เพชรในเพลง 2550 กระทรวงวัฒนธรรม โดย สำนักงานวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร จัดงานมอบรางวัล ในวันที่วันที่ 29 กรกฎาคม 2550 ซึ่งตรงกับวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยมอบรางวัลสำหรับนักร้อง เพลงไทยสากล ลูกทุ่ง ที่ออกเสียงได้ถูกต้องตามอักขระภาษาไทย เพื่อยกย่องบุคลลในวงการเพลงที่มีผลงานดีเด่นด้านภาษาไทย ทั้งนักประพันธ์เพลงที่มีความสามารถผสมผสานความรู้ด้านภาษา วรรณกรรม และนักร้องที่ร้องเพลงออกเสียงชัดเจน และถูกต้องตามหลักการใช้ภาษาไทย โดยมอบรางวัล ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ผลรางวัล ดังนี้ [1]

รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย แก้

ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงกล่อมแม่ ผู้ประพันธ์ สุทธิพงษ์ สมบัติจินดา
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ แม่พิมพ์ในดวงใจ ผู้ประพันธ์ ดำ คัมภีร์ (สิบเอกสมศักดิ์ พูลสวัสดิ์)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ อยู่อย่างยั่งยืน ผู้ประพันธ์ โกไข่ (นายจุมพล ทองตัน)

ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงไผ่รวมกอ ผู้ประพันธ์ สุทธิพงษ์ สมบัติจินดา
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงหนาวแสงนีออน ผู้ประพันธ์ วสุ ห้าวหาญ
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงอย่าเพิ่งท้อ ผู้ประพันธ์ ประเสริฐ ศรีกิจรัตน์

ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงสำหรับเด็ก แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงพ่อเจ้าอยู่หัวของหนู ผู้ประพันธ์ ศรีสุภางค์ อินทร์ไทร
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงคนไทยพูดไทยให้ชัด ผู้ประพันธ์ สุปาณี ลิ้มสุวรรณ
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงรุ่งอรุณยามเช้า ผู้ประพันธ์ ว.วัชญาน์(นางสาววารุณี วัชญาน์)

ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยเดิม แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัล
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงครอบจักรวาล ผู้ประพันธ์ นายอเนก เทศาบุญ
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงราษฎร์ปีติ ผู้ประพันธ์ นายประสาส์น แก่นกระจ่าง

รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย แก้

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงกาษานาคา ผู้ขับร้อง อุเทน พรหมมินทร์
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงเส้นขนานรัก ผู้ขับร้อง ชรัมภ์ เทพชัย
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงเราจะเป็นคนดี ผู้ขับร้อง สิบโทยิ่งยศ เนตะศาสตร์

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงกล่อมแม่ ผู้ขับร้อง ปาน ธนพร (นางสาวธนพร แวกประยูร)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงแม่พิมพ์ในดวงใจ ผู้ขับร้อง ประภาศิลป์ อเนกสุวรรณมณี
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงเรื่องเล่า....ของแม่ ผู้ขับร้อง จันทิมา อวนศรี

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงใจละลาย ผู้ขับร้อง บั๊มพ์ ณรงค์กลด (นายณรงค์กลด ณ ประเสริฐ)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงอ้อมแขนว่างงาน ผู้ขับร้อง ต๊ะ กิตติศักดิ์ ไชยชนะ
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงมีดกรีดยางนางกรีดใจ ผู้ขับร้อง นิว นาวิน(นายสุเมธ ทิวแพ)

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงเขียนฝันไว้ข้างฝา ผู้ขับร้อง รัชนก ศรีโลพันธุ์
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงที่พึ่งสุดท้าย ผู้ขับร้อง ฝน ธนสุนทร (นางสาวเตือนใจ ศรีสุนทร)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงโทรมาทำไม ผู้ขับร้อง อรวี สัจจานนท์ (นางชนันท์ธิดา นันทิวงศากุล)

ประเภทผู้ขับร้องเพลงสำหรับเด็กชาย แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงรุ่งอรุณยามเช้า ผู้ขับร้อง ด.ช.ณัฐดนัย อาลัยสุข
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงทศกัณฐ์ ผู้ขับร้อง ด.ช.วีรเดช คงแจ่ม

ประเภทผู้ขับร้องเพลงสำหรับเด็กหญิง แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงคอยครู (แด่ครูจูหลิง) ผู้ขับร้อง ด.ญ.กมลวรรณ แนวบัวผัน
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงคำสอนปู่ ผู้ขับร้อง ด.ญ.ธันยพร คงแจ่ม

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยเดิมชาย อายุ ๑๘ ปี แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัล
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงพสกปลื้ม ผู้ขับร้อง นายปกรณ์ หนูยี่
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงราษฎร์ซ้องทรงพระเจริญ ผู้ขับร้อง นายสิทธิกร ประทุมวรรณ

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยเดิมหญิง อายุ ๑๘ ปี แก้

ไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัล

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยเดิมชาย อายุ ๑๘-๒๘ ปี แก้

  • รางวัลชนะเลิศ ไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัล
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงสิงโตเล่นหาง ผู้ขับร้อง นายสมหมาย โมกขศักดิ์
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงราษฎร์ปีติ ผู้ขับร้อง นายศรัทธา จันทมณีโชติ

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยเดิมหญิง อายุ ๑๘-๒๘ ปี แก้

ไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัล

อ้างอิง แก้

  1. "เท่ห์-ปาน คว้า เพชรในหลวง ไทยสากลดีเด่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-09-08.