เพนเทียม

(เปลี่ยนทางจาก เพนเที่ยม)

เพนเทียม (Pentium) เป็นเครื่องหมายการค้าและแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ไมโครโพรเซสเซอร์ x86 หลายตัวจากบริษัทอินเทล[1] เพนเทียมเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยใช้สถาปัตยกรรม P5 และมีการพัฒนาต่อเนื่องโดยชิปตัวใหม่ที่ออกมาจะใช้ชื่อรหัสตามหลังคำว่าเพนเทียมเช่น เพนเทียมโปร หรือ เพนเทียมดูอัล-คอร์ จนกระทั่งในปี 2553 ทางอินเทลได้เปลี่ยนระบบการเรียกชื่อชิปในตระกูลเพนเทียมทั้งใหม่หมดให้ใช้เพียงแค่คำว่า "เพนเทียม" โดยไม่มีคำใดต่อท้าย[2]

แม้ว่าเพนเทียมถูกออกแบบมาให้เป็นรุ่นที่ 5 ที่ใช้สถาปัตยกรรม P5 ชิปที่พัฒนาต่อมาได้มีการนำสถาปัตยกรรมตัวใหม่ที่นำมาพัฒนามาใช้ภายใต้ชื่อตระกูลเพนเทียม เช่น P6, เน็ตเบิรสต์, คอร์, เนเฮเลม และล่าสุดคือสถาปัตยกรรมแซนดีบริดจ์

ในปี 2541 เพนเทียมได้ถูกจัดให้เป็นซีพียูสำหรับตลาดบนของทางอินเทลเมื่อบริษัทได้เปิดตัวแบรนด์เซเลรอน[3] เพื่อใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ราคาประหยัด ที่ประสิทธิภาพลดลงมา จนกระทั่งในปี 2549 อินเทลได้เปิดตัวตระกูลคอร์ โดยออกมาในชื่อ อินเทล คอร์ 2 ทำให้สถานะทางการตลาดของเพนเทียมอยู่ในระดับกลาง รองจากตระกูลคอร์แต่อยู่สูงกว่าตระกูลเซเลรอน[4] โดยในปัจจุบันชื่อเพนเทียมเป็นชิปที่อยู่ในราคากลางโดยอยู่ระหว่างอินเทลคอร์และอินเทลเซเลรอน[5]

ชื่อ

แก้

ชื่อ "เพนเทียม" มาจากภาษากรีกคำว่า πέντε (เพนเต) ที่หมายถึง เลขห้า ซึ่งกล่าวถึงโพรเซสเซอร์รุ่นที่ห้าของอินเทลต่อจาก 80386 (ตัวที่สาม) และ 80486 (ตัวที่สี่) ภายหลังจากที่อินเทลมีปัญหาด้านกฎหมายในการจดทะเบียนชื่อ 80586 และ i586[6] ชิปของอินเทลภายใต้ชื่อการค้า เพนเทียม ตัวแรกคือ P5 เปิดตัวเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2536

เพนเทียม ปี 2536

แก้

อินเทลได้พัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ใหม่ภายใต้ชื่อ "เพนเทียม" โดยได้พัฒนาโดยใช้สถาปัตยกรรมไมโครอินเทล P5 พัฒนาต่อเนื่องจาก อินเทล 80486 โดย เพนเทียม และ เพนเทียม MMX ได้มีการใช้งานในช่วงปี 2536-2542 โดยรุ่นแรกมีความเร็ว 60 MHz หรือเท่ากับ 100 mips โดยมีทรานซิสเตอร์ 3.21 ล้านชิ้น และทำงานกับแอดเดรส 32 บิต (เหมือนกับ 486) โดยมีบัส 64 บิตทำให้ทำงานได้เร็วกว่ารุ่นก่อนหน้าสองเท่าตัว รุ่นแรกใช้งานบนซ็อกเก็ต 4 และบางตัวใช้งานบนซ็อกเก็ต 5 ได้

เพนเทียมรุ่นแรกกินไฟ 5 โวลต์ ก่อให้เกิดความร้อนสูงจนต่อมาถึงรุ่น 100 MHz ลดการกินไฟลงเหลือ 3.3 โวลต์

เพนเทียมระหว่าง ปี 2536-2553

แก้
 
ชิปเพนเทียมทั้งหมดที่เป็น P5

เพนเทียม ปี 2553 เป็นต้นไป

แก้

สถาปัตยกรรมไมโครเนเฮเลม

แก้

ในปี 2553 อินเทลได้ประกาศยุบชื่อของ เพนเทียมดูอัล-คอร์ เหลือเพียง"เพนเทียม" เพื่อใช้ในการตลาด โดยใช้สถาปัตยกรรมไมโครเนเฮเลม โดยชื่อรุ่นสำหรับเพนเทียมชุดนี้ จะประกอบไปด้วย ตัวอักษรหนึ่งตัวตามด้วยตัวเลขสี่ตัว โดยตัวที่ใช้สำหรับเดสก์ท็อปจะใช้โพรเซสเซอร์ คลาร์กเดล ส่วนตัวโน้ตบุ๊กจะใช้ อาร์รันเดล

เดสก์ท็อป
  • G6950 (2.80GHz)
โน้ตบุ๊ก
  • P6200 (2.13GHz)
  • P6100 (2.00GHz)
  • P6000 (1.86GHz)
  • U5400 (1.20GHz)

สถาปัตยกรรมแซนดีบริดจ์

แก้

สถาปัตยกรรมใหม่ แซนดีบริดจ์ จะถูกนำมาใช้กับเพนเทียมบางส่วนวางขายในป 2554 ได้แก่

เดสกท์ท็อป
  • G850 (2.9 GHz)
  • G840 (2.8 GHz)
  • G620 (2.6 GHz)
  • G620T (2.2 GHz)

อ้างอิง

แก้
  1. "Microprocessor Quick Reference Guide". Intel. สืบค้นเมื่อ 2007-08-14.
  2. "Intel to unify product naming scheme". TG Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 2007-08-15.
  3. "Microprocessor Hall of Fame". Intel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-06. สืบค้นเมื่อ 2007-08-11.
  4. Brown, Rich (23 April 2008). 00.htm "The multicore era is upon us: How we got here – Where we stand today". CNET Asia. สืบค้นเมื่อ 2009-04-18. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)[ลิงก์เสีย]
  5. Shilov, Anton. "Intel Readies Pentium E2000-Series Processors". X-bit labs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-14. สืบค้นเมื่อ 2007-08-15.
  6. "Slogans/Model Numbers/Taglines". Not Just Patents LLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-29. สืบค้นเมื่อ 2009-11-28.
หนังสืออ้างอิง
  • p. 1, The Pentium Chronicles: The People, Passion, and Politics Behind Intel's Landmark Chips, Robert P. Colwell, Wiley, 2006, ISBN 978-0-471-73617-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้