พุทธศักราช

(เปลี่ยนทางจาก พุทธกาล)

พุทธศักราช ย่อว่า พ.ศ. เป็นปฏิทินสุริยจันทรคติที่ใช้ในประเทศกัมพูชา ลาว พม่า อินเดีย ศรีลังกา และไทย ตลอดจนประชากรจีนในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนามสำหรับโอกาสทางศาสนาพุทธ มีเพียงประเทศไทยที่ใช้ในระบบราชการ แม้ศักราชนี้มีที่มาร่วมกัน แต่อาจมีความแตกต่างกันบ้างในการทดปฏิทิน ชื่อเดือนและเรียงลำดับเดือน การใช้วัฏจักร ฯลฯ ในประเทศไทย พ.ศ. เป็นระบบการนับปีที่ใช้ในปฏิทินสุริยคติไทย

นอกจากนี้ ยังมีคำว่า "พุทธกาล" และ "พุทธสมัย" ใช้กล่าวถึงช่วงเวลาที่พระโคตมพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่ คือ ช่วงเวลา 80 ปีก่อนพุทธศักราช แต่บางทีก็ใช้คำเหล่านี้หมายถึง ช่วงเวลาที่เชื่อว่า พุทธศาสนาจะดำรงอยู่หลังการปรินิพพานของพระโคตมพุทธเจ้า ฉะนั้น จึงมีการใช้ x ปีก่อนพุทธกาล เพื่อหมายถึง x ปีก่อนพุทธศักราช เป็นต้น

การเริ่มต้นนับ พ.ศ.ของประเทศไทย จะไม่เหมือนกันกับที่ประเทศอื่นๆ ซึ่งเริ่มต้นนับตั้งแต่วันที่พระพุทธเจ้าทรงดับขันธ์ปรินิพพานหรือผ่านไปแล้ว 1 วัน กล่าวคือ วันขึ้น 15 ค่ำเดือนหก(เดือนสากล) หรือวันแรม 1 ค่ำ เดือนหก(เดือนสากล) เพราะประเทศไทย จะเริ่มนับ พ.ศ. 1 ภายหลังจากวันที่พระพุทธเจ้าทรงดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วเกือบ 1 ปี โดยให้เริ่มในเดือนมกราคม เพื่อให้สอดคล้องกับการติดต่อประเทศตะวันตกและอื่นๆ ที่นับ ค.ศ. และวันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มปีใหม่[ต้องการอ้างอิง]

แต่หากเป็นการนับพ.ศ.แบบโหรไทย จะมีการนับที่แตกต่างออกไป เริ่มในวัน 1 ค่ำ เดือนอ้าย(ไทยโบราณถือว่าหมดฝนมืดครึ้มเข้าสู่แสงสว่าง ส่วนมากตรงกับเดือนธันวาคม)[ต้องการอ้างอิง]

ต้นยุคอ้างอิง แก้

ต้นยุคอ้างอิง (epoch) ของพุทธศักราชตรงกับวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 544 (ขึ้น 15 ค่ำเดือนวิสาขะ อัญจนศก 148)[1] ส่วน พ.ศ. แบบไทยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 543 จึงทำให้ พ.ศ. แบบไทยช้ากว่าของประเทศอื่นอยู่เกือบ 1 ปี

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Kala Vol. 1 2006: 38

พุทธศักราชในประเทศไทย จากเว็บคลังสารสนเทศสถาบันนิติบัญญัติ

แหล่งข้อมูลอื่น[ดูดวงราศีประจำวันอังคาร 1] แก้

นายสมชาย.ชาคริต


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "ดูดวงราศีประจำวันอังคาร" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="ดูดวงราศีประจำวันอังคาร"/> ที่สอดคล้องกัน