เทอรอสติลบีน (อังกฤษ: Pterostilbene, /ˌtɛrəˈstɪlbn/) (trans-3,5-dimethoxy-4-hydroxystilbene) เป็นอนุพันธ์ของสติลบีน (stilbenoid) ซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีเกี่ยวข้องกับเรสเวอราทรอล[1] เทอรอสติลบีนเป็นสารในกลุ่มไฟโตอเล็กซินซึ่งทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อในพืช[2]

เทอรอสติลบีน
ชื่อ
Preferred IUPAC name
4-[(E)-2-(3,5-Dimethoxyphenyl)ethen-1-yl]phenol
ชื่ออื่น
3',5'-Dimethoxy-4-stilbenol
3,5-Dimethoxy-4'-hydroxy-E-stilbene
3',5'-Dimethoxy-resveratrol
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
ChEBI
ChEMBL
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.122.141 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
UNII
  • InChI=1S/C16H16O3/c1-18-15-9-13(10-16(11-15)19-2)4-3-12-5-7-14(17)8-6-12/h3-11,17H,1-2H3/b4-3+ checkY
    Key: VLEUZFDZJKSGMX-ONEGZZNKSA-N checkY
  • InChI=1S/C16H16O3/c1-18-15-9-13(10-16(11-15)19-2)4-3-12-5-7-14(17)8-6-12/h3-11,17H,1-2H3/b4-3+
    Key: VLEUZFDZJKSGMX-ONEGZZNKBK
  • Key: VLEUZFDZJKSGMX-ONEGZZNKSA-N
  • O(c1cc(cc(OC)c1)\C=C\c2ccc(O)cc2)C
คุณสมบัติ
C16H16O3
มวลโมเลกุล 256.301 g·mol−1
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

ในธรรมชาติ แก้

เทอรอสติลบีนพบได้ในอัลมอนด์[3] ผลไม้ในสกุล Vaccinium (รวมถึงบลูเบอร์รี[4][5][6]), ใบและเถาองุ่น[2][7] และแก่นไม้ของต้นประดู่อินเดีย (Pterocarpus marsupium)[5]

คุณลักษณะ แก้

เทอรอสติลบีนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเช่นเดียวกับเรสเวอราทรอล[8] และได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง[9] โดยสารประกอบนี้สามารถทำหน้าที่ป้องกันทางเคมีในมะเร็งบางชนิด รวมทั้งมะเร็งต่อมลูกหมาก[10] เทอรอสติลบีนแตกต่างจากเรสเวอราทรอลโดยแสดงการเพิ่มขึ้นของชีวปริมาณออกฤทธิ์ (ร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับร้อยละ 20 ในเรสเวอราทรอล) เนื่องจากมีหมู่เมทอกซีสองกลุ่มซึ่งทำให้มีสารที่ไม่ชอบน้ำ (lipophilic) และการดูดซึมทางการรับประทานเพิ่มขึ้น[5][11]

นอกจากนี้ในการทดสอบกับหนูทดลองพบว่าเทอรอสติลบีน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ[12] และยังพบว่ามีคุณสมบัติต้านการอักเสบ โดยเป็นตัวยับยั้งเอนไซม์ไซโคลออกซิจีเนส-1 และ -2 (cyclooxygenase; COX-1 และ COX-2)[13]

เทอรอสติลบีนยังสามารถลดคอเลสเตอรอลชนิด LDL โดยเทียบได้กับฤทธิ์ของซิโปรไฟเบรต (ciprofibrate)[14]

ความปลอดภัยและการควบคุม แก้

เทอรอสติลบีนถือเป็นสารกัดกร่อน เป็นอันตรายเมื่อเข้าตา และเป็นชีวพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ[1] การทดลองซึ่งอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีที่ได้รับเทอรอสติลบีนแบบสุ่ม อำพรางสองฝ่าย และควบคุมด้วยยาหลอก เป็นเวลา 6–8 สัปดาห์ แสดงให้เห็นว่าเทอรอสติลบีนปลอดภัยสำหรับการใช้ในมนุษย์ ในขนาดสูงถึง 250 มิลลิกรัมต่อวัน[15]

เทอรอสติลบีนซึ่งเกี่ยวข้องทางเคมีกับเรสเวอราทรอล ได้รับสถานะสารที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัย (Generally recognized as safe: GRAS) โดยองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ในปี พ.ศ. 2550[16] และสารเรสเวอราทรอลสังเคราะห์ได้รับการอนุมัติให้เป็นสารประกอบที่ปลอดภัยโดยองค์กรความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority, EFSA) ในปี พ.ศ. 2559[17]

