เลดี้แห่งชาลอตต์ (วอเทอร์เฮาส์)

เลดี้แห่งชาลอตต์ (อังกฤษ: The Lady of Shalott) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอห์น วิลเลียม วอเทอร์เฮาส์ จิตรกรคนสำคัญชาวอังกฤษของกลุ่มพรีราฟาเอลไลท์ ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์เทตในกรุงลอนดอนในสหราชอาณาจักร

เลดี้แห่งชาลอตต์
ศิลปินจอห์น วิลเลียม วอเทอร์เฮาส์
ปีค.ศ. 1888
ประเภทจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ
สถานที่หอศิลป์เทต, ลอนดอน

ภาพ "เลดี้แห่งชาลอตต์" ที่เขียนโดยจอห์น วิลเลียม วอเทอร์เฮาส์ในปี ค.ศ. 1888 เป็นภาพที่มาจากฉากหนึ่งจากกวีนิพนธ์ชื่อเดียวกันที่เขียนโดยลอร์ดอัลเฟรด เทนนีสัน[2] ที่เทนนีสันบรรยายถึงการหนีของสตรีสาว (ที่มาจากพื้นฐานอย่างคร่าว ๆ ของเรื่องราวของอีเลนแห่งแอสโทลัท ผู้โหยหาความรักอันสมบูรณ์แบบจากอัศวินเซอร์ลันซล็อต) ผู้พยายามติดตามเซอร์ลันซล็อตไปยังคาเมลอตของกษัตริย์อาเธอร์ วอเทอร์เฮาส์เขียนภาพนี้สามแบบในปี ค.ศ. 1888[3] 1894[4] และ 1916[5]

ตามตำนานแล้วเลดี้แห่งชาลอตต์ถูกห้ามไม่ให้มองตรงไปยังความเป็นจริงหรือโลกภายนอก ซึ่งทำให้นางต้องมองโลกจากกระจก และสานสิ่งที่เห็นเป็นพรม เมื่อเห็นหนุ่มสาวที่รักกันเดินเกี่ยวก้อยกันแต่ไกล ๆ ก็ยิ่งทวีความความสิ้นหวังให้แก่เลดี้แห่งชาลอตต์ยิ่งขึ้นไปอีก นางรอเวลาทั้งกลางวันและกลางคือให้ทุกอย่างกลับเป็นปกติอีก วันหนึ่งเลดี้แห่งชาลอตต์มองเห็นเซอร์ลันซล็อตเดินทางผ่านไปในกระจก นางก็หนีโดยเรือระหว่างที่พายุลงในฤดูใบไม้ร่วง ระหว่างที่แล่นเรือไปยังคาเมลอตและไปยังความตายที่จะมาถึงนางก็ร้องเพลงโศก ไม่นานเท่าใดนักอัศวินและเลดี้แห่งคาเมลอต รวมทั้งเซอร์ลันซล็อตก็มาพบร่างของเลดี้แห่งชาลอตต์แข็งเป็นน้ำแข็ง เซอร์ลันซล็อตจึงสวนมนต์ขอพรให้แก่วิญญาณของเลดี้แห่งชาลอตต์ พรมที่นางทอระหว่างที่ถูกจำขังก็ห้อยอยู่ข้างเรือ

จากตอนที่สี่ของกวีนิพนธ์:

"And down the river's dim expanse

Like some bold seer in a trance,
Seeing all his own mischance—
With glassy countenance
Did she look to Camelot.
And at the closing of the day
She loosed the chain, and down she lay;
The broad stream bore her far away,

The Lady of Shalott.[6]

"เลดี้แห่งชาลอตต์มองหาเซอร์ลันซล็อต" โดย วอเทอร์เฮาส์เช่นกัน

กวีนิพนธ์นี้เป็นที่นิยมในบรรดากวีและจิตรกรกลุ่มพรีราฟาเอลไลท์เป็นอันมาก และได้รับการวาดโดยจิตรกรหลายคนที่รวมทั้งดานเต เกเบรียล รอสเซ็ตติ, วิลเลียม มอว์ เอ็กลีย์และวิลเลียม โฮลแมน ฮันท์ ตลอดอาชีพการงานวอเทอร์เฮาส์หมกมุ่นอยู่กับกวีนิพนธ์ของทั้งเทนนีสันและจอห์น คีตส์ และระหว่างปี ค.ศ. 1886 ถึงปี ค.ศ. 1894 วอเทอร์เฮาส์ก็เขียนภาพสามภาพจากกวีนิพนธ์ของทั้งเทนนีสัน

แม้ว่าจะเป็นภาพและโทนจะมีโครงสร้างของศิลปะพรีราฟาเอลไลท์ หัวใจของภาพและรายละเอียดที่สะท้อนระหว่างใบไม้ของต้นไม้ที่ระน้ำและผมและรอยจีบของเสื้อผ้าและพรมเป็นแนวที่เปลี่ยนไปจากองค์ประกอบที่นำมาจากลักษณะของศิลปะฟื้นฟูคลาสสิก ภาพนี้เป็นภาพพรีราฟาเอลไลท์ตรงที่เป็นภาพที่แสดงความเปราะบางและชะตากรรมของสตรีในภาพที่อาบด้วยแสงยามพลบค่ำ[7] สตรีในภาพมองไปยังกางเขนที่วางอยู่ข้างเทียนสามเล่มที่หัวเรือ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 เทียนมักจะใช้เป็นสัญลักษณ์ของชีวิต[2] แต่ในภาพนี้มีเทียนเพียงเล่มเดียวที่ยังคงจุดสว่างอยู่

เฮนรี เทตอุทิศภาพ "เลดี้แห่งชาลอตต์" ให้แก่สาธารณชนในปี ค.ศ. 1894

อ้างอิง แก้

  1. Web Gallery of Art: The Lady of Shalott
  2. 2.0 2.1 "The Lady of Shalott 1888 เก็บถาวร 2008-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Tate Gallery display caption, July 2007. Retrieved on 07 October, 2007.
  3. [https://web.archive.org/web/20120112181820/http://www.tate.org.uk/servlet/ViewWork?workid=15984&searchid=16942 เก็บถาวร 2012-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Lady of Shalott]]". Tate Britain, London.
  4. The Lady of Shalott 1894 เก็บถาวร 2007-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. City Art Gallery, Leeds.
  5. "I am Half-Sick of Shadows, said the Lady of Shalott". Art Gallery of Ontario, Toronto.
  6. Riggs, Terry. "The Lady of Shalott, 1888". Tate Exhibition Catalog, February 1998. Retrieved 12 October, 2007.
  7. "The Lady of Shalott (1888) by John William Waterhouse". mseffie. Retrieved on 07 October, 2007.
  • Casteras, Susan. "The Victorians: British Painting, 1837-1901". Washington, D.C.: National Gallery of Art, 1997.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้