สถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์
สถาปัตยกรรมศาสนสถานฮินดู เป็นรูปแบบหลักของสถาปัตยกรรมฮินดู มีรูปแบบที่หลากหลาย อย่างไรก็ตามธรรมขาติพื้นฐานของโบสถ์พราหมณ์แต่ละแห่งล้วนเหมือนกัน คือมีองค์ประกอบพื้นฐาน “ครรภคฤห์” คือห้องด้านในที่ประดิษฐานมูรติองค์หลักของวัด ในห้องที่สร้างขึ้นอย่างเรียบง่าย โครงสร้างอื่น ๆ ที่สร้างขึ้นล้อมรอบห้องครรภคฤห์นั้นก็มีความแตกต่างกันไป โครงสร้างที่เป็นหอครอบด้านบนของครรภคฤห์เรียกว่า “ศิขร” ในอินเดียเหนือ หรือ “วิมานัม” ในอินเดียใต้ และ “เปอลิงกีฮ์เมรู” ในบาหลี อาคารศาลนั้นมักมีพื้นที่ ambulatory สำหรับทำปริกรม (circumambulation) และมีอาคารอื่น ๆ เช่น มณฑป, อันตรละ[1]
สถาปัตยกรรมนี้แสดงออกถึงแนวคิดและอุดมคติของธรรมะ, ความเชื่อ, คุณค่า และวิถีชิวิตแบบฮินดู ถือกันว่าโบสถ์พราหมณ์เป็นสถานที่สำหรับการตีรถะและเกษตระ-แสวงบุญ[2] องค์ประกอบของจักรวาลที่ล้วนสร้างสรรค์ชีวิตในเทววิทยาฮินดู ล้วนแสดงออกผ่านทางสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏในโบสถ์พราหมณ์ ไฟและน้ำ ภาพธรรมชาติและเทพเจ้า สตรีและบุรุษ กามและอรฐะ เสียงสวดมนต์และกลิ่นของธูปหอม ความเป็นมุนษย์และความว่างเปล่า ทุกสิ่งล้วนพบในสถาปัตยกรรมของโบสถ์พราหมณ์[2] รูปแบบและความหมายขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมในโบสถ์พราหมณ์นั้นถูกออกแบบขึ้นมาให้โบสถ์พราหมณ์เป็นที่เชื่อมต่อระหว่างมนุษย์และเทพเจ้า ช่วยให้มนุษย์สามารถสร้างและเรียนรู้ความรู้ทางจิตวิญญาณ ความจริงนิรันดร์ และการหลุดพ้น “โมกษะ[3]
หลักการทางสถาปัตยกรรมของโบสถ์พราหมณ์มีระบุไว้ในคัมภีร์ ศิลปศาสตร์ และ วาสตุศาสตร์[4][5]
ลักษณะที่แตกต่างกันของสถาปัตยกรรม
แก้จอร์จ มิเชลล์ระบุว่าคัมภีร์เก่าแก่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของฮินดู เช่น พริหัตสัมหิตา (Brihatsamhita) แบ่งวัดออกดป็นห้าระดับตามลักษณะทั่วไป คือ แบบนครา, ทราวิฑา, เวสรา, วงรี และ สี่เหลี่ยม แปลนการสร้างก็แบ่งย่อยออกเป็นทั้งแบบจตุรัส, แปดเหลี่ยม และ ทรงมุขโค้งด้านสกัด ในแต่ละสถาปัตยกรรมมีการสร้างคำศัพท์ต่าง ๆ ขึ้นเป็นของตน บางคำก็ทับซ้อนกันแต่อาจไม่ได้หมายถึงหรือเทียบเทียงกับสิ่งเดียวกันในอีกสถาปัตยกรรม[6] หากแบ่งตามช่วงเวลา แบบคลาสสิก (จนถึงราวศตวรรษที่ 7-8) คือแบบที่เก่าแก่ที่สุด, บ้างเรียกยุคศตวรรษที่ 12-13 ว่าเป็นแบบยุคกลาง
