อาร์เตมิส

(เปลี่ยนทางจาก เทพีอาร์เทมิส)

อาร์เตมิส (กรีกโบราณ: Ἄρτεμις) หรือ อาร์ทิมิส (อังกฤษ: Artemis) เป็นหนึ่งในเทพีกรีกโบราณที่มีการบูชาแพร่หลายที่สุด เปรียบได้ดั่งเทพีไดแอนาของโรมัน[1] นักวิชาการเชื่อว่าทั้งพระนาม รวมทั้งองค์เทพเจ้าเอง เดิมมีมาแต่ก่อนสมัยกรีก[2] ชาวอาร์คาเดียเชื่อว่าพระนางทรงเป็นพระธิดาของดิมีเทอร์[3]

อาร์เตมิส
เทพีแห่งการล่า พงไพรและเนินเขา จันทราและคันศร
ไดแอนาแห่งแวร์ซาย รูปถ่ายแบบโรมันของประติมากรรมกรีกโดยเลโอคารีส (พิพิธภัณฑ์ลูฟร์)
ที่ประทับยอดเขาโอลิมปัส
สัญลักษณ์ดวงจันทร์, กวาง, สุนัขล่าเนื้อ, ธนูและลูกศร
ข้อมูลส่วนบุคคล
บิดา-มารดาซูสและลีโต
พี่น้องอะพอลโล
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น
เทียบเท่าในโรมันไดแอนา

ในเทพปกรณัมกรีกสมัยคลาสสิก มักอธิบายว่าอาร์เตมิสทรงเป็นพระธิดาของซูสและลีโต และทรงเป็นพี่สาวฝาแฝดของอะพอลโล พระองค์เป็นพระเจ้าแห่งการล่า สัตว์ป่า ป่าเถื่อน (wilderness) การคลอด พรหมจรรย์และผู้พิทักษ์หญิงสาว ผู้นำพามาซึ่งและผู้บรรเทาโรคในหญิง มักพรรณนาพระนางเป็นพรานหญิงถือธนูและลูกศร[4] กวางและต้นไซปรัสเป็นสัตว์และพืชศักดิ์สิทธิ์ของพระนาง

เทพปกรณัม

แก้

วัยเด็ก

แก้

วัยเด็กของอาร์เตมิสไม่สัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์ในเรื่องปรัมปราใด ๆ ที่เหลือรอด อีเลียดลดบุคลิกของเทพเจ้าผู้น่ากลัวลงเป็นบุคลิกของเด็กหญิงซึ่งร้องไห้และปีนพระเพลา (ตัก) ของซูส หลังถูกฮีราโบย[5] โคลงของแคลิมะคัส (Callimachus) ว่าด้วยเทพเจ้า "ผู้ทำให้พระองค์เองสนุกบนภูเขาด้วยการยิงธนู" จินตนาการบรรณพิลาส (vignette) ที่มีเสน่ห์บางอย่าง ตามแคลิมะคัส อาร์เตมิสขณะมีพระชนมายุได้สามพรรษา ทูลขอให้ซูสประทานพรพระนางหกข้อ ได้แก่ ให้พระนางครองพรหมจรรย์ตลอดกาล, ให้พระนางมีหลายนามเพื่อแยกกับพระอนุชา อะพอลโล, ให้ทรงเป็นผู้นำมาซึ่งแสงสว่าง, ขอธนูและลูกธนู กับฉลองพระองค์คลุมรัดเอวเสมอพระชานุ (เข่า) เพื่อที่พระนางจะได้ล่าสัตว์, ขอ "ธิดาแห่งโอเซียเนิส" หกสิบตน ซึ่งทุกตนอายุได้ 9 ปี เพื่อเป็นนักร้องประสานเสียงของพระนาง, และขอนิมฟ์แอมนิซิเดส (Amnisides) ยี่สิบตนเป็นสาวใช้คอยเฝ้าหมาและธนูของพระนางระหว่างที่ทรงพักผ่อน พระนางไม่ประสงค์ให้มีนครใดอุทิศแด่พระนาง แต่ประสงค์ปกครองภูเขา และความสามารถช่วยหญิงในความเจ็บปวดแห่งการคลอด[6]