การวิจัย แก้

เทอรอสติลบีนได้รับการศึกษาในห้องปฏิบัติการ และมีการทดลองทางคลินิกในเบื้องต้น[1]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "Pterostilbene, CID 5281727". PubChem, National Library of Medicine, US National Institutes of Health. 16 พฤศจิกายน 2019. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2019.
  2. 2.0 2.1 Langcake, P.; Pryce, R. J. (กุมภาพันธ์ 1977). "A new class of phytoalexins from grapevines". Experientia. 33 (2): 151–152. doi:10.1007/BF02124034. PMID 844529. S2CID 34370048.
  3. Xie L, Bolling BW (1 เมษายน 2014). "Characterisation of stilbenes in California almonds (Prunus dulcis) by UHPLC-MS". Food Chem. 148: 300–306. doi:10.1016/j.foodchem.2013.10.057. PMID 24262561.
  4. "Pterostilbene's healthy potential". Online Magazine. Vol. 54 no. 11. US Department of Agriculture. 1 พฤศจิกายน 2006. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2016.
  5. 5.0 5.1 5.2 McCormack, Denise; McFadden, David (4 เมษายน 2013). "A review of pterostilbene antioxidant activity and disease modification". Oxidative Medicine and Cellular Longevity. 2013: 1–15. doi:10.1155/2013/575482. ISSN 1942-0900. PMC 3649683. PMID 23691264.
  6. Rimando AM, Kalt W, Magee JB, Dewey J, Ballington JR (3 กรกฎาคม 2004). "Resveratrol, pterostilbene, and piceatannol in vaccinium berries". J Agric Food Chem. 52 (15): 4713–9. doi:10.1021/jf040095e. PMID 15264904.
  7. Becker L, Carré V, Poutaraud A, Merdinoglu D, Chaimbault P (21 กรกฎาคม 2014). "MALDI mass spectrometry imaging for the simultaneous location of resveratrol, pterostilbene and viniferins on grapevine leaves". Molecules. 19 (7): 10587–600. doi:10.3390/molecules190710587. PMC 6271053. PMID 25050857.
  8. Agnes M. Rimando; Muriel Cuendet; Cristian Desmarchelier; Rajendra G. Mehta; John M. Pezzuto; Stephen O. Duke (5 มิถุนายน 2002). "Cancer chemopreventive and antioxidant activities of pterostilbene, a naturally occurring analogue of resveratrol". J. Agric. Food Chem. 50: 3453–3457. doi:10.1021/jf0116855.
  9. Agnes M. Rimando; John M. Pezzuto; Norman R. Farnsworth; Thawatchai Santisuk; Vichai Reutrakul (1994). "Revision of the NMR Assignments of Pterostilbene and of Dihydrodehydrodiconieferyl alcohol: Cytotoxic Constituents from Anogeissus acuminata". Nat. Prod. Lett. 4 (4): 267–272. doi:10.1080/10575639408043917.
  10. Lin V.C.; Tsai Y.C.; Lin J.N.; Fan L.L.; และคณะ (มิถุนายน 2012). "Activation of AMPK by pterostilbene suppresses lipogenesis and cell-cycle progression in p53 positive and negative human prostate cancer cells". J. Agric. Food Chem. 60 (25): 6399–6407. doi:10.1021/jf301499e.
  11. "Informatiepagina over pterostilbeen". Stichting Orthokennis (ภาษาดัตช์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 สิงหาคม 2015.
  12. Manickam M.; Ramanathan M.; Jahromi M.A.; Chansouria J.P.; Ray A.B. (มิถุนายน 1997). "Antihyperglycemic activity of phenolics from Pterocarpus marsupium". J. Nat. Prod. 60 (6): 609–610. PMID 9214733.
  13. Likhitwitayawuid, Kittisak; Sawasdee, Kanokporn; Kirtikara, Kanyawim (2002). "Flavonoids and Stilbenoids with COX-1 and COX-2 Inhibitory Activity from Dracaena loureiri". Planta Medica. 68 (9): 841–843. doi:10.1055/s-2002-34403.
  14. Agnes Rimando; และคณะ (13 มีนาคม 2012). "U.S. Patent 8133917, "Pterostilbene as an agonist for the peroxisome proliferator-activated receptor alpha isoform"". U.S. App. Department of Agriculture/University of Mississippi.
  15. Wang P, Sang S (8 มกราคม 2018). "Metabolism and pharmacokinetics of resveratrol and pterostilbene". BioFactors. 44 (1): 16–25. doi:10.1002/biof.1410. PMID 29315886. S2CID 2649118.
  16. "GRAS Notice GRN 224: Resveratrol". US Food and Drug Administration, Food Ingredient and Packaging Inventories. 1 สิงหาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2019.
  17. "Safety of synthetic trans‐resveratrol as a novel food pursuant to Regulation (EC) No 258/97". EFSA Journal. European Food Safety Authority, EFSA Panel on Dietetic Products, Nutrition and Allergies. 14 (1): 4368. 12 มกราคม 2016. doi:10.2903/j.efsa.2016.4368.