เจ้าสุริยวงศ์ (คำตัน สิโรรส)

เจ้าสุริยวงศ์ (คำตัน สิโรรส) หรือ เจ้าคำตัน สิโรรส เจ้าสุริยวงศ์แห่งนครเชียงใหม่ บุตรในเจ้าน้อยกาวิละ ซึ่งเป็นเจ้านายในราชสกุลเชียงตุง (เขมรัฐ) และเจ้าจันทร์หอม ณ เชียงใหม่ เป็นนักปราชญ์ผู้มีความสามารถหลายด้าน ทั้งในด้านการทหาร การช่าง และด้านกวีนิพนธ์[1]

เจ้าสุริยวงศ์ (คำตัน สิโรรส)

เจ้าคำตัน สิโรรส
เจ้าสุริยวงศ์นครเชียงใหม่
ประสูติพ.ศ. 2400
พิราลัยพ.ศ. 2478
พระชายาเจ้าสุคันธา ณ เชียงใหม่
พระบุตร10 คน
ราชวงศ์ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระบิดาเจ้าน้อยกาวิละ
พระมารดาเจ้าจันทร์หอม ณ เชียงใหม่

พระประวัติ แก้

เจ้าสุริยวงศ์ (คำตัน สิโรรส) หรือ เจ้าคำตัน สิโรรส เกิดเมื่อ พ.ศ. 2400 เป็นบุตรเจ้าน้อยกาวิละ ซึ่งเป็นเจ้านายในราชสกุลเชียงตุง (เขมรัฐ) และเจ้าจันทร์หอม ณ เชียงใหม่

เจ้าสุริยวงศ์ (คำตัน สิโรรส) มีชีวิตอยู่ในช่วงการปกครองของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ถึง 3 พระองค์ ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ และเจ้าแก้วนวรัฐ ท่านได้ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2478

โอรส/ธิดา แก้

เจ้าสุริยวงศ์ (คำตัน สิโรรส) มีบุตรกับเจ้าสุคันธา ณ เชียงใหม่ ธิดาเจ้าราชบุตร (หนานสุริยวงษ์) 4 คน มีบุตรกับนางเกี๋ยงคำ 4 คน มีบุตรกับนางคำ 1 คน และมีบุตรกับนางนวล 1 คน

ผลงาน แก้

ด้านกวี แก้

ผลงานสำคัญ ในฐานะกวีที่มีฝีปากเยี่ยม ได้แต่งกวีนิพนธ์ภาษาล้านนา ค่าวซอเรื่องหงส์หินมหาชาตินครกัณฑ์สมัยใหม่ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า นครเจ้าสุริยะหรือนครสมัย และซอรับเสด็จ

ด้านการทหาร แก้

เจ้าสุริยวงศ์ได้เข้ารับราชการในสมัยเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 8 หน้าที่ทางการงานปกครอง คือเป็นนายกองระวังเหตุ แขวงเมืองยวม (อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอนในปัจจุบัน) เป็นที่หวาดหวั่นของโจรผู้ร้ายในสมัยนั้น

ด้านการช่าง แก้

ผลงานในฐานะเป็นนายช่างเอกที่มีความชำนาญในการแกะสลักสูง คือฐานแท่นแก้วพระพุทธรูปวัดสำเภา สัตตภัณฑ์ไม้สักแกะสลักเป็นพญานาคราช 7 เศียร ปัจจุบันอยู่ในวัดสำเภา เชียงใหม่และโต๊ะทำงานรูปโค้งแบบช่างจีนเซียงไฮ้

ลำดับสาแหรก แก้

อ้างอิง แก้

  1. เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, 2539

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

“ เจ้าสุริยวงศ์.” 2549. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ: 10 ตุลาคม. จาก http://www.lannaworld.com/person/Suriyawong.htm เก็บถาวร 2010-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน