เทวรูปพระโพธิสัตว์ตารา

เทวรูปพระโพธิสัตว์ตารา (อังกฤษ: Statue of Tara) เป็นประติมากรรมสำริดปิดทองแสดงภาพของพระโพธิสัตว์ตารา จากศรีลังกา อายุราวศตวรรษที่ 7-8 บ้างเชื่อว่าเทวรูปนี่ไปลักขโมยมาจากกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกัณฏิในช่วงที่อังกฤษเข้ายึดครองกัณฏิในต้นศตวรรษที่ 19 เทวรูปนี้ได้ถูกส่งมอบให้กับพิพิธภัณฑ์บริทิชในปี 1830 โดยผู้ว่าการซีลอนของอังกฤษ รอเบิร์ท บราวริง[1]

เทวรูปพระโพธิสัตว์ตารา
วัสดุสำริดปิดทอง
ขนาดสูง 143 เซนติเมตร
สร้างศตวรรษที่ 7-8
ที่อยู่ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์บริทิช ลอนดอน
เลขประจำตัว1830,0612.4

ภูมิหลัง แก้

เกาะศรีลังกามีประวัติศาสตร์การนับถือศาสนาพุทธมาอย่างยาวนาน ย้อนกลับไปได้ถึง 300 ปีก่อนคริสต์กาล เทวรูปนี้มาอายุในสมัยอาณาจักรอนุราธปุระ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ 377 ปีก่อนคริสต์กาล โดยกษัตริย์ปาณทุกาภัย ศาสนาพุทธมีส่วนสำคัญและอิทธิพลอย่างมากต่อวัฒนธรรม กฎหมาย การปกครอง ของอนุราธปุระ เทวรูปพระนางตารานี้แสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างศาสนาพุทธกับฮินดู พระนางตาราเดิมทีเป็นเทวีมารดาในคติของฮินดู และต่อมาได้รับการเปลี่ยนแบบใหม่เป็นเทวสตรีในศาสนาพุทธ[2] ปัจจุบัน ศรีลังกาเป็นประเทศเถรวาท[3] ในช่วงหนึ่งเคยเชื่อว่าเทวรูปนี้เป็นของเทพารักษ์ ปัฏฏิณี แต่ในปัจจุบันเป็นที่เห็นพ้องต้องกันว่าเป็นเทวรูปพระนางตารา[4]

เทวรูปนี้ทำให้ได้ข้อเสนอว่าอาจมีการบูชาพระนางตาราในฐานเทพเจ้า ไม่ใช่เพียงในฐานะพระชายาของเทวบุรุษอีกองค์[5] โดยทั่วไปแล้วเทวรูปนี้น่าจะประดิษฐานอยู่ในวิหาร เคียงข้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร[6] พระโพธิสัตว์ หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่สามารถตรัสรู้หลุดพ้นจากสังสารวัฏแล้ว แต่ได้ถอนตัวออกมาด้วยความเมตตา ประสงค์จะช่วยมุนษยชาติให้หลุดพ้นจากวัฏสงสารของการเวียนว่ายตายเกิดเช่นกัน[6]

ลักษณะ แก้

เทวรูปแสดงเทวสตรีในอิริยาบถยืน ทำมาจากสำริดหล่อสูญขี้ผึ้ง มีขนาดราว 3/4 ของมนุษย์จริง และลงรักปิดทองเพื่อให้มีรูปแบบแสดงที่หรูหราและเป็นทองคำ ทรวดทรงของเทวรูปตอนบนคล้ายนาฬิกาทราย ไม่มีอาภรณ์ปกคลุม ในขณะที่ตอนล่างมีอาภรณ์คลุมมัดกับตะโพกยาวประเข่า มือขวาเป็นมุทราแสดงการมอบ ส่วนมือซ้ายเข้าใจว่าถือดอกบัวซึ่งปัจจุบันสูญหายไปแล้ว เทวรูปสวมมงกุกทรงสูงประดับประดาอย่างวิจิตร รูเปล่าในมงกุฏเข้าใจว่าเคยฝังอัญมณีล้ำค่าขนาดใหญ่ไว้[4] เทวรูปนี้ถือเป็นชิ้นงานที่มีขนาดเดียวกันจากอนุราธปุระชิ้นเดียวที่ยังเหลือถึงปัจจุบัน มูลค่าของเทวรูปยังมาจากการผลิต เทวรูปนี้ไม่ได้กลวงภายใน แต่แน่นด้วยโลหะราคาสูงที่ใช้เทคนิคการหล่อสูญขี้ผึ้งซึ่งถือว่าล้ำหน้ามาก[2]