นอกจากแนวคิดทางศาสนา ปรัมปรา และคัมภีร์แล้ว สถาปัตยกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นผลจากนวัตกรรมพื้นถิ่น วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น และภูมิอากาศ[7] อาจมีพบวัสดุบางชนิดที่นำเข้ามาจากพื้นที่อื่น แต่ส่วนใหญ่ก็สร้างจากวัสดุที่หาได้ในพื้นที่ ในบางพื้นที่เช่นกรนาฏกะใต้พบหินจำพวกอ่อน ทำให้สถาปัตยกรรมแบบฮอยศาลามีลักษณะที่ยากจะใช้หินแข็งพวกคริสตัลลีนมาสร้าง[7] บางพื้นที่ก็มีการแกะสลักเข้าไปในภูเขาหินด้วยพื้นที่ที่มีภูมิลักษณะเอื้ออำนวย ในบางพื้นที่ที่ไม่สามารถพบหินสำหรับก่อสร้างได้ทั่วไปก็เกิดการพัฒนาอิฐมาใช้ในการสร้างจำนวนมาก วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นจึงมีผลมากต่อการพัฒนาลักษณะสถาปัตยกรรมเฉพาะของแต่ละแหล่ง[7]
สถาปัตยกรรมทราวิฑและสถาปัตยกรรมนคร
แก้ในบรรดาสถาปัตยกรรมที่แตกต่างในอินเดีย สถาปัตยกรรมสองแบบที่พบได้ทั่วไปที่สุดคือ “สถาปัตยกรรมแบบนคร” หรือแบบอินเดียเหนือ และ “สถาปัตยกรรมทราวิฑ” หรือแบบอินเดียใต้[8]
องค์ประกอบ | สถาปัตยกรรมนคร[9] | สถาปัตยกรรมทราวิฑ[10][11] | อ้างอิง |
---|---|---|---|
ยอดหอคอยหลักของวัด | ศิขร | วิมานซึ่งอาจมีหลายชั้น มีศิขรอยู่ด้านบน | [12] |
ยอดมณฑป | ใช่ | ไม่ | [13] |
ห้องบูชาภายใน | ชั้นเดียวหรือหลายชั้น | ทั่วไปแล้วชั้นเดียว (แต่วิมานอาจมีหลายชั้น) | [14] |
โคปุระ | ไม่โดดเด่น | โดดเด่น แต่ไม่ได้บังคับ โดยทั้วไปแล้วสูงกว่าวิมานในราวหลังศตวรรษที่ 10 |
สถาปัตยกรรมกลิงคะ
แก้รูปแบบกลิงคะพบได้มากในแถบโอฑิศาและอานธรประเทศเหนือ รูปแบบนี้มีอยู่สามประเภทย่อยที่สำคัญ คือ เรขเทวลา (Rekha Deula), ปีธเทวลา (Pidha Deula) และ ขขรเทวลา (Khakhara Deula) โดยคำว่าเทวลาหมายถึงเทวาลัยในภาษาโอเดีย สองแบบแรกเกี่ยวเนื่องกับพระวิษณุ, พระสูรยะ และ พระศิวะ ส่วนแบบที่สามมักเกี่ยวกับพระจมุนทะ และ พระทุรคา
ตัวอย่างสำคัญของเรขเทวลา คือ ลิงคราชเทวาลัยในภุพเนศวร และ ชคันนาถเทวาลัยแห่งปุรี ขขรเทวลาที่สำคัญ เช่น ไวฏลเทวลา ส่วนอาคารมุขศาลาของโกณารกสูรยมนเทียรเป็นตัวอย่างสำคัญของปีธเทวลา
อภิธานศัพท์
แก้รายการนี้ยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยได้โดยเพิ่มข้อมูล |
นี่คือตัวอย่างคำศัพท์เฉพาะที่พบในสถาปัตยกรรมโบสถ์ฮินดู[15]
คำสัพท์ | คำอธิบาย | คำใกล้เคียง | เอกสารฮินดูที่ พูดถึง หรือ ระบุกฏการสร้าง |
อ้างอิง | ภาพ |
---|---|---|---|---|---|
อทิสถาน | ฐานใต้เสา, plinth, ฐานซึ่งตั้งอาคารหรือเสาของวัด | Athavaksham, ปิสตา, Pitha | Manasara XIV, Kamikagama 35, Suprabhedagama 31 | [16] | |
อมลัก | มงกุฏยอดประดับบนยอดของศิขร รองรับกลศะ
ลักษณะคล้ายกับผลมะขามป้อม (อมโลก) |
Mayamata silpasastra | [16][17] | ||
อันตรละ | แปลตรงตัวว่า ช่องว่างภายในอาคาร เป็นพื้นที่มัธยันตร์ที่อยู่ระหว่างห้องบูชาและบริเวณจุดรวมตัวของสาธุขน | สุขนสี (Sukhanasi) | Manasara XV, XXIII; Kamikagama XXXV | [16][17] | |
อรรธมณฑป | โถงครึ่งหนึ่งที่ทางเข้าแต่ละทางเข้า โดยทั่วไปเป็นบริวเณต้อนรับที่เชื่อมต่อเข้ากับมณฑป | Manasara XIV, Kamikagama 35, Suprabhedagama 31 | [16] | ||
