เนเฟอร์เนเฟรูอาเตน ตาเชริท

เนเฟอร์เนเฟรูอาเตน ตาเชริท หรือ เนเฟอร์เนเฟรูอาเตน ผู้เยาว์ (มีพระขนม์ชีพในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสตกาล) เป็นเจ้าหญิงชาวอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์โบราณ และเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่สี่ในฟาโรห์อเคนาเทนกับพระนางเนเฟอร์ติติ

เนเฟอร์เนเฟรูอาเตน ตาเชริท ในไฮเออโรกลีฟ
it
n
ra
nfrnfrnfrnfrt&A S
r
t
A17

เนเฟอร์เนเฟรูอาเตน ตาเชริท
Nfr nfrw Jtn tꜣšrjt
ความงามอันเป็นที่สุดแห่งอาเตน - ผู้เยาว์
พระราชธิดาในฟาโรห์อเคนาเทนกับพระนางเนเฟอร์ติติ
เจ้าหญิงเนเฟอร์เนเฟรูเรและเจ้าหญิงเนเฟอร์เนเฟรูอาเตน (ด้านขวา) จากภาพวาดบนฝาผนังพระราชวังในเมืองอาร์มานา

พระราชวงศ์ แก้

พระองค์ประสูติในช่วงระหว่างปีที่ 8 หรือปีที่ 9[1] แห่งการครองราชย์ของพระบิดา พระองค์เป็นหนึ่งในบรรดาหกพระราชธิดาในฟาโรห์อเคนาเทนโดยเท่าที่ทราบ และเป็นไปได้ว่าพระองค์จะสูติที่เมืองอเคนาเทน (เมืองอาร์มานาในปัจจุบัน) พระนามของพระองค์คือ เนเฟอร์เนเฟรูอาเตน ซึ่งมีความหมายว่า ความงามของความงามแห่งอาเตน หรือ ความงามอันเป็นที่สุดแห่งอาเตน[2] พระองค์มีพระภคิณีสามพระองค์คือ พระนางเมริทอาเตน, เจ้าหญิงเมเคตอาเตน, พระนางอังค์เอสเอ็นปาอาเตน และมีพระขนิษฐาอีกสองพระองค์คือ เจ้าหญิงเนเฟอร์เนเฟรูเร และเจ้าหญิงเซเตเพนเร[3]

พระประวัติ แก้

 
จากซ้ายไปขวา: เจ้าหญิงเซเตเพนเร, เจ้าหญิงเนเฟอร์เนเฟรูเร, และเจ้าหญิงเนเฟอร์เนเฟรูอาเตน ตาเชริท ที่ภาพสลักดูร์บาร์ในปีที่ 12

หลักฐานชิ้นแรกๆ ที่ปรากฏถึงการมีตัวตนของพระองค์คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระราชวังในเมืองอาร์มานาเป็นภาพวาดสีที่บรรยายขณะที่พระองค์กำลังประทับเล่นบนหมอนร่วมกับเจ้าหญิงเนเฟอร์เนเฟรูเร ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงปีที่ 9 แห่งการครองราชย์ของพระบิดา โดยมีภาพของพระราชวงศ์ทุกพระองค์รวมถึงเจ้าหญิงเซเตเพนเรในขณะที่เป็นทารก

พระองค์ปรากฏอยู่บนภาพสลักภายในหลุมฝังศพหลายๆ แห่งในเมืองอาร์มานา และยังปรากฏบนฐานรูปสลักที่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นที่เมืองอาร์มานา แต่ต่อมาก็ย้ายมาที่เมืองเฮลิโอโปลิส โดยกล่าวถึงเทพอาเตนกับฟาโรห์อาเคนาเทน และส่วนฐานของรูปส่วนจะกล่าวถึงพระนางอังค์เอสเอนปาอาเตนกับพระองค์

ในหลุมฝังศพของขุนนางระดับสูงนามว่า ฮูยา ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าเสนาบดีในพระองค์ โดยปรากฏอยู่ในภาพพระราชวงศ์บนทับหลังบนผนังด้านทิศเหนือ ซึ่งเป็นภาพที่มีฟาโรห์อเคนาเทนกับพระนางเนเฟอร์ติติอยู่ทางด้านซ้ายร่วมกับพระราชธิดาพระองค์โตสี่พระองค์ ในขณะเดียวทางด้านขวาปรากฏภาพสลักของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 พระนางติเย ร่วมกับเจ้าหญิงเบเคตอาเทน ส่วนภาพในหลุมฝังศพของเมริเรที่ 2 ปรากฏภาพของพระองค์ร่วมกับพระภคินีและพระขนิษฐาอีกสี่พระองค์ (ยกเว้นเพียงเจ้าหญิงเซเตเพนเรเท่านั้นที่หายไป)

