สังกัสสะ (อังกฤษ: Sankassa) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองที่เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากที่พระองค์เสด็จไปทรงจำพรรษาที่ 7 หลังการตรัสรู้ ณ ดาวดึงส์ เพื่อทรงแสดงพระอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดา[1] ปัจจุบันสังกัสสะตั้งอยู่ที่หมู่บ้านสังกิสสะ บะสันตะปุระ (Sankissa Basantapura) ในจังหวัดฟารุกาหบาท (Farrukhabad) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เมืองแห่งนี้ไม่ค่อยมีผู้แสวงบุญไปจาริกเท่าใดนัก เนื่องจากการเดินทางไปยังหมู่บ้านแห่งนี้ในปัจจุบันเป็นไปด้วยความยากลำบาก

สังกัสสะ
สังกิสสะ

เสารูปช้างที่สังกัสสะ หนึ่งในเสาอโศก ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล
รายละเอียดของแป้นหัวเสา
สังกัสสะตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
สังกัสสะ
แสดงที่ตั้งภายในประเทศอินเดีย
สังกัสสะตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ
สังกัสสะ
สังกัสสะ (รัฐอุตตรประเทศ)
ที่ตั้งจังหวัดฟารุกาหบาท, รัฐอุตตรประเทศ, อินเดีย
พิกัด27°20′02″N 79°16′16″E / 27.33389°N 79.27111°E / 27.33389; 79.27111
ประเภทที่อยู่อาศัย

ความสำคัญ

แก้
 
พระพุทธเจ้าทรงสอนเหล่าศิษย์ที่สังกัสสะ

นอกจากเมืองแห่งนี้จะเป็นสถานที่เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว บริเวณที่ใกล้กับสังกัสสะนั้นคือที่ตั้งของเมืองกโนช์ หรือกเนาช์ ซึ่งมีชื่อในภาษาบาลีว่า "กณฺณกุช"[2] และในภาษาสันสกฤตว่า "กานฺยกุพฺช" โดยเมืองกโนช์มีความสำคัญในหลังพุทธกาล คือในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 เมืองนี้ได้เป็นเมืองหลวงของพระเจ้าหรรษวรรธนะ (Haravardhana) ผู้ทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และเมืองกโนช์ได้เป็นที่มั่นสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของพระพุทธศาสนาในยุคนั้น โดยเมื่อหลวงจีนถังซำจั๋งได้มาเยี่ยมเมืองแห่งนี้ ท่านได้บันทึกไว้ว่ามีวัดกว่าร้อยวัด และมีพระอยู่ประจำกว่าหมื่นรูป ทั้งสงฆ์เถรวาทและมหายาน[3]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส สาริปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖ ว่าด้วยกระแสเสียงของพระพุทธเจ้าประกอบด้วยองค์ ๘. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[1]>. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
  2. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[2]>. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
  3. สุนนท์ ปัทมาคม, รศ. . สมุดภาพแดนพุทธภูมิ ฉลองชนมายุ ๘๐ ปี พระสุเมธาธิบดี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้