อายาตนะ | โถงรวมพล, พื้นที่ภายในวิหาร | Agni Purana XLIII, Matsya Purana CCLXX, Chandogya Upanishad 6.8.2 | [18] | ||
ภัทระ | ภาพฉายที่มักจะตรงกับหนึ่งในทิศหลัก โดยทั่วไปแล้วเป็นส่วนตรงกลางของผนัง | Manasara XXX-XXXIV | [16] | ||
คณะ | คนแคระตามตำนานมักมีท้องพลุ้ยและมีสีหน้าสนุกสนาน | [19] | |||
ครรภคฤห์ | ห้องภายในสุดที่ประดิษฐานมูรติ ส่วนใหญ่ภายในไม่มีการประดับตกแต่ง | ครรภคฤยะ, ครรภคีหะ, สิพิกะ, ครรภะ, มูลสถาน | Brihat Samhita LXI | [15] | |
ควากษะ | แม่ลายบนซุ้มโค้งลักษณะคล้ายเกือกม้า พบกับหน้าต่างหรือตกแต่งยอดหอ เสา และองคืประกอบอื่น ๆ | Gavaksa, kudu | [20][21] | ||
โคปุระ | ซุ้มประตู พบขนาดใหญ่ในอินเดียใต้ มีที่มาจากอาศรมอินเดียโบราณและคำยุคพระเวท “โคมาติปุระ”[22] | โคปุรัม, ทวารอัตตลัก | Agni Purana XLII, Manasara XI, XXXIII verses 1-601, LVIII | [23][24] | |
หระ | ชิ้นส่วนคอ เช่น สร้อย | [25] | |||
ชาฬี | ตะแกรงตาข่าย | ชลา, อินทรโกษถ์ | [26] | ||
ชคติ | ฐานหล่อ ส่วนหนึ่งของระเบียงเพื่อยืนหรือเวียนเทียน | ชคตะ, ปิฐิกา, ชคติปิฐิกา, กติ, วสุธา | Samarangana-sutradhara LXVIII, Agni Purana XLII, Suprabhedagama 31.19 | [16][27] | |
กลศะ | ยอดบนสุดของหอคอยต่าง ๆ | กลศัม, สถูปี, กุมุท, กลัศ | Agni Purana CIV, Kamikagama 55 | [19][28] | |
กุนทา | พื้นนำในอาราม, บ่อน้ำขั้นบันได, บ่อน้ำ | ปุษกรณี, สระ, สาคร, ตทัค, อุทปานะ, วาระ, วาปี | Garuda Purana XLVI, Mahanirvana tantra XIII | [29] | |
ละตะ | พืชเถาเลื้อย พบในศิขรเช่นกัน | [30] | |||
มกร | มังกรตามคติอินเดีย | Suprabhedagama 31.68-72 | [31] | ||
มณฑป | ศาลาที่ล้อมด้วยเสาต่าง ๆ ใช้ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน | มัณฑปัม, มันตปะ, ชคโมหัน | Manasara XXXII-XXXIV, Kamikagama 50, Brihat samhita, Vishnu Purana 6.124-136 | [32][23][33] | |
มูลประสาท | ศาลเจ้าหลักในหมู่โบสถ์ | [32] | |||
นิศา | เวิ้งหรือโพรงในกำแพงหรือเสา ไว้ตั้งรูปปั้นหรืออื่น ๆ | [34] | |||
ญสะ | ศิลปะแห่งการจัดวางภาพ ลายสลัก เพื่อให้เกิดการจัดวางที่ล่าเรื่องหรือเป็นไปตามปรัมปรา | Vastusutra Upanishad VI | [34][35] | ||
ปราการ | ผนังที่แยกพื้นที่ด้านในและด้านนอกของโบสถ์พราหมณ์ออกจากกัน โดยทั่วไปมีลักษณะแข็งแรงและป้องกันตนเอง | [36][37] | |||
ปรัสตร | โครงสร้างขนาดใหญ่ระหว่างบนเสาหรือชายคาในแนวนอน บางครั้งทำหน้าที่เป็นเชิงเทินของเสน | ไจว, โคปานัม, กโปตัม, มันจาม | Manasara XVI, ; Kamikagama LIV | [38][39][40] | |
รัถ | โครงสร้างคล้ายล้อรถ | [41] |
อ้างอิง
แก้- ↑ These are the usual terms, but there are many variants or different ones in the many Indian languages, ancient and modern.