พระองค์ปรากฏอยู่บนภาพสลักดูร์บาร์ในปีที่ 12 แห่งการครองราชย์ของพระบิดา ในหลุมฝังศพของนักบวชชั้นสูงนามว่า เมริเรที่ 2 ในเมืองอาร์มานา โดยเป็นภาพที่ฟาโรห์อเคนาเทนกับพระนางเนเฟอร์ติติกำลังรับของขวัญจากดินแดนต่างๆ ซึ่งพระองค์กำลังถือสิ่งของที่เสียหายเกินที่จะระบุว่าเป็นอะไร เจ้าหญิงเนเฟอร์เนเฟรูเรกำลังอุ้มตัวเนื้อทราย และเจ้าหญิงเซเตเพนเรกำลังอุ้มสัตว์เลี้ยง[4] ซึ่งทั้งสองพระองค์ยืนอยู่ข้างหลังเจ้าหญิงเนเฟอร์เนเฟรูอาเตน

ทั้งนี้ พระองค์ยังปรากฏบนภาพสลักของปาเนเฮซิ โดยพระองค์ยืนภายในอาคารใกล้หน้าต่าง ในขณะที่ฟาโรห์อเคนาเทนและพระนางเนเฟอร์ติติกำลังให้เกียรติกับผู้เคารพบูชาเทพอาเตนคนแรกนามว่า ปานาเฮซิ และยังปรากฏบนภาพสลักหนึ่งในภายในสุสานเป็นภาพที่พระองค์และพระภคินีอีกสามพระองค์ร่วมกับพระบิดาและพระมารดาแสดงการถวายดอกไม้แด่เทพอาเทน โดยพระราชธิดาทั้งสี่นั้นล้วนแต่ถือช่อดอกไม้[5]

 
ภาพวาดที่มีพระองค์ร่วมกับเชื้อพระวงศ์

ปีสุดท้ายและการสิ้นพระชนม์ แก้

ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นกับพระองค์ แต่มีข้อสันนิษฐานว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ก่อนที่ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนกับพระนางอังค์เอสเอนปาอาเตนจะขึ้นครองราชย์ เป็นไปได้ว่าเป็นหนึ่งในเชื้อพระวงศ์ที่ถูกฝังอยู่ในห้องอัลฟา ณ สุสานหลวงในเมืองอาร์มานา

และยังมีข้อสันนิษฐานว่าพระองค์อาจจะเป็นผู้ปกครองร่วมกันกับฟาโรห์อเคนาเตน[6] แต่ก็ยังเป็นข้อถกเถียงอยู่ ซึ่งผู้ปกครองร่วมอาจจะเป็นพระนางเนเฟอร์ติติหรือพระนางเมริทอาเตน ผู้เป็นพระเชษฐาภคินีของพระองค์

อ้างอิง แก้

  1. Aldred, Cyril, Akhenaten: King of Egypt ,Thames and Hudson, 1991 (paperback), ISBN 0-500-27621-8
  2. Tyldesley, Joyce. Nefertiti: Egypt's Sun Queen. Penguin. 1998. ISBN 0-670-86998-8
  3. Dodson, Aidan and Hilton, Dyan. The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson. 2004. ISBN 0-500-05128-3
  4. Murnane, William J., Texts from the Amarna Period in Egypt, Society of Biblical Literature, 1995 ISBN 1-55540-966-0
  5. Dodson, Aidan, Amarna Sunset: Nefertiti, Tutankhamun, Ay, Horemheb, and the Egyptian Counter-Reformation. The American University in Cairo Press. 2009, ISBN 978-977-416-304-3
  6. J.P. Allen, The Amarna Succession, in Causing His Name to Live: Studies in Egyptian Epigraphy and History in Memory of William J. Murnane, ed. P. Brand and L. Cooper, Culture and history of the Ancient Near East 37. Leiden: Brill, 2009 p. 14.