เริงชัย มะระกานนท์
เริงชัย มะระกานนท์ (10 มีนาคม 2485 - ) อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย[1]
เริงชัย มะระกานนท์ | |
---|---|
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 – 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 | |
ก่อนหน้า | วิจิตร สุพินิจ |
ถัดไป | ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 มีนาคม พ.ศ. 2485 |
คู่สมรส | ณัฏฐา มะระกานนท์ |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้เริงชัย มะระกานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2485 มีพี่น้อง 7 คน จบการศึกษาปริญญาตรีทางด้านการเงิน จากมหาวิทยาลัยเคโอ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์จากแอลเอสอี มหาวิทยาลัยลอนดอน กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเศรษฐศาสตร์การเงิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2539 จนถึง พ.ศ. 2540
นายเริงชัย ถูกธนาคารแห่งประเทศไทยฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ต่อมา วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ศาลฎีกาให้เขาพ้นข้อกล่าวหาไม่ต้องชดใช้เงิน[2]ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 186,015,830,720 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ ณัฏฐา (สกุลเดิม:วัฒนปฤดา) พี่สาวของ นิตย์ศรี วัฒนปฤดา มีธิดา 1 คน และบุตร 1 คน และ มีหลาน 4 คน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
อ้างอิง
แก้- ↑ "ผู้ว่าการจากอดีตถึงปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
- ↑ http://www.komchadluek.net/news/economic/245064
ก่อนหน้า | เริงชัย มะระกานนท์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
วิจิตร สุพินิจ | ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (13 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540) |
ดร. ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ |