เซลล์เบ็ตซ์ (อังกฤษ: Betz cell, pyramidal cells of Betz) เป็นเซลล์ประสาทพีระมิดขนาดยักษ์ในชั้นที่ 5 ของเนื้อเทาในเปลือกสมองสั่งการปฐมภูมิ (primary motor cortex) มีชื่อตามนักวิทยาศาสตร์ชาวยูเครน วลาดิเมียร์ เบ็ตซ์ (Vladimir Betz) ผู้ระบุลักษณะของเซลล์ในงานที่ตีพิมพ์ปี 1874[1] เป็นเซลล์ประสาทที่ใหญ่สุดในระบบประสาทกลาง บางครั้งมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 100 ไมโครเมตร (μm)[2][3] เซลล์เบ็ตซ์เป็นเซลล์ประสาทสั่งการบน (upper motor neuron, UMN) ที่ส่งแอกซอนลงไปยังไขสันหลังผ่านลำเส้นใยประสาทเปลือกสมอง-ไขสันหลัง (corticospinal tract) ในมนุษย์แอกซอนไปยุติที่ไซแนปส์กับเซลล์ประสาทในไขสันหลังปีกหน้า (anterior horn) ซึ่งก็ส่งแอกซอนไปยังกล้ามเนื้อที่เป็นเป้าหมาย แม้เซลล์จะมีเดนไดรต์ที่เป็นยอดหนึ่งอันเหมือนกับเซลล์ประสาทพีระมิดทั่วไป แต่ก็มีก้านเดนไดรต์หลัก (primary dendritic shaft) หลายอัน ซึ่งสามารถงอกออกจากตัวเซลล์ (soma) เกือบได้ทุกจุด[4] เดนไดรต์รอบตัวเซลล์เช่นนี้บวกกับเดนไดรต์ที่ฐาน (basal dendrite) ส่งไปยังชั้นทุกชั้นในเปลือกสมอง แต่สาขาในแนวนอนจะส่งไปยังชั้นที่ 5 และ 6 โดยมีบางส่วนที่ส่งลงไปถึงเนื้อขาว[5] งานศึกษาหนึ่งแสดงว่า เปลือกสมองสั่งการปฐมภูมิของมนุษย์ชั้น 5b (Vb) เป็นเซลล์เบ็ตซ์ 10% ในบรรดาเซลล์พีระมิดทั้งหมด[6]

เซลล์เบ็ตซ์
(Betz cell)
เซลล์ประสาทพีระมิดในคอร์เทกซ์ใหม่ของมนุษย์ เช่น เซลล์เบ็ตซ์ แต้มสีด้วยเทคนิค Golgi
รายละเอียด
ที่ตั้งเปลือกสมองสั่งการปฐมภูมิชั้นที่ 5 (Layer V)
รูปร่างรูปพีระมิด มีหลายขั้ว (multipolar) เป็นเซลล์อย่างหนึ่งที่มีแอกซอนยาวสุดในร่างกาย
หน้าที่เป็นเซลล์ประสาทส่งต่อ (projection neuron) กระแสประสาทไปยังไขสันหลัง
สารส่งผ่านประสาทกลูตาเมต
การเชื่อมก่อนจุดประสานประสาทชั้นผิว ๆ ของเปลือกสมองส่วน premotor
การเชื่อมหลังจุดประสานประสาทปีกหน้า (ventral) ของไขสันหลัง
ตัวระบุ
นิวโรเล็กซ์ IDsao786552500
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. Betz W. (1874) Anatomischer Nachweis zweier Gehirncentra. Centralblatt für die medizinischen Wissenschaften. 12:578-580, 595-599.
  2. Purves, Dale; George J. Augustine; David Fitzpatrick; William C. Hall; Anthony-Samuel LaMantia; James O. McNamara & Leonard E. White (2008). Neuroscience (4th ed.). Sinauer Associates. pp. 432–4. ISBN 978-0-87893-697-7.
  3. Nolte, J. The Human Brain, 5th ed. Mosby: Missouri; 2002, p.527. ISBN 0-323-01320-1
  4. Braak, H; Braak, E (1976). "The pyramidal cells of Betz within the cingulate and precentral gigantopyramidal field in the human brain. A Golgi and pigmentarchitectonic study". Cell and Tissue Research. 172 (1): 103–19. doi:10.1007/bf00226052. PMID 991201. S2CID 40242681.
  5. Meyer, G (1987). "Forms and spatial arrangement of neurons in the primary motor cortex of man". The Journal of Comparative Neurology. 262 (3): 402–28. doi:10.1002/cne.902620306. PMID 3655019. S2CID 45950277.
  6. Rivara, CB; Sherwood, CC; Bouras, C; Hof, PR (2003). "Stereologic characterization and spatial distribution patterns of Betz cells in the human primary motor cortex". The Anatomical Record Part A: Discoveries in Molecular, Cellular, and Evolutionary Biology. 270 (2): 137–51. doi:10.1002/ar.a.10015. PMID 12524689.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้