เพชรในเพลง
รางวัลเพชรในเพลง โดยรัฐบาลกำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งทรงสนพระราชหฤทัยและห่วงใยการใช้ภาษาไทยของคนไทย ทั้งทรงเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องเหมาะสม และเป็นการน้อมนำพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวในการทรงงานเพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอดโครงการและแนวพระราชดำริต่างๆของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยรัฐบาลได้ส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชนจัดกิจกรรมในวันดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง กรมศิลปากร โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมการประกวดเพลง “เพชรในเพลง” เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ เพื่อยกย่องบุคคลในวงการเพลงผู้มีผลงานดีเด่นด้านการใช้ภาษาไทย และสนับสนุนให้มีการสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีคุณภาพ ทั้งการประพันธ์คำร้องและผู้ขับร้อง เนื่องจากเห็นว่าวงการเพลงเป็นวงการหนึ่งที่สะท้อนภาพและมีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาไทยของเยาวชนและคนไทยในปัจจุบัน การพิจารณามอบรางวัลแก่นักร้อง นักแต่งเพลง ที่เป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาไทย เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพ จึงเท่ากับเป็นการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยทางหนึ่ง [1]
ซึ่งแต่ละปีจะมีการจัดกิจกรรมที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย แต่ในปี 2564 งดจัดพิธีมอบรางวัล แต่ใช้การเผยแพร่ทางสือโทรทัศน์และสื่อออนไลน์แทน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ได้เพิ่มความรุนแรงเกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ และยังไม่อาจกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดได้แน่นอน ดังนั้น ในปีพุทธศักราช 2564 จึงงดจัดพิธีมอบรางวัล เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าว โดยเน้นรูปแบบออนไลน์ ซึ่งมีกิจกรรมประกอบด้วย การเผยแพร่คำปราศรัย และบันทึกเทปโทรทัศน์การจัดกิจกรรมต่างๆ เผยแพร่ทางสื่อโทรทัศน์และสื่อออนไลน์[2] โดยผลรางวัลในแต่ละปี ดังนี้
ลำดับงานประกาศผลรางวัลเพชรในเพลง
แก้- ↑ "ผลการประกวดเพลง "เพชรในเพลง" เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ๒๕๖๔". กรมศิลปากร. 2021-07-27. สืบค้นเมื่อ 2022-04-06.
- ↑ "วธ.จัดมอบรางวัลเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2564 เน้นรูปแบบออนไลน์". กระทรวงวัฒนธรรม. 2021-07-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-26. สืบค้นเมื่อ 2022-04-06.