- ↑ 2.0 2.1 Stella Kramrisch, The Hindu Temple, Vol 1, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0222-3
- ↑ George Michell 1988, pp. 60–61.
- ↑ Jack Hebner (2010), Architecture of the Vastu Sastra - According to Sacred Science, in Science of the Sacred (Editor: David Osborn), ISBN 978-0557277247, pp 85-92; N Lahiri (1996), Archaeological landscapes and textual images: a study of the sacred geography of late medieval Ballabgarh, World Archaeology, 28(2), pp 244-264
- ↑ BB Dutt (1925), Town planning in Ancient India ที่กูเกิล หนังสือ, ISBN 978-81-8205-487-5
- ↑ George Michell 1988, p. 88.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 George Michell 1988, p. 88-89.
- ↑ Hardy (1995), 5; Michell (1988), 88-89
- ↑ Madhusudan A. Dhaky (1977). The Indian Temple Forms in Karṇāṭa Inscriptions and Architecture. Abhinav Publications. pp. 7–13. ISBN 978-81-7017-065-5.
- ↑ Hardy (1995), 5-8
- ↑ Madhusudan A. Dhaky (1977). The Indian Temple Forms in Karṇāṭa Inscriptions and Architecture. Abhinav Publications. pp. 14–19. ISBN 978-81-7017-065-5.
- ↑ Vinayak Bharne & Krupali Krusche 2014, p. 68-70, 74-75.
- ↑ Vinayak Bharne & Krupali Krusche 2014, p. 68-70.
- ↑ Vinayak Bharne & Krupali Krusche 2014, p. 66-70.
- ↑ 15.0 15.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-02. สืบค้นเมื่อ 2019-10-14.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 Adam Hardy 1995, p. 387.
- ↑ 17.0 17.1 Vinayak Bharne & Krupali Krusche 2014, p. 283.
- ↑ Prasanna Kumar Acharya 2010, pp. 59–60.
- ↑ 19.0 19.1 Adam Hardy 1995, p. 388.
- ↑ Vinayak Bharne & Krupali Krusche 2014, p. 73-80.
- ↑ George Michell 2000, pp. 39–44.
- ↑ Prasanna Kumar Acharya 2010, p. 157.
- ↑ 23.0 23.1 Vinayak Bharne & Krupali Krusche 2014, p. 284.
- ↑ Prasanna Kumar Acharya 2010, pp. 157–161.
- ↑ Alice Boner & Sadāśiva Rath Śarmā 2005, p. 147.
- ↑ Prasanna Kumar Acharya 2010, pp. 68, 190.
- ↑ Stella Kramrisch 1976, p. 145 with footnote 44.
- ↑ Prasanna Kumar Acharya 2010, pp. 108–109.
- ↑ Prasanna Kumar Acharya 2010, pp. 74, 162, 192, 312, 454.
- ↑ Alice Boner & Sadāśiva Rath Śarmā 2005, p. 151.
- ↑ Prasanna Kumar Acharya 2010, pp. 219, 389.
- ↑ 32.0 32.1 Adam Hardy 1995, p. 389.
- ↑ Prasanna Kumar Acharya 2010, pp. 468–489, 513.
- ↑ 34.0 34.1 Alice Boner & Sadāśiva Rath Śarmā 2005, p. 154.
- ↑ Alice Boner; Sadāśiva Rath Śarmā; Bettina Bäumer (1996). The essence of form in sacred art. Motilal Banarsidass. pp. 79–99. ISBN 978-81-208-0090-8.
- ↑ Vinayak Bharne & Krupali Krusche 2014, p. 285.
- ↑ O. M. Starza (1993). The Jagannatha Temple at Puri: Its Architecture, Art, and Cult. BRILL Academic. pp. 20–21. ISBN 978-90-04-09673-8.
- ↑ Adam Hardy 1995, p. 82, 390.
- ↑ Vinayak Bharne & Krupali Krusche 2014, pp. 112, 126–130, 149–152, 280.
- ↑ Prasanna Kumar Acharya 2010, pp. 328–336.
- ↑ Harle, 153, 252
บรรณานุกรม
แก้- Prasanna Kumar Acharya (2010), An encyclopaedia of Hindu architecture, Oxford University Press (Republished by Motilal Banarsidass), ISBN 978-81-7536-534-6
- Prasanna Kumar Acharya (1997). A Dictionary of Hindu Architecture: Treating of Sanskrit Architectural Terms with Illustrative Quotations. Oxford University Press (Reprinted in 1997 by Motilal Banarsidass). ISBN 978-81-7536-113-3.
