการฉีกแยกส่วนจานท้ายของปลอกกระสุนระหว่างการทดสอบเนื่องจากปลอกขยายตัวนอกรังเพลิง ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยการเซาะช่องระบายก๊าซตามยาว 18 ร่องในรังเพลิง(Fluted chamber) ร่องเหล่านี้ที่ปลายของห้องรังเพลิงทำให้ก๊าซที่เผาไหม้บางส่วนไหลเข้ารังเพลิงลอยอยู่บริเวณคอและด้านหน้าของปลอกกระสุน ซึ่งจะทำให้แรงดันระหว่างพื้นผิวภายนอกกับภายในที่บริเวณด้านหน้าปลอกกระสุนมีขนาดเท่ากัน ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้ด้านหน้าปลอกกระสุนมีรอยไหม้เกรียมสีดำคล้ำเป็นเส้นตามยาวรอบปลอก ซึ่งกลายเป็นลักษณะเฉพาะสำหรับอาวุธขนาดเล็กที่ทำงานด้วยแรงสะท้อนถอยหลังขัดกลอนด้วยลูกกลิ้งในภายหลัง

อาวุธปืนแบบระบบแรงสะท้อนถอยหลังขัดกลอนหน่วงได้รับการจดสิทธิบัตรโดย Wilhelm Stähleและ Ludwig Vorgrimler ของ Mauser

เช่นเดียวกับปืนไรเฟิลต่อสู้/ปืนไรเฟิลอัตโนมัติ เอฟจี 42 ของเยอรมันและปืนไรเฟิลจู่โจม เอสทีจี 44 StG 45(M) เป็นหนึ่งในอาวุธปืนแบบอินไลน์รุ่นแรกที่มีการกำหนดแนวแรงรีคอยล์แบบ "ตรง" ซึ่งโครงสร้างนี้กำหนดให้ทั้งจุดศูนย์ถ่วงและตำแหน่งของพานท้ายไหล่เกือบอยู่ในแนวเดียวกับแนวแกนตามยาวของลำกล้องปืน ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เพิ่มการควบคุมได้โดยช่วยลดอาการกระดกของปากกระบอกปืนขณะยิงเป็นชุดหรือการยิงอัตโนมัติ แนวศูนย์เล็งที่อยู่สูงเหนือแนวลำกล้องยังถูกนำมาใช้ เนื่องจากช่วยขยายระยะเล็งหลายช่วง ซึ่งรูปแบบปัจจุบันสำหรับศูนย์เล็งที่สูงกว่าแนวลำกล้องและใช้กระสุนปืนขนาดกลางที่มีความเร็วสูงในปืนไรเฟิลจู่โจมนั้นเป็นส่วนหนึ่งเนื่องจากความปรารถนาที่จะขยายระยะเล็งหลายช่วง ซึ่งทำให้ปืนไรเฟิลดังกล่าวใช้งานง่ายขึ้น

เอสทีจี 45(เอ็ม) มีวัตถุประสงค์เพื่อแทนที่ปืนไรเฟิลจู่โจม เอสทีจี 44 เนื่องจากปืนไรเฟิลรุ่นนี้ค่อนข้างแพงและใช้เวลาในการผลิตนาน เมื่อเทียบกับต้นทุนของ เอสทีจี44 ราคาอยู่ที่ 70 ไรท์มาร์ค ต้นทุนที่คำนวณได้ของ เอสทีจี 45(เอ็ม) คือราคา 45 ไรท์มาร์ค อาวุธที่ใช้อย่างกว้างขวางเช่นเดียวกับ เอสทีจี 44 (สำหรับทศวรรษ 1940) ชิ้นส่วนจากเหล็กกดปั๊มเทคนิคขั้นสูง ซึ่งประหยัดต้นทุนมากกว่าชิ้นส่วนที่ผลิตด้วยเครื่องจักรแบบกลึง มีการผลิตชิ้นส่วนสำหรับปืนไรเฟิลครบชุดอยู่เพียง 30 กระบอกก่อนที่สงครามจะยุติลง เอสทีจี 45(เอ็ม) มีศูนย์เหล็กเหนือระดับแนวลำกล้องในส่วนหนึ่งเพื่อปรับระยะเล็งหลายช่วงเมื่อเปรียบเทียบกับกระสุนปืนไรเฟิลที่กำลังปานกลางอย่าง Kurz 7.92 × 33 มม.ที่ประสิทธิภาพเมื่อยิงออกไป และมีการจัดการกายภาพและแรงะท้อนที่เหมาะสม

อ้างอิง

แก้
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 Götz, Hans Dieter (1990). German Military Rifles and Machine Pistols. Atglen, Pennsylvania, United States of America: Schiffer Publishing. p. 220. ISBN 978-0-88740-264-7.