เจ้าหญิงซูมายา บินต์ ฮัสซัน
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
เจ้าหญิงซูมายา บิน ฮัสซัน (อังกฤษ: Princess Sumaya bint Hassan) พระธิดาพระองค์รองใน เจ้าชายฮัสซัน บิน เฏาะลาล กับ เจ้าหญิงซาร์วาธ อัล ฮัสซัน
เจ้าหญิงซูมายา บินต์ ฮัสซัน | |
---|---|
เจ้าหญิงซูมายา บิน ฮัสซัน | |
เจ้าหญิงแห่งฮัชไมต์จอร์แดน | |
ประสูติ | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 อัมมาน |
พระสวามี | นัซซา จูเดน |
พระบุตร | 4 คน |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์อัชไมต์ |
พระบิดา | เจ้าชายฮัสซัน บิน เฏาะลาล |
พระมารดา | เจ้าหญิงซาร์วาธ อัล ฮัสซัน |
พระประวัติ
แก้พระองค์ประสูติ ณ กรุงอัมมาน เป็นพระธิดาพระองค์รองใน เจ้าชายฮัสซัน บิน เฏาะลาล กับ เจ้าหญิงซาร์วาธ อัล ฮัสซัน ทรงเป็นพระราชนัดดาใน สมเด็จพระเจ้าเฏาะลาลแห่งจอร์แดน อีกทั้งยังทรงเป็นพระญาติวงศ์ในสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2
ทรงศึกษา
แก้พระองค์ทรงด้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศจอร์แดน หลังจากนั้นเธอได้เข้าเรียนหลักสูตร Sherborne School for Girlsในดอร์เซ็ท ประเทศอังกฤษ เธอจบการศึกษาจากCourtauld สถาบันศิลปะที่มหาวิทยาลัยลอนดอน
เสกสมรส
แก้เจ้าหญิงซูมายา ทรงเสกสมรสกับ นัซซา จูเดน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการต่างประเทศของจอร์แดน โดยมีพระบุตรร่วมกัน 4 คน คือ
- ทาลา ซีเดน อัล-ชาลาฟ จูเดน ฝาแฝด
- อาลี จูเดน
- ซูคานา จูเดน
ทรงงาน
แก้พระองค์ทรงเป็นประธานคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยเจ้าหญิงมายาแห่งเทคโนโลยี (Princess Sumaya University for Technology) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดยในปี ค.ศ. 2006 พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็น ประธานRoyal Society Society และยังทรงดำรงปรองประธานสภาวิทยาศาสตร์ระดับสูงแห่งจอร์แดน ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ให้คำแนะนำแก่รัฐเกี่ยวกับประเด็นนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พระองค์ทรงก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ อัล ฮัสซัน โดยมี สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นองค์ประธานเปิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2550 พระองค์เป็นผู้อุปถัมภ์กิตติมศักดิ์ของสมาคมคอมพิวเตอร์จอร์แดนและองค์กรการกุศลหลายแห่ง นอกจากนี้ยังทรงเป็นประธานในจอร์แดนสหพันธ์แฮนด์บอลและเป็นสมาชิกของสหพันธ์แฮนด์บอลนานาชาติ