- Prasanna Kumar Acharya (1996). Hindu Architecture in India and Abroad. Laurier. ISBN 978-81-215-0732-5.
- Vinayak Bharne; Krupali Krusche (2014), Rediscovering the Hindu Temple: The Sacred Architecture and Urbanism of India, Cambridge Scholars Publishing, ISBN 978-1-4438-6734-4
- Alice Boner (1990). Principles of Composition in Hindu Sculpture: Cave Temple Period. Motilal Banarsidass. ISBN 978-81-208-0705-1.
- Alice Boner; Sadāśiva Rath Śarmā (2005), Silpa Prakasa, Brill Academic (Reprinted by Motilal Banarsidass), ISBN 978-8120820524
- A.K. Coomaraswamy; Michael W. Meister (1995). Essays in Architectural Theory. Indira Gandhi National Centre for the Arts. ISBN 978-0-19-563805-9.
- Dehejia, V. (1997). Indian Art. Phaidon: London. ISBN 0-7148-3496-3.
- Adam Hardy (1995), Indian Temple Architecture: Form and Transformation, Abhinav Publications, ISBN 978-81-7017-312-0
- Adam Hardy (2007). The Temple Architecture of India. Wiley. ISBN 978-0470028278.
- Adam Hardy (2015). Theory and Practice of Temple Architecture in Medieval India: Bhoja's Samarāṅgaṇasūtradhāra and the Bhojpur Line Drawings. Indira Gandhi National Centre for the Arts. ISBN 978-93-81406-41-0.
- Hardy, Adam (2007). The Temple Architecture of India, Wiley: Chichester. ISBN 978-0-470-02827-8
- Harle, J.C., The Art and Architecture of the Indian Subcontinent, 2nd edn. 1994, Yale University Press Pelican History of Art, ISBN 0300062176
- Knut A. Jacobsen; Helene Basu; Angelika Malinar; และคณะ (2009). Brill's Encyclopedia of Hinduism: Sacred texts, ritual traditions, arts, concepts. Brill Academic. ISBN 978-90-04-17893-9.
- Monica Juneja (2001). Architecture in Medieval India: Forms, Contexts, Histories. Orient Blackswan. ISBN 978-8178242286.
- Stella Kramrisch (1976), The Hindu Temple Volume 1, Motilal Banarsidass (Reprinted 1946 Princeton University Press), ISBN 978-81-208-0223-0
- Stella Kramrisch (1979). The Hindu Temple Volume 2. Motilal Banarsidass (Reprinted 1946 Princeton University Press). ISBN 978-81-208-0224-7.
- Michael W. Meister; Madhusudan Dhaky (1986). Encyclopaedia of Indian temple architecture. American Institute of Indian Studies. ISBN 978-0-8122-7992-4.
- George Michell (1988), The Hindu Temple: An Introduction to Its Meaning and Forms, University of Chicago Press, ISBN 978-0-226-53230-1
- George Michell (2000), Hindu Art and Architecture, Thames & Hudson, ISBN 978-0-500-20337-8
- George Michell (1995), Architecture and Art of Southern India, Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-44110-0
- T. A. Gopinatha Rao (1993). Elements of Hindu iconography. Motilal Banarsidass. ISBN 978-81-208-0878-2.
- Rajan, K.V. Soundara (1998). Rock-Cut Temple Styles. Somaiya Publications: Mumbai. ISBN 81-7039-218-7
- Ajay J. Sinha (2000). Imagining Architects: Creativity in the Religious Monuments of India. University of Delaware Press. ISBN 978-0-87413-684-5.
- Stella Snead; Wendy Doniger; George Michell (1989). Animals in Four Worlds: Sculptures from India. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-76726-0.
- D Srinivasan (1997). Many Heads, Arms, and Eyes: Origin, Meaning, and Form of Multiplicity in Indian Art. BRILL Academic. ISBN 978-90-04-10758-8.
- Burton Stein (1978). South Indian Temples. Vikas. ISBN 978-0706904499.
- Burton Stein (1989). The New Cambridge History of India: Vijayanagara. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-26693-2.
- Burton Stein; David Arnold (2010). A History of India. John Wiley & Sons. ISBN 978-1-4443-2351-1.
- Kapila Vatsyayan (1997). The Square and the Circle of the Indian Arts. Abhinav Publications. ISBN 978-81-7017-362-5.