เทอุฬะ (โอเดีย: ଦେଉଳ deuḷa) เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมในสถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์แบบกลิงคะ ที่พบได้ในโบสถ์พราหมณ์ของโอริศาในอินเดียตะวันตก[1] คำว่า "เทอุฬะ" มาจากภาษาโอริยา เป็นคำเรียกเฉพาะของสิ่งปลูกสร้างรูปแบบเฉพาะที่พบได้ในวิหารส่วนใหญ่ในโอริศา[2]

"ศิขรเทอุฬะ" ที่ ลิงคราชเทวสถาน

เทอุฬะสามารถแบ่งย่อยได้เป็นสามรูปแบบหลัก ๆ คือ[3] เรขเทอุฬะ (Rekha Deula) โดยมาจากคำว่า เรข ในภาษาโอริยา ซึ่งแปลว่าเส้นตรง เรขเทอุฬะมีลักษณะเทียบเท่ากับศิขร ตั้งอยู่เหนือครรภคฤห์ในสถาปัตยกรรมของอินเดียเหนือ, ปีธเทอุฬะ (Pidha Deula) มีลักษณะเป็นรูปพิรามิด คลุมสิ่งปลูกสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เทียบเท่าได้กับวิมานในวิหารแบบทราวิฑ และ กขารเทอุฬะ (Khakhara deula) มาจากคำโอริยาคำว่า กขารุ แปลว่า ผลน้ำเต้า มีลักษณะเป็นพิรามิดสูงชะลูด เทียบเท่ากับโคปุรัม

อ้างอิง แก้

  1. "Architecture on the Indian Subcontinent - Glossary". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-06. สืบค้นเมื่อ 2007-01-26.
  2. Fergusson, James. "ORISSA". History of Indian and Eastern Architecture. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 92–116. doi:10.1017/cbo9781139814638.007.
  3. http://orissa.gov.in/e-magazine/Orissareview/nov2005/engpdf/Orissan_Temple_Architecture.pdf p. 45-47

แหล่งข้อมูลอื่น แก้