เยอรมันเชเพิร์ด
เยอรมันเชพเพิร์ด หรือ แอลเซเชียน (อังกฤษ: German Shepherd, Alsatian) เป็นสายพันธุ์สุนัขสายพันธุ์หนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเยอรมนี ในงานของสุนัขตำรวจ ได้มีการนำสุนัขสายพันธุ์นี้มาใช้ในการดมกลิ่นเพื่อตรวจค้นอาวุธ วัตถุระเบิด ยาเสพติด และยังพบว่าได้มีการนำสุนัขสายพันธุ์นี้มาใช้ในงานอื่น เช่น งานหน่วยกู้ภัย งานนำทางคนตาบอด งานคุ้มกัน
ชื่ออื่น |
| |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อเล่น |
| |||||||||||||||||||||||||||
ประเทศกำเนิด | ประเทศเยอรมนี | |||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||
หมา (Canis lupus familiaris) |
เยอรมันเชเพิร์ดยังไม่มีใครรู้จักจนกระทั่งปี ค.ศ. 1899 ร้อยเอก มัคส์ ฟ็อน ชเตฟานิทซ์ (Max von Stephanitz) เพาะพันธุ์สุนัขสายพันธุ์นี้ขึ้นใช้งาน และผู้เพาะพันธุ์มากมายในปัจจุบันยังคงรักษาลักษณะที่ดีของสุนัขพันธุ์นี้ไว้ ไม่ว่าจะเป็นความไว้ใจได้ หรือความจงรักภักดี ทำให้เยอรมันเชเพิร์ดเป็นเพื่อนที่ดีเลิศ เยอรมันเชเพิร์ดมีช่วงชีวิตเฉลี่ยได้ถึง 10 ปี มีความสูง 55-65 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเฉลี่ย 22-40 กิโลกรัม
เหตุที่ได้อีกชื่อหนึ่งว่า แอลเซเชียน เนื่องจากในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพนาซีเยอรมันได้ใช้สุนัขสายพันธุ์นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวอังกฤษซึ่งเป็นคู่ศัตรูจึงนำไปเลี้ยงบ้าง และได้เปลี่ยนชื่อเป็นแอลเซเชียน เนื่องจากรังเกียจในผู้นำเยอรมนี คือ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ โดยมีที่มาจากแหล่งกำเนิดสุนัขคือระหว่างแคว้นอาลซัสกับแคว้นลอแรน[5]
ในประเทศไทย มีการนำเยอรมันเชเพิร์ดเข้ามาใช้ในกิจการตำรวจโดยพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ขณะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ เมื่อปี ค.ศ. 1950 จึงเรียกชื่อสายพันธุ์สุนัขนี้กันติดปากว่า "สุนัขตำรวจ"[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อUSGSD
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 http://www.fci.be/Nomenclature/Standards/166g01-en.pdf
- ↑ Jones, Bretaigne, "Science of breeding", Royal Canin, American Kennel Club, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-03, สืบค้นเมื่อ 3 September 2014
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อlongevity
- ↑ "ที่มาของชื่อ "อัลเซเชียน"". สมาคมผู้เลี้ยงสุนัขพันธุ์เยอรมันเช็พเพอดแห่งประเทศไทย. 22 November 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 28 November 2015.
- ↑ "เยอรมันเชพเพิอด กับ อัลเซเชี่ยน ต่างกันอย่างไร ?". wunjun.com. 18 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 28 November 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เยอรมันเชเพิร์ด
- สมาคมผู้เลี้ยงสุนัขพันธุ์เยอรมันเช็พเพอดแห่งประเทศไทย