เหตุเพลิงไหม้โรงภาพยนตร์เร็กซ์

เหตุเพลิงไหม้โรงภาพยนตร์เร็กซ์ (เปอร์เซีย: آتش‌سوزی سینما رکس آبادان; อังกฤษ: Cinema Rex fire) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1978 เมื่อโรงภาพยนตร์เร็กซ์ (Cinema Rex) ในเมืองออบอดอน ประเทศอิหร่าน ถูกวางเพลิง เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตระหว่าง 377[1] ถึง 470 ราย[4] เหตุการณ์นี้ก่อโดยสมาชิกสี่คนของกองกำลังอิสลามหัวรุนแรง[2] ราดน้ำมันเครื่องบินรอบอาคาร จากนั้นจึงจุดไฟเผา[5] เหตุการณ์นี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 ซึ่งโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ของอิหร่าน และมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์รุนแรงไปทั่วอีกจำนวนมาก เหตุการณ์นี้ถือเป็นการก่อการร้ายครั้งที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์โลก กระทั่งปี 1990 ซึ่งเกิดการสังหารหมู่ตำรวจศรีลังกา

เหตุเพลิงไหม้โรงภาพยนตร์เร็กซ์
เป็นส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติอิหร่าน
เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพื้นที่ภายในโรงภาพยนตร์หลังเกิดเหตุ
ชื่อท้องถิ่นآتش‌سوزی سینما رکس آبادان
สถานที่ออบอดอน ประเทศอิหร่าน
วันที่19 สิงหาคม 1978
20:21 (IRST)
ประเภทการวางเพลิง, การฆาตกรรมหมู่, การก่อการร้าย
ตาย377–470 ราย[1]
ผู้ก่อเหตุกองกำลังอิลาม[2][1][3]
จำนวนก่อเหตุ4 คน

ราชวงศ์อิหร่านผู้ปกครองประเทศในเวลานั้นกล่าวโทษผู้ก่อเหตุว่าเป็นกลุ่ม "ลัทธิมากซ์อิสลาม" ในตอนแรก[6] ก่อนที่ต่อมาจะออกรายงานว่าเป็นกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง[7][8][9][10] ในขณะที่ผู้ประท้วงต่อต้านราชวงศ์กล่าวอ้างโทษตำรวจลับของอิหร่านซึ่งไม่เป็นความจริง[2][11][12] และแม้ว่าจะเป็นกองกำลังอิสลามที่เป็นผู้รับผิดชอบเหตุเพลิงไหม้นี้ แต่ฝั่งตรงข้ามของกลุ่มอิสลามก็ได้รับประโยชน์จากเหตุการณ์เช่นกันในแง่ของโฆษณาชวนเชื่อเนื่องจากสังคมในเวลานั้นเกิดความระหองระแหงขึ้น ชาวอิหร่านจำนวนมากในเวลานั้นหลงเชื่อในการให้ข้อมูลเท็จซึ่งยิ่งกระตุ้นให้เกิดแนวคิดต่อต้านกษัตริย์อิหร่านมากยิ่งขึ้น

เหตุการณ์

แก้

เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1978 ผู้คนหลายร้อยคนกำลังรับชมภาพยนตร์เรื่อง The Deer (Gavaznha) ในโรงภาพยนตร์เร็กซ์ (Cinema Rex) ในเมทองออบอดอน ประเทศอิหร่าน[13] กระทั่งเมื่อเวลา 20:21 ชายสี่คนทำการปิดกั้นประตูของโรงภาพยนตร์และทำการราดน้ำมันเครื่องจากกระป๋องจากนั้นจึงจุดไฟโดยการโยนไม้ขีดไฟลงในน้ำมัน ไฟเริ่มลุกลามจากประตูทางเข้าทั้งสามทางไปสู่โถงหลัก ผู้ก่อเหตุหลบหนีจากสถานที่ก่อเหตุพร้อมทั้งปิดกั้นประตูจากทางด้านนอก มีผู้คนหลบหนีออกมาทางหลังคาได้ราว 100 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บไม่ถึงแก่ชีวิต 223 คน ที่เหลือ 377 รายเป็นอย่างน้อย เสียชีวิตในเพลิง[14][15]

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่จะมีการจุดระเบิดเพลิงในเมืองชีรอซ และเมื่อสองวันก่อนหน้า โรงภาพยนตร์แห่งหนึ่งในมอชอด ก็ถูกวางเพลิงเช่นกัน อันเป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตสามราย[15]

ผู้ก่อเหตุ

แก้

แรกเริ่ม กลุ่มผู้สนับสนุนการปฏิวัติอิหร่านกล่าวโทษตำรวจลับ SAVAK ว่าเป็นผู้ก่อเหตุ แม้ว่าคำกล่าวนี้ไม่เป็นความจริง โดยให้เหตุผลว่าตำรวจลับกำลังติดตามคนชุดหนึ่งซึ่งหลบหนีเข้าไปในโรงภาพยนตร์เพื่อหนีกลืนเข้ากับฝูงชนภายใน ตำรวจลับที่กำลังไล่ล่าจึงปิดขังประตูของโรงภาพยนตร์เพื่อกันไม่ให้หลบหนี ซึ่งทำให้ผู้คนหลายร้อยชีวิตติดอยู่ภายในอาคารและเสียชีวอตจากเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ หนังสือพิมพ์อิหร่าน Sobhe Emruz กล่าวโทษผู้กระทำผิดว่าเป็นพวกอิสลามหัวรุนแรงในบทบรรณาธิการสำหรับหนังสือพิมพ์ Kayhan ซึ่งดำเนินงานโดย Hossein Shariatmadari ผู้เคยได้รับการบรรยายว่าเป็น "คนใกล้ชิดที่ผู้นำสูงสุดอิหร่าน แอลี ฆอเมเนอี วางใจ" และมีความสัมพันธ์กับหน่วยข่าวกรองของอิหร่าน) ใน Sobhe Emruz ระบุว่า "อย่าให้เราต้องเปิดโปงว่าผู้ใดเป็นผู้อยู่เบื้องหลังตัวจริงของเหตุไฟไหม้โรงภาพยนตร์เร็กซ์เลย" ซึ่งทำหนังสือพิมพ์ถูกสั่งปิดชั่วคราวไม่นานหลังตีพิมพ์[16][5][17]

นักประวัติศาสตร์การทหาร สเปนเซอร์ ซี ทัคเคอร์ระบุยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 422 ราย และระบุว่าหลังเหตุการณ์ "รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี กล่าวโทษกษัตริย์อิหร่าน (ชะฮ์) และตำรวจลับ (SAVAK) ว่าเป็นผู้ก่อเหตุ คำกล่าวอ้างนี้มีชาวอิหร่านจำนวนมากหลงเชื่อ มีผู้ประท้วงนับหลายหมื่นคนบนท้องถนนกล่าวตะโกนว่า เผาชะฮ์ซะ! [Burn the shah!] ก่อนที่อีกหลายแสนคนจะกลับมาเข้าร่วมการประท้วงนี้อีกครั้ง"[2]

นักประวัติศาสตร์ Firoozeh Kashani-Sabet ระบุว่า "แม้นักวิชาการในภายหลังจะระบุผู้ก่อเหตุว่าเป็นผู้สนับสนุนการปฏิวัติ แต่รัฐอิสลาม [อิหร่านหลังปฏิวัติ] ปฏิเสธข้อค้นพบเหล่านี้ และยังคงถือว่าตำรวจลับของกษัตริย์ (SAVAK) เป็นผู้ก่อเหตุวางเพลิง"[3]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Amanat, Abbas (2017). Iran: A Modern History. Yale University Press. p. 719. ISBN 978-0300112542.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Tucker, Spencer C. (2017). The Roots and Consequences of Civil Wars and Revolutions: Conflicts that Changed World History. ABC-CLIO.
  3. 3.0 3.1 Kashani-Sabet, Firoozeh (2023). Heroes to Hostages: America and Iran, 1800-1988. Cambridge University Press. p. 344.
  4. "Iran: In with the madding crowd". The Economist. 3 November 2012. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
  5. 5.0 5.1 Amuzegar, Jahangir (1991). Dynamics of the Iranian Revolution: The Pahlavis' Triumph and Tragedy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). SUNY Press. p. 250. ISBN 978-0-7914-0731-8. สืบค้นเมื่อ 18 August 2018.
  6. "BBC فارسی - ايران - گاهشمار انقلاب" (ภาษาเปอร์เซีย). สืบค้นเมื่อ 1 January 2018.
  7. Afkhami, R. Gholam (2009) The Life and Times of the Shah University of California Press, pages 465 & 459, ISBN 0-520-25328-0
  8. Ansari, M. Ali (2007) Modern Iran: the Pahlavis and after Pearson Education, page 259, ISBN 1-4058-4084-6
  9. Federal Research Division (2004) Iran A Country Study Kessinger Publishing, page 78, ISBN 1-4191-2670-9
  10. Bahl, Taru, Syed, M. H. (2003) Encyclopaedia of the Muslim World, Anmol Publications PVT. LTD., 2003, page 105, ISBN 81-261-1419-3
  11. Daniel, Elton L. and Mahdi, Ali Akbar (2006) Culture and Customs of Iran, Greenwood Press, Westport, Connecticut, page 106, ISBN 0-313-32053-5
  12. Hiro, Dilip (1985) Iran Under the Ayatollahs Routledge and K. Paul, London, page 74, ISBN 0-7100-9924-X
  13. Steven Gaythorpe (24 July 2015). Cinema. Lulu.com. ISBN 978-1-326-36973-6.[ลิงก์เสีย]
  14. Staff Writer. "Cinema Rex Tragedy of 1978 is Recreated in London Exhibition by Mahmoud Bakhshi". Kayhan Life. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2017. สืบค้นเมื่อ 22 January 2017.
  15. 15.0 15.1 Branigan, William (August 21, 1978). "Terrorists Kill 377 by Burning Theater in Iran". The Washington Post. ISSN 2641-9599.
  16. George Bullen (14 August 2015). Nine Months in Iran. Lulu.com. p. 88. ISBN 978-1-329-43953-5.
  17. Sabine Haenni; Sarah Barrow; John White (15 September 2014). The Routledge Encyclopedia of Films. Routledge. p. 244. ISBN 978-1-317-68261-5.