อาร์เตมิสทรงเชื่อว่าพระนางถูกมอยเร (โชคชะตา) เลือกให้เป็นนางผดุงครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพราะพระนางช่วยพระชนนีคลอดพระอนุชาฝาแฝด อะพอลโล[7] พระสหายของพระนางล้วนครองพรหมจรรย์ และอาร์เตมิสทรงระวังพรหมจรรย์ของพระนางเองอย่างใกล้ชิด สัญลักษณ์ของพระนางมีธนูและลูกศรสีทอง หมาล่าเนื้อ กวาง และดวงจันทร์ แคลิมะคัส[8]เล่าว่าอาร์เตมิสทรงใช้วัยเยาว์แสวงสิ่งที่พระนางจำเป็นต้องมีเพื่อเป็นพรานหญิงอย่างไร พระนางได้ธนูและลูกศรมาจากเกาะลิพารา (Lipara) ที่ซึ่งฮิฟีสตัสและไซคลอปส์ทำงานได้อย่างไร

ธิดาของโอเซียเนิสเปี่ยมไปด้วยความกลัว แต่อาร์เตมิสในวัยเยาว์เข้าหาอย่างกล้าหาญและขอธนูและลูกธนู แคลิมะคัสเล่าต่อว่าอาร์เตมิสพบแพน พระเจ้าแห่งป่าซึ่งให้หมาตัวเมียเจ็ดตัวและหมาตัวผู้หกตัว ได้อย่างไร จากนั้น พระนางจับกวางเขาทองเพื่อลากรถเทียมของพระนาง อาร์เตมิสฝึกธนูโดยยิงต้นไม้ก่อนแล้วจึงยิงสัตว์ป่า[8]

โอไรออน

แก้

อาร์เตมิสเป็นที่สนใจของพระเจ้าและชายทั้งหลาย แต่มีเพียงพระสหายล่าสัตว์ โอไรออน ที่พิชิตพระพฤทัยของพระนางได้ บางฉบับเล่าว่า เขาถูกอาร์เตมิสฆ่า บ้างก็เล่าว่าเขาถูกแมงป่องที่ไกอาส่งมาฆ่า ในบางฉบับ โอไรออนพยายามล่อลวงโอพิส (Opis)[9] ผู้ติดตามตนหนึ่งของพระนาง พระนางจึงฆ่าเขา บางฉบับของอะเรทัส (Aratus)[10] โอไรออนฉวยฉลองพระองค์คลุมของอาร์เตมิส และพระนางฆ่าเขาเป็นการป้องกันพระองค์

อีกฉบับหนึ่ง อะพอลโลเป็นผู้ส่งแมงป่องมา ตามฮิไจนัส (Hyginus)[11] อาร์เตมิสเคยรักโอไรออน (ฉบับนี้ดูเหมือนเป็นส่วนที่เหลือหายากของพระนางที่เป็นเทพเจ้าก่อนโอลิมปัส ซึ่งมีคู่ครอง ดังเช่น อีออส ซึ่งขัดกับแหล่งข้อมูลภายหลัง) แต่ถูกอะพอลโลลวงให้ฆ่าเขา ซึ่ง "ปกป้อง" พรหมจรรย์ของพระเชษฐภคินี

ลักษณะ

แก้

อาร์เตมิสมีรูปลักษณ์เป็นหญิงสาวผมสั้น หน้าตางดงาม อยู่ในชุดล่าสัตว์ทะมัดทแมงกระโปรงสั้น ชุดมักมีสีน้ำเงิน ในมือถือคันธนู

อ้างอิง

แก้
  1. Larousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p. 215.
  2. Rose, H. J. A Handbook of Greek Mythology, Dutton 1959, p. 112; Guthrie, W. C. K. The Greeks and Their Gods, Beacon 1955, p. 99.
  3. "Artemis". สืบค้นเมื่อ 2012-04-26.
  4. “Her proper sphere is the earth, and specifically the uncultivated parts, forests and hills, where wild beasts are plentiful" Hammond and Scullard (editors), The Oxford Classical Dictionary. (Oxford: Clarendon Press, 1970) 126.
  5. Iliad xxi.505-13;
  6. Hymn Around Artemis' Childhood
  7. On-line English translation.
  8. 8.0 8.1 Callimachus, Hymn III to Artemis 46
  9. "Another name for Artemis herself", Karl Kerenyi observes, The Gods of the Greeks (1951:204).
  10. Aratus, 638
  11. Hyginus, Poeticon astronomicon, ii.34, quoting the Greek poet Istrus.