การค้นพบ แก้

ว่ากันว่าเทวรูปนี้ถูกลักขโมยมาโดยผู้ว่าการซีลอนของอังกฤษในเวลานั้น รอเบิร์ท บราวริง ขโมยมาจากกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกัณฏิ ในสมัยที่อังกฤษเข้ายึดครองกัณฏิ[1] จากนั้นเขาได้บริจาคเทวรูปนี้แก่พิพิธภัณฑ์บริทิชในทศวรรษ 1830 ในขณะที่หลักฐานอีกชุดหนึ่งที่พิพิธภัณฑ์บริทิชใช้ ระบุว่าเทวรูปถูกค้นพบง่าย ๆ ในทศวรรษ 1800 ตอนต้น สักที่ระหว่างตริณโกมาลี และ ปัฏฏิกาลัว บนชายฝั่งตะวันออกของศรีลังกา และต่อมาได้มาอยู่เป็นสมบัติของรอเบิร์ท[7] กัณฏิมาอยู่ภายใต้ปกครองของอังกฤษในเดือนมีนาคม 1815 ภายใต้ข้อตกลงของการประชุมกันทยันที่รอเบิร์ทจัดขึ้น[8]

เมื่อครั้นพิพิธภัณฑ์บริทิชได้ถือครอบครองเทวรูปในทศวรรษ 1830 ได้มีความกังวลว่าหน้าอกเปลือยขนาดใหญ่ของเทวรูป, เอวคอด และตะโพกที่เป็นทรงโค้งของเทวรูปนั้นจะอีโรติก (erotic) เกินไปสำหรับการจัดแสดงให้สาธารณชนได้ดู เทวรูปจึงไม่ถูกนำมาจัดแสดงสู่สาธารณะเป็นเวลาสามสิบปี[2] เทวรูปนี้สามารถเข้าถึงได้โดยนักวิชาการที่จะศึกษาเท่านั้น ถึงแม้ว่ารู้กันอย่างแน่ชัดว่าเป้ามหายของเทวรูปนี้มีไว้สำหรับพิธีกรรมทางศาสนา ไม่ใช่เอาไว้กระตุ้นทางเพศ การเข้าถึงเพื่อศึกษาทางวิชาการนี้คล้ายคลึงอย่างมากกับสถานะของเทวรูปตั้งแต่สมัยโบราณในศรีลังกา ซึ่งว่ากันว่าเฉพาะนักบวชระดับสูงเท่านั้นจะสามารถชมเทวรูปนี้ได้ และประชาชนทั่วไปไม่สามารถมองเห็นเทวรูปได้เลย[2] พิพิธภัณฑ์บริทิชยังมีของสะสมอีกจำนวนหนึ่งจากปี 1830 ที่ถูกมองว่าอีโรติกเกินไป ในทศวรรษ 1860 ของสะสมเหล่านี้ได้รับการติดป้ายให้เป็น "Secretum" ของพิพิธภัณฑ์[9]

องค์จำลอง แก้

ปัจจุบันมีการจัดสร้างและประดิษฐานเทวรูปองค์จำลองอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโกลัมโบ ในประเทศศรีลังกา[5]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Greenfield, Jeanette (1996). The return of cultural treasures (2nd ed.). Cambridge: Cambridge university press. p. 132. ISBN 0521477468.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Episode 54 – Statue of Tara, BBC, retrieved 25 July 2014
  3. Buddhism in Sri Lanka, buddhanet.net, retrieved 9 December 2013
  4. 4.0 4.1 Statue of Tara, Highlights, British Museum, accessed 9 December 2013
  5. 5.0 5.1 The female as Cult Object in Buddhism, Digital Library, retrieved 10 December 2013
  6. 6.0 6.1 Datta, Sona. "Statue of Tara". BBC.
  7. figure, Collection Online, British Museum, retrieved 9 December 2013
  8. The signing of the Kandyan Convention เก็บถาวร 2013-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, S. B. Karalliyadda, 25 February 2006, LankaLibrary, retrieved 9 December 2013
  9. Gaimster, David (2000). "Sex and Sensibility at the British Museum". History Today. 50 (9). สืบค้นเมื่อ 25 July 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • W. Zwalf (ed.), Buddhism: art and faith (London, The British Museum Press, 1985)
  • R.E. Fisher, Buddhist art and architecture (London, Thames & Hudson, 1993)
  • R. Thapar, The Penguin History of Early India from the Origins to AD 1300 (London, 2002)
  • K.M. De Silva, A History of Sri Lanka (Berkeley, 1981)
  • R. Coningham et al., "The State of Theocracy: Defining an Early Medieval Hinterland in Sri Lanka", Antiquity, 81 (2007), 699–719