เซดนอยด์ (อังกฤษ: Sednoid) คือกลุ่มของวัตถุพ้นดาวเนปจูนที่มีจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดที่ระยะทางมากกว่า 50 หน่วยดาราศาสตร์ และมีกึ่งแกนเอกมากกว่า 150 หน่วยดาราศาสตร์[1][2] มีวัตถุสองชิ้นที่ทราบกันว่าอยู่ในกลุ่มนี้ คือ 90377 เซดนา และ 2012 VP113 โดยทั้งคู่ต่างมีจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดไกลกว่า 75 หน่วยดาราศาสตร์[3] แต่มันถูกคาดว่าจะมีวัตถุประเภทนี้อีกมาก วัตถุเหล่านี้โคจรอยู่ในบริเวณที่เกือบเป็นช่องว่างของระบบสุริยะ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 50 หน่วยดาราศาสตร์ และไม่มีปฏิสัมพันธ์ที่โดดเด่นกับดาวเคราะห์ วัตถุในกลุ่มนี้ยังมักที่จะถุกจัดรวมไปกับวัตถุกระจาย นักดาราศาสตร์บางคน เช่น สกอตต์ เชฟเพิร์ด[4] จัดให้กลุ่มเซดนอยด์เป็นวัตถุเมฆออร์ตชั้นใน แม้ว่าเมฆออร์ตชั้นใน จะอยู่เลยออกไปไกลกว่า 2,000 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งไกลกว่าจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดของวัตถุเซดนอยด์ที่ทราบทั้งสองออกไปหลายเท่า

เซดนา เซดนอยด์ดวงแรก

อ้างอิง แก้

  1. Trujillo, Chadwick A.; Sheppard, Scott S. (2014). "A Sedna-like body with a perihelion of 80 astronomical units" (PDF). Nature. 507 (7493): 471–474. Bibcode:2014Natur.507..471T. doi:10.1038/nature13156. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-12-16.
  2. Sheppard, Scott S. "Known Extreme Outer Solar System Objects". Department of Terrestrial Magnetism, Carnegie Institution for Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-25. สืบค้นเมื่อ 2014-04-17.
  3. "JPL Small-Body Database Search Engine: a > 150 (AU) and q > 50 (AU) and data-arc span > 365 (d)". JPL Solar System Dynamics. สืบค้นเมื่อ 2014-10-15.
  4. Sheppard, Scott S. "Beyond the Edge of the Solar System: The Inner Oort Cloud Population". Department of Terrestrial Magnetism, Carnegie Institution for Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-08. สืบค้นเมื่อ 2014-04-17.