เจ้าเวียงชื่น บุตรรัตน์

เจ้าเวียงชื่น บุตรรัตน์ (สกุลเดิม เทพวงศ์) หรือมีชื่อในภาษาไทยว่า เมืองชื่น เป็นธิดาคนที่สองของน้อยเทพวงษ์ อดีตเจ้าผู้ครองนครแพร่ เธอสมรสกับพระยาราชวงศ์ (บุญศรี บุตรรัตน์) ซึ่งถูกวางตัวให้เป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่คนถัดไป ทว่าหลังเหตุการณ์กบฏเงี้ยว เจ้าเวียงชื่นและพระยาราชวงศ์ผู้สามี ได้พร้อมใจกันก่ออัตวินิบาตกรรมด้วยการดื่มยาพิษจนถึงแก่กรรมเคียงข้างกันเมื่อช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2445 ไม่ยอมให้รัฐบาลสยามจับกุมคุมขัง ริบทรัพย์ หรือถอดยศ

เจ้าเวียงชื่น บุตรรัตน์
เสียชีวิตตุลาคม พ.ศ. 2445
คุ้มเจ้าราชวงศ์ นครแพร่
สามีพระยาราชวงศ์ (บุญศรี บุตรรัตน์)
บุตรเจ้าอินทร์ตุ้ม ศรีจันทร์แดง
เจ้าอินทร์สม บุตรรัตน์
เจ้าดาวคำ ศรุตานนท์
พระบิดาน้อยเทพวงษ์
พระมารดาบัวไหล

ประวัติ

แก้

เจ้าเวียงชื่น หรือเจ้าเมืองชื่น เป็นพระธิดาคนที่สองจากทั้งหมดเจ็ดคนของน้อยเทพวงษ์ อดีตเจ้าผู้ครองนครแพร่ กับบัวไหล ชายาคนที่สองของบิดา[1][2][3] แต่ประสูติเมื่อปีใดนั้นไม่เป็นที่ปรากฏ[4] มีเจ้าพี่เพียงคนเดียว คือ เจ้ากาบคำ วราราช และมีเจ้าน้อง คือ เจ้าสุพรรณวดี ณ น่าน เจ้ายวงคำ เตมิยานนท์ เจ้ายวงแก้ว เทพวงศ์ คุณหญิงหอมนวล ราชเดชดำรง และเจ้าอินทร์แปลง เทพวงศ์ นอกจากนี้ยังมีพี่น้องต่างมารดาอีกเจ็ดคน[1]

เจ้าเวียงชื่นสมรสกับพระยาราชวงศ์ (บุญศรี บุตรรัตน์) มีบุตรด้วยกันสามคนคือ เจ้าอินทร์ตุ้ม ศรีจันทร์แดง เจ้าอินทร์สม เทพวงศ์ และเจ้าดาวคำ ศรุตานนท์[1] แต่หลังเจ้ากาบคำผู้เป็นพี่สาว ถึงแก่กรรม เจ้าอุปราช (น้อยเสาร์ วราราช) สามีของเจ้ากาบคำ ผู้เป็นพี่เขยใหญ่ ก็ถูกลดบทบาทการทำงานลงไป เจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ ไว้วางพระทัยสามีของเจ้าเวียงชื่น คือพระยาราชวงศ์มากขึ้นโดยลำดับ และวางตัวไว้หวังใจให้เป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่คนถัดไป[4]

ในกาลต่อมาเจ้าผู้ครองนครทางตอนเหนือของอาณาจักรสยามมีแนวคิดที่จะเป็นอิสระจากสยาม ก่อให้เกิดกบฏเงี้ยวขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 และถูกทางการสยามปราบปรามอย่างรุนแรงเวลาต่อมา[3] รัฐบาลสยามได้ทำการปลดเจ้าพิริยเทพวงษ์ลงเป็นไพร่ ให้เรียกว่า น้อยเทพวงษ์ พร้อมกับยึดคุ้มหลวงและทรัพย์สมบัติ ส่วนบัวไหลถูกถอดและถูกริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า[5] จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทางการสยามได้เพ่งเล็งพระยาราชวงศ์และเจ้าเวียงชื่นมากเป็นพิเศษว่าอาจมีส่วนหรือรู้เห็นเป็นใจให้เงี้ยวก่อกบฏ[4] ทางการสยามได้ทำการสอบสวนเจ้านายนครแพร่ซึ่งกำลังตกอยู่ในสภาวะตึงเครียดหลังการปราบปรามอย่างหนักของสยาม ผลปรากฏว่า เจ้ายวงคำให้การซัดทอดว่าเจ้าเวียงชื่น พี่สาว กับแม่เจ้าบัวไหล มารดา เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกบฏเงี้ยวอย่างมีนัยสำคัญ[3] หลังจากนั้นเจ้าเวียงชื่นและพระยาราชวงศ์ผู้สามี ได้พร้อมใจกันก่ออัตวินิบาตกรรมด้วยการดื่มยาพิษจนถึงแก่กรรมเคียงข้างกัน ไม่ยอมให้รัฐบาลสยามจับกุมคุมขัง ริบทรัพย์ หรือถอดยศ ภายในคุ้มเจ้าราชวงศ์นครแพร่ (ปัจจุบันคุ้มดังกล่าวถูกรื้อไปแล้ว)[4] และหลังการถึงแก่กรรมของเจ้าเวียงชื่น เจ้านายนครแพร่ยังเผชิญกับการลงโทษ ฐานที่เป็นผู้ไม่จงรักภักดีต่อสยาม ด้วยการล้มล้างเจ้านายนครแพร่ ยึดคุ้มหลวง ยึดทรัพย์สมบัติ ถอดราชศักดิ์เจ้านาย นำชายาและบุตรธิดาที่เหลืออยู่ของเจ้าผู้ครองนครคนก่อนไปกักตัวไว้ที่กรุงเทพมหานคร พร้อมกับส่งข้าราชการชาวสยามมาปกครองนครแพร่แทนทั้งหมด[3]

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้

เชิงอรรถ

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย, หน้า 33-35
  2. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (15 ธันวาคม 2560). "จากประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสู่ประวัติศาสตร์แบบท้องถิ่นนิยม". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "กบฏเงี้ยว พ.ศ.2445 - การต่อต้านสยามของประเทศราชล้านนา". Huexonline. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 เพ็ญสุภา สุขคตะ (29 พฤศจิกายน 2565). "โศกนาฏกรรมของสองเจ้านาง หลังเหตุการณ์กบฏเงี้ยวเมืองแพร่". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ประกาศลัญจกราภิบาล ถอดบัวไหลออกจากสามัญสมาชิกาตติยจุลจอมเกล้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (เพิ่มเติม 28): 467. 11 ตุลาคม ร.ศ. 122. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. 6.0 6.1 เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย, หน้า 24
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย, หน้า 16
  8. 8.0 8.1 เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย, หน้า 40

บรรณานุกรม

แก้
  • บัวผิว วงศ์พระถาง และคณะ. เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย. แพร่ : แพร่ไทยอุสาหการพิมพ์, 2536. 151 หน้า. ISBN 974-89141-2-7