เยติแอร์ไลน์ (อังกฤษ: Yeti Airlines; เนปาล: यती एअरलाइन्स) เป็นสายการบินที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 และได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการเดินอากาศในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1998 เยติแอร์ไลน์เป็นบริษัทแม่ของตาราแอร์ ข้อมูลในปี ค.ศ. 2021 ระบุว่าเยติแอร์ไลน์เป็นสายการบินในประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของเนปาล รองจากบุดด้าแอร์[4]

เยติแอร์ไลน์
यती एयरलायन्स
IATA ICAO รหัสเรียก
YT NYT YETI AIRLINES
ก่อตั้งพฤษภาคม 1998; 25 ปีที่แล้ว (1998-05)
AOC #037/2004[1]
ท่าหลักสนามบินตริภูวัน
เมืองสำคัญ
สะสมไมล์Yeti Airlines SKY-Club
บริษัทลูกตาราแอร์
ขนาดฝูงบิน5[2]
จุดหมาย8
สำนักงานใหญ่กาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล
บุคลากรหลักLhakpa Sonam Sherpa (ประธานบริษัท)[3]
เว็บไซต์www.yetiairlines.com

ประวัติศาสตร์ แก้

เยติแอร์ไลน์ก่อตั้งขึ้นโดยอัง เซอริง เชอร์ปา ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 และได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการเดินอากาศในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1998 สายการบินเริ่มต้นให้บริการจากกองบินที่ประกอบด้วย de Havilland Canada DHC-6 Twin Otter สองลำ ปัจจุบันเยติแอร์ไลน์เป็นบริษัทย่อยของเยติเวิลด์ (Yeti World) ซึ่งเป็นธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงโรงแรม รีสอร์ท บริษัทนำท่องเที่ยว และสายการบินเจ้าอื่น ๆ ได้แก่ แอร์ไดนัสตี และ อัลติจูดแอร์[5][6]

ในปี ค.ศ. 2009 เยติแอร์ไลน์ได้ตั้งบริษัทลูก ตาราแอร์ ที่ซึ่งได้เอาท์ซอร์ซ (outsourced) การให้บริการ STOL แก่ท่าอากาศยานในพื้นที่ชนบทห่างไกลและท่าอากาศยานบนภูเขาของเนปาล โดยมีการส่งต่ออากาศยาน DHC-6 Twin Otter และ Dornier 228 ของเยติแอร์ไลน์ไปยังตาราแอร์[7][8]

ในปี ค.ศ. 2007 เยติแอร์ไลน์ได้เปิดตัว ฟลายเยติ เป็นกิจการร่วมกีบแอร์อาระเบีย[9] แต่สิ้นสุดการให้บริการในปี 2008 จากปัญหาทางการเมือง[10]

ในปี ค.ศ. 2013 คณะกรรมการยุโรปได้สั่งห้ามสายการบินสัญชาติเนปาลทุกสายการบิน รวมถึงเยติแอร์ไลน์ ไม่ให้สามารถเข้าบินผ่านน่านฟ้าของยุโรปได้ ในรายชื่อสายการบินที่ประกาศนี้ยังมีการใส่ชื่อของเยติแอร์ไลน์ลงไปเป็นพิเศษด้วย[11][12]

ในปี ค.ศ. 2014 เยติแอร์ไลน์ได้เปิดตัวหิมาลายาแอร์ไลน์ ธุรกิจร่วมกับทิเบตแอร์ไลน์ สายการบินสัญชาติจีน[13]

จุดหมาย แก้

เยติแอร์ไลน์ให้บริการเที่ยวบินในประเทศเนปาล[14] นอกจากนี้ยังให้บริการ Everest Express ความยาว 1 ชั่วโมง ซึ่งให้บริการบินชมภูเขา โดยบินจากตริภูวัน ไปยัง เขาเอเวอร์เรสต์[15] และเที่ยวบินชมภูเขา Annapurna Express ซึ่งบินจากโปขรา ไปเทือกเขาอันนาปูรณะ[16]

อ้างอิง แก้

  1. "Civil Aviation Report 2017" (PDF). Civil Aviation Authority of Nepal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-31. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2019.
  2. Yeti Airlines Fleet Details and History. planespotters.net. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2023.
  3. "Management Team of Yeti Air". Webportal of Yeti Air. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2022.
  4. Prasain, Sangnam (6 มกราคม 2022). "Domestic airlines carried record 3.54 million passengers in 2021". The Kathmandu Post. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2022.
  5. "About us". Yeti World. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2021.
  6. "How Yeti Group benefited from its connections with PM Oli". Republica News. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2019.
  7. "History". Yeti Airlines. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2018.
  8. "Tara Air – Biggest Airline in Nepalese Mountains - Helping Develop the Rural Nepal". สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2015.
  9. "Yeti Airlines goes international, Orient Thai comes to Nepal". The Himalayan Times. 22 มกราคม 2008. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2018.
  10. "Annual Report 2008" (PDF). Air Arabia. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2018.
  11. "EU bans all airlines from Nepal to fly into the 28 nation bloc". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2017.
  12. "LEGAL NOTICE" (PDF). European Commission. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2017. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2017.
  13. "Himalaya conducts 'proving' flight". The Kathmandu Post. 27 กุมภาพันธ์ 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-19. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2016.
  14. "Scheduled Flights". Yeti Airlines. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2019.
  15. "Everest Express". Yeti Airlines. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2019.
  16. "Annapurna Express". Yeti Airlines. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้