เลย์อะเวย์ คือรูปแบบข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายสินค้าว่าผู้ขายจะสงวนสินค้าและจะส่งมอบสินค้าให้ก็ต่อเมื่อผู้ซื้อผ่อนชำระค่าสินค้าครบมูลค่าของสินค้านั้น

คำอธิบาย แก้

การเลย์อะเวย์สินค้าต่างจากการผ่อนชำระสินค้าทั่วไปตรงที่ผู้ซื้อจะได้รับสินค้าก็ต่อเมื่อผ่อนชำระค่าสินค้าจนครบมูลค่าฯ ในขณะที่การผ่อนชำระ ไม่ว่าจะมีการวางเงินค่าสินค้าบางส่วนก่อนหรือไม่ก็ตาม ผู้ซื้อจะได้สินค้าตั้งแต่ต้น และมีหน้าที่ต้องผ่อนชำระที่เป็นหนี้ด้วยผู้ขายนั้นจนกว่าจะครบมูลค่าสินค้าและดอกเบี้ยฯ 

การเลย์อะเวย์สินค้ามักมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจากการซื้อสินค้าปกติ เนื่องจากผู้ขายจะต้อง "สงวน" (lay) สินค้าในคลังฯ  "ไว้" (away) จนกว่าจะการผ่อนชำระจะเสร็จสิ้น  เนื่องจากการเลย์อะเวย์สินค้ามีความเสี่ยงน้อย (เพราะสินค้ายังอยู่ที่ผู้ขาย) การขายในลักษณะนี้จึงมักใช้กับผู้ซื้อที่มีเครดิตต่ำ หากการผ่อนชำระไม่สมบูรณ์ สินค้านั้นก็จะถูกนำไปขายดังเดิม เงินที่ผู้ซื้อชำระไปบางส่วนนั้นก็อาจนำไปคืนเต็มจำนวน หักค่าธรรมเนียมบางส่วน หรือแม้แต่ริบเงินนั้น แล้วแต่นโยบายของการเลย์อะเวย์

ข้อดีอีกประการของการเลย์อะเวย์สินค้า คือไม่จำเป็นต้องคิดดอกเบี้ย นอกจากนี้ ราคาสินค้าก็กำหนดตายตัวเมื่อทำสัญญาเลย์อะเวย์ และผู้ซื้อสามารถมั่นใจได้ว่าจะมีสินค้าเมื่อชำระมูลค่าครบถ้วนเพราะมีการสงวนสินค้าไว้ อีกทั้งการซื้อสินค้าเป็นของขวัญก็จะเก็บความลับได้ง่ายกว่าการผ่อนชำระที่จะต้องแสดงรายการผ่อนชำระในใบเรียกเก็บเงินของบัตรเครดิต เป็นต้น และในบางกรณี ผู้ซื้อจะมีความรู้สึกหวงแหนสินค้าฯ มากกว่าการซื้อปกติ เนื่องจากการซื้อในลักษณะนี้ต้องอาศัยความตั้งใจ มุมานะในการผ่อนชำระฯ ในห้วงเวลาหนึ่งจนกว่าจะได้สินค้ามาอีกด้วย[1][2]

ประวัติ แก้

การเลย์อะเวย์สินค้าเริ่มเป็นที่นิยมโดยทั่วไปตั้งแต่เหตุเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในช่วงทศวรรษ 1930[3] และเสื่อมความนิยมลงในช่วงทศวรรษ 1980[4]  เมื่อการใช้งานบัตรเครดิตเป็นกิจจะลักษณะ 

วอลมาร์ต ประกาศยกเลิกการเลย์อะเวย์ทุกสาขาในปี 2006 ให้เหตุผลว่ามีผู้ใช้บริการน้อยลงและค่าดำเนินการที่เพิ่มสูงขึ้น[5] แต่ก็กลับมาให้บริการอีกครั้งในเดือนกันยายน 2011 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เกิดขึ้นอีกครั้งและปัญหาเครดิตของลูกค้าที่ตกต่ำลง[6]

อ้างอิง แก้

  1. Cheddar Berk, Christina (2008-10-22). "Another Kind of Holiday Nostalgia: Layaway". CNBC. สืบค้นเมื่อ 2011-12-21.
  2. Surowiecki, James (January 2, 2012). "The Financial Page – Delayed Gratification". The New Yorker. Condé Nast. LXXXVII (42): 23. ISSN 0028-792X.
  3. Mcginn, Dave (2009-06-15). "The return of layaway". The Globe and Mail. Toronto. สืบค้นเมื่อ 2011-12-21.
  4. The Economist, (Jan. 10, 2009) U.S. print edition, p. 31.
  5. Davis, Sharia (2006-05-22). "Wal-Mart Stores to Cease Layaway Service". WHAG-TV.
  6. Clifford, Stephanie (2011-09-08). "Wal-Mart to Bring Back Layaway for Holidays". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2011-12-21.